หลักการหรือหัวใจของ Value Investment หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ก็คือ การหามูลค่าที่ควรจะเป็นหรือมูลค่า “พื้นฐาน” ของหุ้น
จากนั้นก็ดูว่าราคาหุ้นในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้ก็ให้ซื้อ ถ้าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานก็ให้ขาย เพราะนักลงทุนแบบ VI เชื่อว่าในที่สุดราคาหุ้นจะวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานเสมอ
คำถามสำคัญมีอยู่ 2 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง มูลค่าพื้นฐานคืออะไร มาจากไหน อะไรเป็นตัวกำหนดมูลค่าพื้นฐานของหุ้น พูดง่ายๆ คำนวณมูลค่าพื้นฐานอย่างไร ข้อสอง เมื่อไรเล่าที่ราคาจะวิ่งเข้าหาพื้นฐาน เป็นไปได้ไหมที่ราคาหุ้นอาจจะไม่สะท้อนพื้นฐานเป็นระยะเวลานานมาก เผลอๆ ตลอดไป กลายเป็นหุ้นที่อาจจะ “ถูกตลอดกาล” และถ้าเป็นอย่างนั้น VI จะได้อะไร
คำตอบทั้งสองข้อนั้นเกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ คำตอบของข้อแรกก็จะตอบคำถามของข้อสองได้ คำถามที่ว่ามูลค่าพื้นฐานคืออะไรนั้น ถ้าจะตอบ ก็คือ เป็นมูลค่าปัจจุบันของหุ้นที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้จากบริษัทตลอดไป และผลตอบแทนที่ว่านั้น ก็คือ “ปันผล” ในอนาคตทั้งหมดของบริษัท
ถ้าจะพูดให้เห็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายไม่เป็นวิชาการ ก็คือ “เป็นราคาหุ้นที่เรายินดีที่จะจ่ายเงินซื้อเพื่อเก็บกินปันผลไปตลอดชีวิต โดยที่เราจะไม่ขายหรือเป็นหุ้นที่เราไม่สามารถขายได้” ดังนั้น เวลาที่ผมจะซื้อหุ้น ผมจะต้องคิดว่าราคาที่ผมจ่ายนั้น ผมยินดีหรือไม่ที่จะเก็บมันไว้ตลอดชีวิต เพื่อรับปันผล ถ้าคำตอบ คือ “ไม่เอา” นั่นก็แปลว่า ราคานั้นสูงเกินไป อาจจะเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าปันผลจะลดลง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าผมกลัวว่าอนาคตบริษัทอาจจะเจ๊ง หรือธุรกิจตกต่ำลงมากและจ่ายปันผลน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผมจะ “ไม่มีทางออก” แต่ถ้าคำตอบของผมก็คือ “เอา” นั่นก็แปลว่าผมมั่นใจในตัวบริษัทว่าจะยังดีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ปันผลในอนาคตนั้นมีโอกาสสูงที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะตกต่ำลงมีน้อยมาก ดังนั้น ผมยินดีซื้อและถือหุ้นตัวนั้นตลอดชีวิต
แน่นอน ในชีวิตจริง เราไม่จำเป็นที่จะต้องถือหุ้นตลอดชีวิตเพื่อเก็บกินปันผล แต่เวลาพิจารณาซื้อหุ้นโดยอิงกับ “มูลค่าพื้นฐาน” ของหุ้น เราจะต้องคิดว่าเราจะต้องเก็บหุ้นไว้ตลอดชีวิตจริงๆ ถ้าเราคิดว่าเราสามารถขายได้ทุกนาที หรือเราสามารถขายได้ถ้า “สถานการณ์เปลี่ยน” หรือแม้แต่เราจะขายเมื่อ “บริษัทโตเต็มที่แล้ว” ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน 3-4 ปีข้างหน้า แบบนี้แสดงว่าเรายังไม่ได้ซื้อหุ้นโดยอิงกับมูลค่าพื้นฐานจริงๆ เราอาจจะ “เก็งกำไร” โดยอาจจะอิงกับปัจจัยพื้นฐานบางส่วนเท่านั้น
นอกจากเรื่องของปันผลในอนาคตแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการคำนวณหามูลค่าพื้นฐานของหุ้น ก็คือ “อัตราคิดลด” ซึ่งก็คือ อัตราผลตอบแทนที่เราต้องการในการลงทุนซื้อหุ้นตัวนั้น อัตราผลตอบแทนนี้จะคล้ายๆ กับอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อพันธบัตรซึ่งเราจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอนเช่นปีละ 1% หรือ 3-4% ตามลำดับ แต่การลงทุนในหุ้นนั้น เราจะได้ปันผลที่มีอัตราไม่แน่นอนขึ้นกับผลกำไรของบริษัท ดังนั้น เราจึงต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยเช่นอาจจะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10%
ปัจจัยสำคัญตัวสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ อัตราการเติบโตหรือการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลในอนาคต นี่คือ สิ่งที่จะทำให้มูลค่าหุ้นสูงหรือต่ำอย่างมีนัยสำคัญ เพราะถ้าปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นทุกปีหรือเกือบทุกปี ยิ่งนานปันผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้น บางทีผ่านไป 15-20 ปี เงินปันผลแต่ละปีอาจจะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินค่าหุ้นที่เราจ่าย ถ้าเป็นแบบนี้มูลค่าของหุ้นก็จะมาก แต่ถ้าปันผลไม่โตเลย เคยได้เท่าไร ผ่านไป 5-10 ปีก็ยังได้ปันผลเท่าเดิม แบบนี้หุ้นก็จะมีมูลค่าน้อย
ผมคงไม่อธิบายวิธีคำนวณหามูลค่าพื้นฐานตามวิชาการซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่จะลองให้แนวคิดในการพิจารณาลงทุนซื้อหุ้นโดยใช้หลักการของ “มูลค่าพื้นฐาน” ดังที่ได้กล่าวมา โดยสมมติว่าเราพบหุ้นตัวหนึ่งที่ทำธุรกิจโมเดิร์นเทรดหรือค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีผลประกอบการที่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ผลประกอบการไม่ยากนัก
บริษัท ก. มีกำไรปีละ 0.40 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลปีละ 0.30 บาท ราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น เราคาดว่ากิจการของบริษัทนี้จะเติบโตขึ้นประมาณปีละ 10% ไปได้เรื่อยๆ โดยที่บริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุน เพราะฐานะทางการเงินดีมากไม่มีหนี้สินจากสถาบันการเงินเลย ถามว่ามองโดยพื้นฐานเราควรซื้อหุ้นบริษัทนี้หรือไม่
ก่อนอื่นลองคำนวณดูว่าในปีแรกที่เราลงทุนนั้น เราจ่ายเงินค่าหุ้น 10 บาท และได้ปันผล 0.30 บาทเท่ากับว่าเราได้ปันผลปีแรก 3% ดูแล้วก็อาจจะไม่น่าจูงใจอะไร เพราะเราลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งไม่มีความเสี่ยงเลยเรายังได้ดอกเบี้ยประมาณ 4% แต่เนื่องจากกำไรของบริษัทน่าจะเพิ่มขึ้นได้ปีละ 10% ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นปีละ 10% เช่นกัน ดังนั้น ปีที่สองปันผลน่าจะเป็น 3.3% และปีที่สามน่าจะเป็น 3.63% ปีที่สี่เท่ากับประมาณ 3.99 หรือ 4% ซึ่งเท่ากับพันธบัตรแล้ว หลังจากนั้น อัตราก็จะสูงกว่าไปเรื่อยๆ พอถึงปีที่ 10 ปันผลก็เท่ากับ 8.56% และเมื่อถึงปีที่ 37 ซึ่งอาจจะเป็นปีที่เราเกษียณ ปันผลที่ได้ในแต่ละปีอาจจะเป็น 10 บาท เท่ากับราคาหุ้นในวันนี้ และทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุข เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ตั้งแต่ปีที่ 4 ของการถือหุ้น เราก็ได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในตราสารการเงินอื่นๆ แล้ว ดังนั้น เราจึงคิดว่าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาท เป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมกับพื้นฐานในแง่ของเราและเรายินดีที่จะซื้อมัน
คำถามต่อมา ก็คือ ถ้าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาทซึ่งเราคิดว่าถูก แต่ถ้าถือแล้วมันไม่ขึ้นทั้งที่กำไรและปันผลของบริษัทก็ดีขึ้นตามที่คาดแต่ราคาหุ้นกลับไม่ขึ้นสักทีเป็นเวลาหลายปี แบบนี้เราควรจะขายทิ้งไหม คำตอบก็คือ ไม่จำเป็น จำไว้ว่าถ้าเรา “ลงทุนตามพื้นฐาน” และมั่นใจว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ถูกต้อง เราก็ถือมันไป ผลตอบแทนของเรานั้น
