29 สิงหาคม 2556

ประวัติ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร



ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จากวิศวกรสู่นักลงทุนทางพลิกผันที่ไม่บังเอิญ


การจัดการด้านการเงินเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต เมื่อบุคคลมีรายได้ การจัดการด้าน การเงินก็เป็นเรื่องสำคัญที่ตามมา ทั้งจัดสรรเพื่อใช้จ่าย เก็บออม รวมถึงหาหนทางสร้างรายได้ให้งอกเงย ซึ่งการจัดสรรการเงินของแต่ละคนเป็นเสมือนภาพเล็กที่รวมกันส่งผลสู่สภาพ เศรษฐกิจของประเทศที่เป็นภาพใหญ่ มีสถาบันการเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง การจัดการด้านการเงินจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อสังคมด้วย ตลาดหลักทรัพย์เป็นอีกหนึ่งสถาบันการเงิน ที่ไม่มีใครปฏิเสธถึงความสำคัญ ในแง่ที่เป็นแหล่งหมุนเวียนเม็ดเงินลงทุนขนาดใหญ่ ที่สร้างผลตอบแทนกลับคืนให้แก่ผู้ลงทุนได้

“โอกาสเป็นของผู้ที่มองเห็น และเข้าไปไขว่คว้า” ดูจะเป็น สิ่งที่สรุปได้จากช่วงเวลาที่ผ่านมาของ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในแวดวงตลาดเงินตลาดทุนในปัจจุบัน ด้วยประสบการณ์ในแวดวงการเงิน ที่สั่งสมมานานกว่าสิบปี แม้หน้าที่การงานเดิมก่อนเข้าสู่เส้นทางสายการเงินของ ดร.นิเวศน์ นั้นเป็นอาชีพที่ดูจะไม่ข้องเกี่ยวกันเมื่อพิจารณาอย่างผิวเผิน แต่สำหรับ ดร.นิเวศน์ แล้ว กลับมองว่า เป็นพื้นฐานที่ดีต่อองค์ความรู้ด้านธุรกิจ การเงิน และมีความใกล้เคียงกันมาก อาชีพนั้นคือ วิศวกร



ปฏิบัติงานวิศวกร อาชีพแรก ในชีวิตอย่างขยันขันแข็ง

ตำแหน่งหน้าที่ในปัจจุบันของ นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คือผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารนโยบายและความเสี่ยง ธนาคาร นครหลวงไทย (Siam City Bank : SCIB) นับเป็นงานในสถาบันการเงินที่เป็น ธนาคารแห่งแรกของ ดร.นิเวศน์ หลังจากดำรงตำแหน่งผู้บริหารในสถาบันการเงินประเภทอื่นมาก่อน

ภายหลังสำเร็จการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.นิเวศน์ เริ่มงานเป็นวิศวกรในโรงงานน้ำตาลของบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ผ่านไปสองปีจึงศึกษาต่อในหลักสูตร บริหารธุรกิจ (MBA) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) ตามคำชักชวนของเพื่อน ประกอบกับต้องการขยายโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และเพื่อโอกาสก้าวหน้า

ดร.นิเวศน์ ต้องการทุ่มเทเวลาให้กับการศึกษาเต็มที่ จึงขอลาออกจากงาน แต่ก็ถูกทัดทาน โดยบริษัทตกลงให้มาทำงานในเวลาที่ไม่มีเรียน

แม้จะเหนื่อยเป็นทวีคูณจากหน้าที่สองอย่าง และการเดินทางไปกลับกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี เป็นประจำทุกสัปดาห์ แต่ก็สามารถสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ ด้านการตลาด ได้ในเวลาสองปี

หลังจบการศึกษา ดร.นิเวศน์ ขอลาออกอีกครั้ง เพื่อทำงานด้านการตลาด เปลี่ยนโลกทัศน์ใหม่ให้ตนเอง บริษัทฯ จึงเสนอทั้งเงินเดือน และตำแหน่งที่เพิ่มขึ้น และมอบงานบริหารให้บ้าง

“ตำแหน่งงานก้าวหน้าขึ้นเป็นหัวหน้าวิศวกร ดูแลด้านวิชาการเกือบหมด แต่คิดดูแล้วถ้าทำไปเรื่อยๆ ก็คงจะอยู่ แค่นั้น มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก วันหนึ่งเพื่อนที่ไปศึกษาด้านบริหารธุรกิจที่ต่างประเทศ มาบอกว่าผมน่าจะไปเรียน ต่างประเทศนะ เพราะมีโอกาสที่เราจะไปเรียนได้ ก็สนใจมาก ตอนนั้นอยากเห็นโลกกว้าง รู้ภาษาเพิ่มขึ้น”

ดร.นิเวศน์ สอบขอรับทุน Research Assistant เพื่อศึกษาปริญญาเอกด้านการเงินที่ University of Mississippi ประเทศสหรัฐอเมริกาถึงสองครั้ง ครั้งแรกสอบไม่ผ่านทั้งที่เตรียมตัวมาดิบดี ครั้งที่ 2 ไม่ได้อ่านหนังสือเลยแต่ก็ปรากฏว่าสอบได้ ดร.นิเวศน์ จึงลาออกจากงาน นับเวลาได้ 7 ปี ของการเป็นวิศวกร

ก่อนเดินทางไปศึกษาปริญญาเอก ดร.นิเวศน์ ให้ภาพการเดินทางว่า เป็นการไปแบบตัวเปล่า ไปหางานทำข้างหน้า ไปเป็นผู้ช่วยวิจัย และอาจารย์ เพื่อหารายได้ ใช้เวลา ประมาณ 4 ปีจึงสำเร็จปริญญาเอก บริหารธุรกิจสาขา การเงิน



