เปิดบัญชีมาร์จิ้นเล่นหุ้น
อะไรเอ่ยคือมาร์จิน (Margin)
มาร์จิ้น (Margin) คือ การซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินกู้ แต่เงินกู้ที่ทางโบรกเกอร์จะจัดสรรให้นั้น โดยทั่วไปที่สำคัญๆ
จะมีอยู่ 2 แบบ คือ Initial Margin และ Minimum Margin หรือ Maintenance
Marginเรามาทบทวนกันก่อนดีกว่าว่าบัญชีมาร์จิ้นคืออะไร ???
บัญชีมาร์จิ้น คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์ หรือ โบรกเกอร์ให้สินเชื่อกับลูกค้าเพื่อลงทุนซื้อหลักทรัพย์
โดยลูกค้าสามารถซื้อหลักทรัพย์ โดยจ่ายเป็นเงินสดบางส่วน และบางส่วนกู้จากโบรกเกอร์ เพราะฉะนั้น
มาร์จิ้น (Margin) คือ การซื้อหลักทรัพย์ด้วยเงินกู้ แต่เงินกู้ที่ทางโบรกเกอร์จะจัดสรรให้นั้น โดยทั่วไปที่สำคัญๆ
จะมีอยู่ 2แบบคือ
1. Initial Margin คือ สัดส่วนเงินลงทุนครั้งแรกที่นักลงทุนต้องนำเงินสดมาวางเป็นหลักประกัน
โดยต้องวางไว้อย่างน้อยไม่ต่ำกว่าจำนวนที่เป็น Initial Margin ตามที่ตลาดหลักทรัพย์กำหนด
(คือมูลค่าหลักทรัพย์ที่ซื้อ x อัตรา Initial Margin) เงินจำนวนนี้จะลงไว้ในบัญชี Credit Balance ของลูกค้านั้น
เมื่อลูกค้าสั่งซื้อหลักทรัพย์ โบรกเกอร์จะหักเงินค่าหลักทรัพย์ออกจากยอดเงินดังกล่าว
และถ้าลูกค้าซื้อหลักทรัพย์เป็นมูลค่าเกินจำนวนเงินที่วางไว้ โบรกเกอร์จะให้กู้ยืมเงินส่วนที่ขาดอยู่นั้น
ส่วนความสามารถที่ลูกค้าจะซื้อหลักทรัพย์ หรือที่เรียกว่า Purchasing Power
ในตอนเริ่มแรกนี้จะมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่ลูกค้านำมาวางเป็นประกัน
แต่ทั้งนี้ลูกค้าจะซื้อหลักทรัพย์โดยรวมเกินกว่าวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากโบรกเกอร์ไม่ได้
ขอยกตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ เช่น ถ้ากำหนด Initial Margin ไว้ที่ 50% นั่นหมายความว่า
เราต้องนำเงินมาลงทุนครึ่งหนึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะกู้จากโบรกเกอร์ สมมติ
เราลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในตลาดมูลค่า 100 บาท เราต้องจ่ายเงินสด 50 บาทส่วนที่เหลืออีก 50 บาท
กู้จากโบรกเกอร์ โดยเราจะเสียดอกเบี้ยให้กับโบรกเกอร์จากยอดเงินที่กู้ ตามอัตราดอกเบี้ยที่ตกลงกันไว้
และเราจะต้องมอบหลักทรัพย์ที่ซื้อให้กับโบรกเกอร์ไว้เป็นหลักประกันด้วย
นอกจากนี้ Initial Margin อาจปรับขึ้นลงได้ ตามสภาวะการณ์ของตลาด ถ้าตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น
Initial Margin มักจะปรับตัวสูงขึ้นตามไปด้วย เพื่อลดความร้อนแรงของตลาด หรือพูดง่ายๆ คือ ให้คนซื้อ
มีเงินซื้อน้อยลง เป็นการชะลอการซื้อขาย
เพราะเหมือนเป็นการบังคับให้นักลงทุนต้องจ่ายเงินสดซื้อหลักทรัพย์ด้วยตนเองมากขึ้น นั่นหมายถึง
ยอดเงินกู้ที่โบรกเกอร์จะให้เราลดลงนั่นเอง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าตลาดหลักทรัพย์ซบเซา
ไม่ค่อยมีการซื้อขาย Initial margin ก็มักจะปรับตัวลงด้วย เพื่อกระตุ้นให้คนซื้อมากขึ้น
เพราะเราสามารถซื้อหลักทรัพย์ได้โดยกู้จากโบรกเกอร์ได้มากขึ้นนั่นเอง