เราต้องคิดว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยนักลงทุนคนอื่นในการมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้น แต่มันมาจากปันผลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของบริษัท แต่เชื่อผมเถอะครับว่า ในที่สุดแล้ว คนจะต้องเห็นว่าบริษัทดีและเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ผมเองเคยถือหุ้นมา 3-4 ปีโดยที่ราคาไม่ไปไหน แต่พอมันวิ่ง มันก็ขึ้น “ชดเชย” ช่วงเวลาที่มันนิ่งในเวลาอันรวดเร็ว ประเด็นสำคัญ ก็คือ VI ต้อง “รอเป็น” ว่าที่จริง การที่หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้งๆ ที่บริษัทดีขึ้นหรือจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น กลับเป็นโอกาสที่เราจะซื้อหุ้นเพิ่ม และทำกำไรมากขึ้น
from
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20100914/352807/ปันผลคือพื้นฐานหุ้น.html
My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
22 กันยายน 2553
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
บทความยอดนิยม (ล่าสุด)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
แจกฟรี โปรแกรมคำนวณเงินเก็บเพื่อวางแผนเกษียณ วิธีใช้งานไม่ยาก ช่องสีเหลือง แถวแรก "เงินเก็บต่อเดือน" ให้กรอกเงินเก็บต่อเดือนที่เรา...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
To replace each new line with enter ( \n) in Visual Studio Code ( vscode ) do the steps from images below and click "Replace All&qu...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link ประกันออมทรัพย์ ประกันออมทรัพย์นั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจาก 1. สามารถลดหย่อน...
-
โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) “To invent, you need a good imagination and a pile of junk.” ในการประดิษฐ์คิดค้น คุณจะ...
-
กองทุนรวมดัชนี S&P500 นั้นเป็นกองทุนรวมที่อิงกับดัชนี S&P 500 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทที่มี Market Cap ใหญ่สุด 5...
-
ดูรายละเอียดรถทัวร์และราคาได้ที่ https://eaglethetour.com/
บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
รวมโปรโมชั่นซื้อกองทุนรวม SSF RMF 2566 ของแต่ละ บลจ (ข้อมูลล่าสุด กันยายน 2566) บลจ. บัวหลวง ลงทุนกองมทุน RMF / SSF ปี 66 รับฟรี Starbuc...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
https://www.youtube.com/watch?v=728hIrzcXqw ที่มา https://www.facebook.com/ZipmexThailand https://www.youtube.com/@Zipmex/videos LINE กลุ...
-
โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) “To invent, you need a good imagination and a pile of junk.” ในการประดิษฐ์คิดค้น คุณจะ...
-
แจกฟรี โปรแกรมคำนวณเงินเก็บเพื่อวางแผนเกษียณ วิธีใช้งานไม่ยาก ช่องสีเหลือง แถวแรก "เงินเก็บต่อเดือน" ให้กรอกเงินเก็บต่อเดือนที่เรา...
-
ปีชวด (ปีหนู): http://goo.gl/fA8bYu ปีฉลู (ปีวัว): http://goo.gl/C6RCgS ปีขาล (ปีเสือ): http://goo.gl/7Yy91f ปีเถาะ (ปีกระต่าย): http://g...
-
*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link ประกันออมทรัพย์ ประกันออมทรัพย์นั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจาก 1. สามารถลดหย่อน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น