เส้นทางที่หักเห

ดร.นิเวศน์ เริ่มต้นการทำงานด้านธุรกิจการเงิน ด้วยตำแหน่งผู้จัดการสำนักวางแผนและบริหารการเงิน ที่บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ IFCT องค์กรผู้ให้บริการด้านเงินกู้แก่ธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นสถาบันที่มีการจัดระบบภายในเป็นมาตรฐาน แบบแผนดี ได้รูปแบบจาก The World Bank ที่รวมของผู้มีความรู้ ความสามารถ ซึ่ง ดร.นิเวศน์ รับหน้าที่ในส่วนของการพิจารณาความเป็นไปได้ของโครงการ

ผ่านประสบการณ์ที่ IFCT อยู่ราว 7 ปี ดร.นิเวศน์ ก็เข้าทำงานในตำแหน่งกรรมการรองกรรมการผู้จัดการ ที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ นวธนกิจ จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันควบรวมกิจการเข้ากับ BANKTHAI ครั้งนี้เป็นงานที่ท้าทายความสามารถและให้ประสบการณ์เพิ่มขึ้น

“มาทำที่นวธนกิจในปี พ.ศ. 2534 นี่คือเริ่มเข้าสู่ วงการธุรกิจหลักทรัพย์แล้ว ตอนนั้นเรื่องธุรกิจหลักทรัพย์ เพิ่งเข้าสู่เมืองไทยมาไม่นาน เป็นอะไรที่ยังใหม่พอสมควร เงินทุนหลักทรัพย์ก็ค่อนข้างหวือหวา แข่งขันกันสูง ต่างจากตอนทำ IFCT นี่ให้สินเชื่อเสียส่วนใหญ่ค่อนข้างมั่นคง ส่วนนวธนกิจเป็นการระดมทุนฝากผ่านทางตลาดหลักทรัพย์ ผมรับผิดชอบทางด้าน Investment Banking นำบริษัท เข้าตลาดหลักทรัพย์ ก็ได้ประสบการณ์ไปอีกระดับหนึ่ง”

ประสบการณ์การลงทุนในหลักทรัพย์ที่เป็นของส่วนตัวยังได้เพิ่มขึ้นไป พร้อมกัน เริ่มจากขณะอยู่ที่ IFCT มีผู้เสนอขายหุ้นจอง (ไอพีโอ) ให้ ดร.นิเวศน์ ตอนนั้นหุ้นจองสร้างกำไรให้ภายในเวลาไม่นาน แม้ในปริมาณที่ไม่สูงนัก แต่ก็ เพียงพอต่อการทำให้ ดร.นิเวศน์ รู้จักกับผลตอบแทนจากหุ้น เมื่อเข้าสู่องค์กรใหม่จึงเริ่มลงทุนซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาด ด้วยบัญช่ีที่เปิดเป็นของตัวเอง และเพิ่มการลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ

“ช่วงปี พ.ศ. 2534 ผมได้สัมผัสกับหุ้นในภาวะที่ตลาดเฟื่องฟู ซึ่งเป็นภาพลวงๆ เต็มไปหมด ราคาหุ้นขึ้นไปมหาศาล ทุกคนเล่นหุ้นเหมือนกับไม่ต้องสนใจว่าพื้นฐานของกิจการ จะเป็นอย่างไร ตอนนั้นตลาดหุ้นมีแต่หุ้นเก็งกำไร เป็นหุ้น ที่มีราคาเกินพื้นฐานไปทั้งนั้น ราคาสูงแต่พื้นฐานไม่ค่อยดี บางทีขายเป็นกระดาษคือ มีแต่โปรเจ็กต์มาเสนอ แต่ยังไม่ได้ทำ เพิ่งจะเขียนแบบเสร็จก็เอาหุ้นไปขายประชาชนในราคาสูง คนก็ซื้อกันใหญ่ ทั้งที่กิจการจะเป็นอย่างไรต่อไปยังไม่รู้เลย แต่ลักษณะแบบนี้ก็เกิดขึ้นตลอดเวลาในตลาดหุ้นทั่วโลก”



มองเห็นโอกาสในภาวะวิกฤติ

ดร.นิเวศน์ ทำงานกับบริษัทหลักทรัพย์นวธนกิจได้ ราว 8 ปี ก็เปลี่ยนบทบาทเป็นที่ปรึกษาให้กับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TAC (ปัจจุบันคือ DTAC) ผู้ให้บริการระบบสื่อสารไร้สายอันเป็นที่รู้จักกันทั่วไป เป็นช่วงเดียวกับการมาถึงของเหตุการณ์และจุดหักเหสำคัญ ทั้งต่อตัว ดร.นิเวศน์ เอง และภาวะเศรษฐกิจ โดยรวม นั่นคือ วิกฤตเศรษฐกิจ ปี พ.ศ. 2540 ซึ่ง ดร.นิเวศน์ มองเห็นโอกาสในตลาดหลักทรัพย์แม้ว่า ตลาดหลักทรัพย์แม้ว่าไม่น่าจะหลงเหลืออะไรอีกต่อไปแล้ว

“ช่วงเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนี่เป็นช่วงชีวิตที่มีการ เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นมาก ตอนนั้นถ้าจำได้ ไฟแนนซ์ไม่มีเงินจะปล่อยสินเชื่อแล้ว ตลาดหลักทรัพย์ตกต่ำอย่าง รุนแรง องค์กรก็ค่อนข้างลำบาก ตอนนั้นก็มีเวลาเพราะ ไม่ค่อยมีงาน ผมได้ทบทวนชีวิต ทบทวนหลักการทำงาน อะไรต่างๆ สารพัด และเนื่องจากมีพื้นความรู้เรื่องหุ้นจากการศึกษา ระดับปริญญาเอก เคยเล่นหุ้นแบบเก็งกำไร และมีประสบการณ์ การพิจารณาให้สินเชื่อ จึงมีทั้งมุมมองผู้ประกอบการ และมุมมองแบบนักลงทุนในห้องค้าของตลาดหลักทรัพย์ก็พบว่า ในตลาดหลักทรัพย์มีกิจการดีๆ อีกมาก เป็นโอกาสที่เราจะซื้อกิจการหรือซื้อหุ้นในราคาต่ำ แต่เป็นกิจการที่ดีมีอนาคต”