2. Minimum Margin หรือ Maintenance Margin คือ
การรักษาอัตราส่วนขั้นต่ำที่ผู้ลงทุนจะต้องรักษาอัตราดังกล่าวให้ได้หลังจากวันที่ซื้อ ถ้าราคาหลักทรัพย์ลดลง
และมีผลทำให้มูลค่าหุ้นที่เก็บไว้เป็นหลักประกันกับโบรกเกอร์ต่ำกว่าอัตราส่วนขั้นต่ำนี้
เราจะต้องนำเงินมาเพิ่ม เพื่อลดยอดเงินกู้ให้ต่ำลง เพื่อให้ได้อัตรามาร์จิ้นตามที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าเราซื้อหุ้น 100 หุ้น ราคาหุ้นละ 10 บาท รวมเป็นเงินต้องจ่ายทั้งสิ้น 1,000 บาท แล้วโบรกเกอร์ให้มี Initial
Margin 50% นั่นหมายความว่า เราต้องออกเอง 500 บาท และกู้ได้ 500 บาท มาลงทุน
และถ้าวันใดราคาหุ้นที่ซื้อมาลดลงจากหุ้นละ 10 บาท เหลือเพียง 6 บาท ในขณะที่มีการกำหนด Minimum
margin ไว้ที่ 25% เราก็ลองมาคำนวณดูว่า เราจะต้องนำเงินมาเพิ่มให้กับโบรกเกอร์หรือไม่
โดยจะมีสูตรที่สามารถใช้คำนวณได้ดังนี้
Margin =มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน -มูลค่าเงินสดที่นำมาลงทุน
มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน
จะได้ผลออกมาดังนี้
Margin = 600 - 500
600
= 16.67%
จะเห็นว่าเมื่อราคาหุ้นลดลงเป็น 6 บาทต่อหุ้น ทำให้ Minimum margin ลดลงเหลือ 16.67%
เราจะต้องนำเงินเข้ามาเพิ่มในบัญชีจนสามารถรักษาระดับ Minimum margin ให้ได้ตามอัตราที่กำหนดไว้
ตรงนี้ก็คงมีคนสงสัยว่าแล้วราคาหุ้นจะสามารถลดลงได้เท่าไร ถึงจะรักษาระดับ Minimum Margin หรือ
Maintenance margin
ไว้ได้ 25% ซึ่งสามารถคำนวณได้ง่ายๆ จากสูตรเดิม คือ ให้ฝั่ง Margin เท่ากับ 25% แล้วก็แทนค่าลงไป
จะได้ดังนี้
Margin =มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน -มูลค่าเงินสดที่นำมาลงทุน
มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน
25% =มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน - 500
มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน
มูลค่าหุ้นที่เป็นหลักประกัน = 666.67บาท
ราคาหุ้นที่เป็นหลักประกัน = 666.67 /100 = 6.67บาท
นั่นคือ ราคาหุ้นห้ามต่ำกว่า 6.67 บาท ถ้าต่ำกว่า เราจะต้องนำเงินใส่เข้ามาในบัญชี ให้มูลค่าอยู่ในระดับของ
Maintenance Marginเพราะไม่เช่นนั้นเราอาจถูกบังคับขายได้ (Force sales)
จะเห็นได้ว่าการลงทุนด้วยระบบมาร์จินเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อนที่ต้องระวัง อยู่ที่วงเงินกู้ที่ใช้ลงทุน
ซึ่งมันสามารถเพิ่มขึ้นหรือลดลงตลอดเวลา
และอาจรวดเร็วรุนแรงตามสภาพการณ์ของตลาดหลักทรัพย์และของตัวหุ้นที่เราลงทุนอยู่ด้วยระบบมาร์จิน
ดังนั้น หากใครคิดที่จะลงทุนด้วยระบบมาร์จินนี้ ก็ควรที่จะศึกษาการลงทุนด้วยระบบมาร์จินอย่างละเอียด
ถึงกฎระเบียบที่มีมากมาย เพราะการลงทุนในลักษณะนี้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับนักลงทุนได้ง่ายกว่า
การลงทุนด้วยระบบเงินสด ในกรณีที่หลักทรัพย์ที่เราถือนั้น มีราคาตลาดที่ลดต่ำลงมามาก
from http://www.payom.netfirms.com/finance14.html