แนวคิดการลงทุนแบบ Value Investor

ดร.นิเวศน์ กล่าวว่า หลักการลงทุนแบบพิจารณา พื้นฐานของแต่ละธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาด คือ “การลงทุน แบบเน้นคุณค่า” หรือ “Value Investor” นั่นไม่ใช่แนวคิด ใหม่ เพราะในต่างประเทศต่างคุ้ยเคยกันดีอยู่แล้ว

“วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดในไทยเมื่อเจ็ดปีก่อน เป็น แบบเดียวกับที่เกิดในสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1929 กว่า 70 ปีที่แล้ว ตอนนั้นตลาดหุ้นตกลงไปเหลือ 10% เหมือนกัน เกิดอะไรขึ้นทราบหรือไม่ครับ ราคาหุ้นถูกมาก กิจการดีมาก ปันผล สูงมาก แล้ว เบน เกรแฮม อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ผมศึกษาอยู่เขียนตำรา Value Investment ขึ้นมา พอเราได้อ่าน ก็เหมือนกับว่า นี่เป็นโอกาสของเรา แต่คนในประเทศไทยส่วนใหญ่ไม่ได้อ่าน หนังสืออื่นก็ไม่เคยมีบอก”

ก่อนเกิดวิกฤต ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทยก็ไม่ต่างกับตลาดหุ้นที่อื่นๆ ในโลกที่นักลงทุนนิยมการเก็งกำไร ไม่อิงหลักวิชาการ ต่อเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้น นักลงทุนจึงหันกลับมายึดพื้นฐานว่า แท้จริงแล้วการลงทุนในหลักทรัพย์คืออะไรกันมากขึ้น

“การซื้อขายหุ้นคือ การที่คุณจะเป็นเจ้าของกิจการ ในบางส่วน ถ้ากิจการมี 100 หุ้น คุณมีหนึ่งหุ้นคุณก็เป็น เจ้าของใน 1% ของธุรกิจ แต่เมื่อคุณคิดจะซื้อกิจการ ไม่ว่าคุณจะซื้อ 100% ซื้อ 1% หรือ 0.01% คุณก็คิดแบบเดียวกัน นั่นคือคุณต้องวิเคราะห์แบบธุรกิจ เขามีกำไรเท่าไร มีการจ่ายปันผลอย่างไรต่อปี ผู้บริหารเป็นอย่างไร กิจการทำสินค้าอะไร ขายดีหรือไม่ดี คู่แข่งเป็นอย่างไร”

หลักการดังกล่าวนี่เองที่ ดร.นิเวศน์ ใช้กับการพิจารณาเลือกลงทุนในหลักทรัพย์ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ และทำให้ เห็นว่ามีหุ้นราคาถูกหลายตัว กล่าวคือ ราคาเสนอขายใน ตลาดหลักทรัพย์คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าที่เจ้าของกิจการได้ลงทุนไป เท่ากับการได้เป็นเจ้าของธุรกิจที่สำเร็จ เป็นรูปเป็นร่างแล้วโดยลงทุนเพียงครึ่งเดียวของต้นทุนจริง ดร.นิเวศน์ ลงทุนในหุ้นเหล่านี้ด้วยวิธี “มีเงินเท่าไหร่ซื้อหมด” ผลตอบแทนก็อยู่ในระดับดี แม้ว่าขณะนั้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะต่ำลงไปทุกวันก็ตาม

ขณะนั้นเป็นช่วงที่ ดร.นิเวศน์ เป็นที่ปรึกษาทำให้มีเวลาค่อนข้างมาก จึงศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนแบบดังกล่าวเพิ่ม และยังคงลงทุนแบบนั้นต่อไป ในที่สุด “ตีแตก” งานเขียน ที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์การลงทุนที่ “สุกงอม” ของท่านเองก็สำเร็จลง และเปรียบเสมือนตำราว่าด้วยการลงทุน แบบ Value Investment เล่มแรกของประเทศ

“เป็นการลงทุนที่เราเห็นแล้วว่าปลอดภัย ให้ผล ตอบแทนใช้ได้ ตั้งแต่นั้นเลยทำมาตลอด เป็นวิธีที่มีความเสี่ยงต่ำ ไม่ต้องกังวล บางคนบอกว่าลงทุนแล้วต้องติดตามหุ้น ต้องซื้อๆ ขายๆ แต่การลงทุนของผมเนี่ยซื้อแล้วเก็บยาวๆ ถือนานๆ ให้หุ้นค่อยปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ คอยรับปันผลแต่ละปี รับมาแล้วก็ไปลงทุนอีก ทบต้นไปเรื่อย”

การลงทุนแบบ Value Investment ที่ ดร.นิเวศน์ แนะนำคือ เลือกลงทุนในธุรกิจดีๆ ที่จดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์ ในราคาหุ้นที่ต่ำ ราคาที่ยุติธรรม เหมาะสม ซื้อไว้ประมาณ 5-6 ตัว แล้วถือระยะยาว ช้าๆ แต่มั่นคง อาจจะปรับเปลี่ยนหุ้นปีละหนึ่งตัว หากเห็นว่าราคาหุ้นตัวนั้นปรับขึ้นไปสูงแล้ว ก็ขายเพื่อนำเงินไปลงทุนในหุ้นตัวใหม่ และพยายามติดตามในลักษณะนี้ไปเรื่อยๆ แต่แนวคิดที่ควรมี อยู่ตลอดคือ แนวคิดว่ากำลังลงทุนทำธุรกิจ เพราะธุรกิจที่ดีย่อมเติบโตได้ด้วยตัวของมันเอง ไม่หวั่นไหวจากสิ่งรอบข้าง

“ประเภทของกิจการที่น่าลงทุนตามหลัก Value คือ กิจการของสินค้าที่เป็นผู้นำในตลาด คนจำเป็นต้องซื้อ สินค้านั้น อาจเป็นเพราะสินค้าดีมาก ยี่ห้อนี่เป็นที่ชื่นชอบมาก ติดตลาด หรือสินค้านี้เป็นเจ้าเดียวในตลาด คนอื่นเข้ามา แย่งส่วนแบ่งไม่ได้ รายละเอียดพวกนี้มีอีกมาก แต่หลักการรวมๆ คือ ดูจากการตลาดของกิจการนั้น”



ชี้หนทางเป็นอิสระทางการเงิน

สำหรับหนังสือ “ตีแตก” ผลงานงานเขียนอันถ่ายทอดจากประสบการณ์ของ ดร.นิเวศน์ นั้น ยังคงติดอันดับหนังสือขายดีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนผลงานเขียนอื่นๆ ได้แก่ “คิดใหญ่ไม่คิดเล็ก” เรียบเรียงจาก “Think Big” หนังสือที่ ดร.นิเวศน์ เกิดความประทับใจในครั้งแรกที่ได้อ่าน

ดร.นิเวศน์ ยังแนะนำให้ผู้มีเงินเดือนเป็นรายรับหลัก ที่ีมีเงินพอเลี้ยงดูครอบครัว และเหลือจากการออมกับธนาคาร มาใช้ลงทุนแบบ Value Investment ซึ่งอาจนำไปสู่ “ความเป็นอิสระทางการเงิน” ถึงตรงนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพเดิม ของ ดร.นิเวศน์ ที่กำลังตัดสินใจลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ อาจจะรู้สึกถึงข้อได้เปรียบของตนเองอยู่บ้าง

“โดยเฉพาะวิศวกร ผมบอกเลยว่า เป็นผู้ที่มีรายได้ค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับอาชีพอื่น แต่พวกเราส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามีโอกาสที่สามารถทำให้เงินเก็บของคุณพอกพูนขึ้น มา หากคุณตั้งใจจริงๆ คุณมีโอกาสร่ำรวย การฝากเงินในธนาคารนั้นมีโอกาสร่ำรวยยาก ส่วนใหญ่พออยู่ได้ แต่อิสระทางการเงินก็ยากพอสมควร นี่จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง แต่ไม่ใช่การเล่นหุ้นที่ซื้อมาขายไป เพราะส่วนใหญ่เท่าที่ผมเห็นก็ไม่ได้ กำไรมากนัก”

“วิศวกร ถ้าจะมาลงทุนแบบ Value Investor หนึ่ง คือ ต้องศึกษาเกี่ยวกับการเงินบ้าง ไม่ต้องกลัว ผมเองจบวิศวกรรมศาสตร์ไปเรียน MBA บอกได้เลยว่าวิศวกรทุกคนศึกษาการเงินได้สบายมาก เพราะการเงินเป็นเรื่องของความคิด Logic เรื่องเหตุผล และเป็นเรื่องของตัวเลข ซึ่งวิศวกร ทุกคนทำได้ดีทั้งสองอย่างเลย พอคุณอ่านหนังสือการเงิน สักสองเล่มคุณก็เริ่มมีไอเดียแล้วว่าอย่างไรคือ กำไร ขาดทุน งบดุล ของพวกนี้ศึกษาไม่ยาก ศึกษาด้วยตัวเองเวลา 1-2 เดือนก็รู้เรื่องหมด พวกนี้จัดว่าเป็น Elementary Mathematics ผมเจอคนที่เรียนจบด้านวิศวกรรมอย่างเดียวมาลงทุนแบบ Value Investor ศึกษาไม่นานก็สามารถอธิบายได้เป็นฉากๆ”

การลงทุนแบบ Value Investor แม้จะไม่ใช่เรื่องยากเกินทำความเข้าใจ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เรียนรู้กันได้อย่างผิวเผิน ผู้ที่ต้องการศึกษาการลงทุนในแนวทางนี้จากประสบการณ์ของ ดร.นิเวศน์ มีหนังสือ “เคล็ดลับเซียนหุ้นพันธุ์แท้” และ “รวยด้วยหุ้น แบบฉบับ ดร.นิเวศน์” ที่รวมเล่มจากคอลัมน์ที่ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2546



รู้กว้าง รู้รอบ และรู้ลึก หนทางสู่ความสำเร็จ

ดร.นิเวศน์ กล่าวต่อไปว่า หลังจากได้ศึกษาเรื่อง การเงินแล้ว ทำให้โลกทัศน์ของตนเองกว้างขึ้นมาก ศาสตร์ด้านวิศวกรรมที่ติดตัวมาก็ใกล้เคียงกับศาสตร์แห่งการเงินและธุรกิจมาก ซึ่งวิศวกรรมจะเกี่ยวข้องกับการผลิตเพียงอย่างเดียว ในการบริหารงานผลิต ส่วนธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ จะ เกี่ยวข้องกับการเงิน การตลาด หากมีความรู้เฉพาะด้านวิศวกรรม ก็เหมือนรู้แค่ 1 ใน 3 ส่วนของ Function ที่ใหญ่โต ของระบบ ระบบที่ข้องเกี่ยวกับคนทุกคน ความรู้แขนงเดียวจึงไม่เพียงพอ

Opportunity ของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่การผลิตอย่างเดียว แต่ไปอยู่ที่จุดอื่นด้วย และการเงินเป็นจุดที่มี Opportunity สูงสุด

ทั้งนี้ เมื่อศึกษาศาสตร์พื้นฐานสำหรับการลงทุน อย่างครบถ้วนเพียงพอและเริ่มการลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว ต่อจากนั้นจะลงทุนจริงจังหรือเพียงแค่เป็น Hobby ก็ขึ้นกับความพอใจ

“หลังจากทำงานด้านวิศวกรรมมา 5-6 ปี ผมเห็นว่างานด้านวิศวกรรมอย่างเดียวพาเราไปถึงเป้าหมายยาก เราดูแล้วว่าไม่พอ อยากจะเปิดโลกให้กว้างขึ้นไปจะได้มีโอกาสที่จะเห็น ตอนที่เรียนปริญญาโท คืออยากขยาย Limit ของเรา อยากจะ Universe ออกไป ตอนที่เรียนก็ไม่รู้หรอกว่า การตลาดกับการเงินจะทำให้เราร่ำรวย เราไม่รู้หรอกว่า ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร แต่เพราะเราไม่รู้เราจึงอยากจะเปิดออกไป เพราะรู้สึกว่าที่เป็นอยู่แคบเหลือเกิน เหมือนกบ ที่เห็นแสงลอดรูกะลาเข้ามา”



ความเสี่ยงขึ้นกับว่ารู้มากน้อยแค่ไหน

“การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ” คำเตือนที่ข่มขวัญผู้คิดจะเริ่มลงทุนเกือบ ทุกราย ทุกวันนี้ในตลาดหลักทรัพย์มีนักลงทุนที่ตักตวง ผลตอบแทนได้เป็นที่น่าพอใจ ส่วนที่ต้องบาดเจ็บจากการ ลงทุนก็มีไม่น้อย แม้การเรียนรู้พื้นฐานการลงทุนจะทำได้ เท่ากันแต่ความสำเร็จจะขึ้นอยู่ทักษะส่วนบุคคลซึ่งเลียนแบบ หรือถ่ายทอดกันยาก

“การลงทุนยังมีเรื่องของจิตใจ ประสบการณ์ ผมเรียกว่า EQ การลงทุนต้องมีทั้ง IQ คือ มีความรู้ทางบัญชีบ้าง บัญชีนี่เหมือนเป็นภาษาของโลกธุรกิจ รู้วิธีวิเคราะห์หุ้น รู้ว่าอะไรถูก อะไรแพง แล้วคุณต้องมี EQ ควบคุมจิตใจตัวเองได้อย่างมั่นคง ใจเย็น ไม่หวั่นไหว แล้วคุณต้องมีเวลา ผม เรียก PQ คือ Physical Quotient มีเวลาที่จะลงทุนได้ยาวๆ การลงทุนแบบ Value คือมีเวลาให้สิ่งที่ลงทุนไปได้เติบโต เหมือนต่อยอดไป 10 ปี 20 ปีต้องอยู่กับมันตลอดเวลา ไม่ใช่ เข้าๆ ออกๆ คือ ลงทุนเหมือนทำธุรกิจ หุ้นกับธุรกิจเป็นเรื่องเดียวกัน มีบ้างไหมที่วันนี้ทำธุรกิจ พรุ่งนี้เลิก ไม่มี”

“การทำใจเป็นเรื่องยากที่สุด แต่ถ้าคุณรู้ลึกซึ้ง คุณ เข้าใจมาก คุณมีประสบการณ์ คุณจะไม่กลัวเลย ส่วนใหญ่คนที่เข้ามามีประสบการณ์ไม่พอ ความรู้ไม่พอ ความเชื่อมั่นไม่พอ เปรียบเทียบว่าเราเป็นช่างไฟฟ้า ความรู้เราแน่น รู้ว่า สายไฟนี่ไม่มีไฟ เราจึงกล้าจับ แต่ถ้าคุณไม่รู้คุณไม่กล้า แตะเลย ดังนั้นขึ้นกับว่าคุณรู้แค่ไหน นี่เป็นการวัดกันระหว่างความสำเร็จกับความไม่สำเร็จในการลงทุน”



ความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญของการธนาคาร

สำหรับความรับผิดชอบต่อตำแหน่งผู้บริหารจัดการความเสี่ยง หน้าที่ปัจจุบันของ ดร.นิเวศน์ ก็คือการพิจารณาความเสี่ยงของทั้งองค์กร ที่เป็นส่วนหลักๆ คือ การปล่อยสินเชื่อ ตรวจดูว่าโครงการที่มาขอสินเชื่อมีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งความเสี่ยงก็คือ ความสามารถในการชำระเงินต้น และดอกเบี้ยคืนได้เต็มที่หรือไม่ เฉพาะการพิจารณาความเสี่ยงส่วนนี้ ดร.นิเวศน์ กล่าวว่าเป็นงานใหญ่และหนักมากแล้วสำหรับองค์กร

“แต่ก่อนธนาคารไม่ค่อยเห็นความสำคัญ แต่ช่วงหลังๆ ความเสี่ยงถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการธนาคาร ตัวอย่างเช่นคุณถือพันธบัตรเอาไว้ลงทุน คุณก็ต้องดูว่า เดี๋ยวราคาจะขึ้นลงอย่างไร พันธบัตรประเภทไหน จะขาดทุนหรือกำไรอย่างไร และคุณก็ยังมีความเสี่ยงในเรื่องของสภาพคล่อง ธนาคารเนี่ย วันดีคืนดีเกิดภาวะวิกฤตขึ้น คุณมีเงิน เขามาถอนเงินคุณ คุณมีเงินให้เขาไหม และยังมีความเสี่ยงที่ใหญ่โตอีกอย่างคือความเสี่ยงด้าน Operation เพราะงานธนาคารทุกจุดมีความเสี่ยงทั้งหมด จะมีใครมาโกงไหม พนักงาน เป็นอย่างไร จะมีใครเอาธนาคารไปใช้ฟอกเงินหรือเปล่า หน้าที่ผมคือการไปสร้างระบบและคอยเตือนพนักงานว่า จะจัดการกับความเสี่ยงของเขาอย่างไร โดยรวมแล้วงาน จะกว้างมาก”

ปกติแล้วในการทำงาน ดร.นิเวศน์ พยายามจะไม่ เครียด แต่หากเลี่ยงไม่ได้ วิธีที่เลือกใช้คือการทำสมาธิใน หลักของพุทธศาสนา ซึ่งอยู่ในระหว่างฝึกฝนแต่ยังไม่ลึกซึ้ง อีกวิธีหนึ่งที่ดีมากและขาดไม่ได้เลยคือ การวิ่งออกกำลัง ซึ่งจะช่วยปลดเปลื้องความเครียดได้มาก สมองปลอดโปร่ง หลังได้เรียกเหงื่อ



มีสตางค์แล้ว ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนพฤติกรรม

เมื่อมองย้อนกลับไป ความสำเร็จที่รวมกันส่งผลให้ มายืนอยู่ถึงจุดนี้ได้ เป็นเพราะ ดร.นิเวศน์ สร้างมันขึ้นมาและเข้าไปคว้าโอกาสนั้นด้วยตัวเอง

“ผมเป็น Value Investor คนแรกๆ ของประเทศ ที่ลงทุนวิธีนี้ แต่ทุกอย่างไม่ได้มาโดยบังเอิญนะ และอย่าไปคิดว่าผมโชคดีที่ไปลงทุนแล้วมีกำไร ทุกอย่างเราวางแผน มาหมด เราคิดมาแล้วจึงมาถึงตรงนี้ได้ นี่คือ สิ่งที่ยืนยันว่า ไม่มีใครมี Gift ไม่มีใครที่บังเอิญโชคดี มีบุญมาหล่นใส่ เป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น”

“ผมไม่ใช่คนมี Gift ที่จะเป็นนักลงทุนที่ดี รู้เรื่องอะไรต่างๆ ดี ทุกอย่างมาจากการวางแผน และพลังที่จะ Take Action คุณอยากได้อะไรคุณต้องทำ อยากประสบความสำเร็จคุณต้องเป็นฝ่ายเริ่ม ตรงนี้ผมคิดว่าเป็นอะไรที่สำคัญมาก และทุกวันนี้ผมจะคิดอย่างนี้ตลอด”

“อย่างการลงทุนแบบ Value ในเมืองไทยยังไม่มีใครคิด ผมจับประเด็นตรงนี้และ Project ตัวออกไป เขียน บทความลงในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ รวมเล่มเป็น หนังสือได้ ก็โดยการเสนอตัวเองเข้าไป”

ส่วนหนึ่งของชื่อเสียงและการยอมรับในวงกว้าง จึงมีที่มาจากช่องทางดังกล่าวด้วย และความเป็นที่รู้จักก็เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ทำให้ ดร.นิเวศน์ รู้สึกว่าชีวิตเปลี่ยนไป

“ทุกวันนี้ถามว่าผมมีสตางค์ไหม ผมมี แต่บอกได้เลยว่าความสำเร็จไม่ได้เปลี่ยนชีวิตเรา ผมศึกษาชีวิตนักลงทุนเอกของโลกหลายคน ทั้ง จอร์จ โซรอส, วอร์เรน บัฟเฟต ที่เขาประสบความสำเร็จ ล้วนพูดตรงกันว่า ความสำเร็จทำให้ชีวิตเปลี่ยนไปแค่อย่างเดียวคือ มีคนฟังเขามากขึ้น ผมก็คิดว่าจริงเลย เคยอยู่บ้านเล็กแค่ไหนก็เล็กแค่นั้น เสื้อผ้าซื้อ อย่างเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยน กินข้าวแกงข้างถนน เดินจตุจักร ไปจ่ายตลาดซื้อกับข้าวเองทุกอาทิตย์ งานบ้านก็ทำเอง การดำรงชีวิตก็ยังเหมือนเดิม”

ปัจจุบัน นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ยังคงเป็นวิทยากรรับเชิญเพื่อ ถ่ายทอดประสบการณ์อยู่บ้างตามโอกาส โดยเฉพาะหัวข้อ เรื่องการลงทุนในหุ้น เพราะเป็นเรื่องที่ถนัด มีประสบการณ์ ซึ่ง ดร.นิเวศน์ ยินดีจะแลกเปลี่ยนเป็นวิทยาทาน เพื่อให้ ผู้อื่นได้รับความรู้และประสบการณ์จากการลงทุนในหุ้น อีกหนึ่งการจัดการกับการเงินที่น่าสนใจ ให้ผลเป็นที่น่า พอใจ แต่จำเป็นต้องรู้วิธีจะจัดการอย่างถูกต้อง

25 สิงหาคม 2556

เส้นทางชีวิตของผู้เริ่มต้นจาก O > วอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลก


“ วอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลก” สำหรับคอลัมน์ มองบุคคลโลก หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์

ประจำวันอาทิตย์ที่  17 กันยายน 2549 โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ

ผมขอนำเรื่องของมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและสร้างฐานะจากการเล่นหุ้นจนกลายมาเป็นคนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลกขณะนี้  เรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่มากเพราะข้อเท็จจริงที่เราต่างทราบกันดีคือไม่ได้หมายความว่าคนที่เล่นหุ้นจะรวยเช่นเขาทุกคน  หลาย ๆท่านที่ลงทุนในตลาดหุ้นต้องลงทุนอย่างมีหลักการและเหตุผล อย่าทำตัวเป็นเหมือนแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟหรือทุ่มทุนสร้างเพราะคิดว่ามันเหมือนกับการเล่นการพนันชนิดหนึ่ง เพราะโอกาสเสี่ยงมีสูงมาก  แต่เป็นเพราะเขามีบางสิ่งบางอย่างที่โดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่นจึงทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ 

ผมมองว่าสังคมโลกยุคปัจจุบันเราพบว่า หากใครก็ตามที่ดำเนินธุรกิจอยู่และต้องการระดมทุนเพื่อนำมาขยายธุรกิจ  ตลาดหุ้นเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่นักธุรกิจต้องการ ตามการเติบโตและพัฒนาของโลกอย่างไร้ขอบเขต จนทำให้หลาย ๆ ประเทศมีขนาดของตลาดหุ้นเท่ากับขนาดของเศรษฐกิจของประเทศ มีเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาลทุกวัน เมื่อเราดูข่าวไม่ว่าจะผ่านสื่อใด ๆ จะต้องมีการนำเสนอถึงความเป็นไปของตลาดหุ้นไปพร้อม ๆ กันจนสามารถถือได้ว่าตลาดหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย   ผมมองว่าตลาดหุ้นเป็นเสมือนบ่อนการพนันที่ถูกกฎหมายไปและได้รับการยอมรับอย่างสูง  เพราะมีหลายต่อหลายคนกลายเป็นมหาเศรษฐีจากการลงทุนในตลาดหุ้น ในขณะเดียวกันก็มีมหาเศรษฐีหลาย ๆ คน ที่เดินออกมาจากตลาดหุ้นในฐานะยาจก  มีคนจำนวนมากมีชีวิตอยู่กับตลาดหุ้นจนลืมทุกสิ่งทุกอย่าง และอยู่ในตลาดหุ้นทั้งที่รู้ว่าบางครั้งมันเป็นเหมือนสวรรค์และเหวนรกในเวลาเดียวกันสิ่งนี้เป็นสัจธรรม    

สำหรับผมก็เหมือนคนเล่นหุ้นทั่วไป  เพราะโดยส่วนตัวมีหุ้นของบมจ. อมตะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผมเก็บหุ้นของตัวเองไว้ ไม่เคยขายหุ้นของตัวเองออกไปเลยแม้แต่หุ้นหนี่ง บางช่วงที่ผมมีกำไรจากการทำธุรกิจผมกลับนำเงินนั้นมาซื้อหุ้นของอมตะเพิ่มขึ้นเสียอีก  ปัจจุบันนี้ผมมั่นใจจนสามารถบอกกับคนอื่นได้ว่า ผมไม่เคยขายหุ้นอมตะออกจากบัญชีของผมเลย เพราะผมไม่ใช่คนเล่นหุ้น เป็นแต่เพียงคนลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น  เป็นเรื่องบังเอิญมากเมื่อผมมาได้ทราบวิธีการของวอร์เรน บัฟเฟตต์ที่เขาลงุทนนั้นช่างมีความคล้ายคลึงกับหลักการ วิธีทำของผมเพราะเขาเป็นนักลงทุนที่มีหลักการ  ซึ่งแนวทางการลงทุนที่ว่านี้ผมมองว่า

อันที่จริงแล้วก็ไม่ใช่หลักการที่ยากนัก เพียงแต่เรามองดูผู้บริหารองค์กรนั้น ๆ ว่าบริหารงานอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและซื้อสัตย์ดีพอหรือไม่ และองค์กรนั้นจะต้องมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นธุรกิจที่มีความต้องการของตลาดสูง ไม่ใช่ธุรกิจที่ซับซ้อนเข้าใจยาก หรือหวือหวาอย่างธุรกิจสินค้าไฮเทค การลงทุนสำหรับหุ้นตัวนี้ จะเป็นเหมือนการลงทุนระยะยาว เพราะลักษณะนี้เป็นการลงทุนอย่างชญฉลาด เพราะเป็นการพิจารณาจากตัวหุ้นโดยตรง

วอร์เรน บัฟเฟตต์เป็นผู้หนึ่งที่ใช้วิธีการลงทุนแบบที่ผมกล่าวมาข้างต้น และด้วยระยะเวลา 49 ปีนับจากวันแรกที่เขาเริ่มเล่นหุ้น จนถึงปัจจุบันนี้ เขาได้กลายมาเป็นเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการเล่นหุ้นมากที่สุดของโลกได้ เป็นเพราะเขามีหลักการในการเล่นหุ้นอย่างเป็นขั้นตอน มีเหตุมีผล และด้วยการตัดสินใจที่ดีของตัวเขาเอง ด้วยวัย 76 ปีในปัจจุบัน ชายคนนี้ได้นำทรัพย์สินกว่า 3,700 ล้านเหรียญของเขาบริจาคให้กับสาธารณะกุศล เพราะเขามั่นใจว่าเงินที่เขาบริจาคนี้ จะเกิดประโยชน์มากกว่าการที่เขาจะมอบให้กับลูก ๆ ของเขา และเขาก็มั่นใจในตัวคนที่เขามอบเงินให้ว่าจะสามารถทำในสิ่งที่เขาปราถนาและตามเจตนารมย์ที่เขาตั้งไว้ เพราะเขาเชื่อว่าเงินที่เขาได้มาก็มาจากสังคม และเมื่อเขาประสบความสำเร็จและมีเงินมากมายมหาศาลก็ควรที่จะคืนให้กับสังคม


วอร์เรน บัฟเฟตต์ คิดเสมอว่าเขาอายุมากแล้ว คงจะใช้เงินไปอีกไม่ได้มาก เขายังมีเงินเหลือเก็บอีกเยอะและพร้อมที่จะนำเงินที่เหลือใช้ไปก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะชนก่อนที่เขาจะจากโลกนี้ไป เพื่อทำให้เขารู้สึกภูมิใจว่า ในชีวิตนี้ของเขา เขาได้ทำประโยชน์ให้กับโลกใบนี้ นับว่าเป็นมหาเศรษฐีที่เศรษฐีน้อยเศรษฐีใหญ่ที่เหลือในโลกนี้ควรเอาเยี่ยงอย่างนะครับ 



ประวัติ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีชื่อเต็มว่า วอร์เรน เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์  เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 1930 (ค.ศ. 1930) ที่เมืองโอแมฮา ในรัฐเนแบรสกา  พ่อของเขาชื่อโฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ เป็นวุฒิสมาชิกสังกัดพรรครีพับลิกัน และยังเป็น Stock Broker อีกด้วย ส่วนมารดาของเขามีชื่อว่าไลล่า บัฟเฟตต์ เขามีพี่น้องอยู่ 2 คน คือดอริส และเบอร์ตี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบหมกมุ่นกับตัวเลขตั้งแต่อายุยังน้อย และมีความจำอันดีเลิศ เขาสามารถจดจำจำนวนประชากรของเมืองใหญ่ในสหรัฐได้อย่างมากมาย 

ไม่เพียงเท่านั้น ในตอนที่เขาอายุ 6 ขวบ  เขาได้จ่ายเงิน 25 เซนต์ซื้อโค๊กจำนวน 6 แพ็ค และนำมาขาย ในราคา กระป๋องละ หนึ่งเหรียญ  และเมื่ออายุ 11 ขวบ เขาทำหน้าที่เป็นเด็กจดกระดานในบริษัทหุ้นของพ่อของเขา และในปีเดียวกันนั้น เขาเริ่มซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก ด้วยเงินอันน้อยนิด เขาสามารถซื้อได้แค่ 3 หุ้น หุ้น Cities Service Preferred ในราคาหุ้นละ 38 เหรียญ เมื่อซื้อแล้วราคาได้ตกมา 27 เหรียญ แต่เมื่อหุ้นกลับขึ้นมาอีกที เขาก็ขายไปที่ 40 เหรียญ นั่นเป็นการทำกำไรครั้งแรกในชีวิต ของเขา ได้มาเน็ต ๆ แค่ 5 เหรียญ หลังจากนั้นต่อมาไม่ทราบว่าใช้เวลานานนานเท่าไร หุ้นนั้นทะยานไปถึงหุ้นละ 200 เหรียญ

นอกจากการเล่นหุ้นแล้ว เขายังทำงานพิเศษอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเร่ขายของเคาะประตูตามบ้าน ส่งหนังสือพิมพ์ จนเมื่อเขาอายุได้ 14 ปี เขาสามารถเก็บหอมรอมริบได้ เงินจำนวนถึง 1200 เหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมากเลยทีเดียวในสมัยนั้น และเขาได้ทำเงินก้อนนี้ไปซื้อที่ดินราว ๆ 100 ไร่ เพื่อให้คนเช่าทำการเกษตร 

ต่อมาเขาได้เข้าเรียนระดับมัธยมที่ Woodrow Wilson High School ในกรุงวอชิงตันดีซี และเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วิทยาลัยการเงินวอร์ตัน ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ระหว่างปี 1947 – 1949 แต่จากนั้นก็ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา ซึ่งที่นี่เองที่เขาได้มีความสนใจด้านการลงทุนเพราะได้แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือของ Benjamin Graham ที่มีชื่อว่า The Intelligent Investor หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนคัมภีร์ของ value investors และเขาก็ได้รับความรู้มากมายจากหนังสือเล่มนี้

เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี  เขาได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และได้เรียนหนังสือกับปรมาจารย์ในใจเขาคือ Benjamin Graham และเขาได้รับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1951

หลังจากเรียนจบ เขาก็กลับบ้านเกิดและเข้าทำงานเป็นเซลล์แมนในบริษัทของพ่อตัวเอง ระหว่างปี 1951 – 1954 พอมาปี 1954 – 1956 เขาก็ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัท Graham-Newman Corp. ที่กรุงนิวยอร์ก

ในปี 1957 เขากลับมาถิ่นเกิดอีกครั้ง และเริ่มก่อตั้งบริษัทลงทุนที่มีชื่อว่า Buffett Partnership, Ltd. มีนักธุรกิจมากมายใส่เงินร่วมทุน จุดประสงค์ของเขาก็คือต้องการเอาชนะดัชนีดาวโจนส์ ซึ่งเขาก็ทำได้ผลในปี 1969 อัตรากำไรที่บริษัทเขาทำได้นั้นสูงถึง  29.5 % เปรียบเทียบกับดัชนีดาวโจนส์ แค่ 7.4 % เท่านั้น 


ในปี1962เขาได้เข้าไปซื้อกิจการของบริษัทสิ่งทอBerkshireHathawayในราคาไม่ถึง8เหรียญต่อหุ้นเขาได้ขายโรงทอผ้าทิ้งไปแปลงโฉมบริษัทเป็นHoldingCompanyและนี่เองที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของบริษัทที่ต่อมายิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและในขณะเดียวกันเขาก็ได้แต่งงานกับซูซานทอมป์สันในปีค.ศ.1952และมีลูก3คนคือซูซี่โฮเวิร์ดและปีเตอร์แต่ชีวิตสมรสของทั้งคู่ก็ต้องแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี1977โดยที่ไม่มีการหย่าร้างและภรรยาของเขาก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี2004

ชีวิตส่วนตัวของเขาเรียบง่ายและสมถะมากเขายังคงขับรถเก่าๆไปทำงานบ้านที่อยู่ก็บ้านเก่าและเขาก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมในเมืองโอมาฮาเนบราสกาซึ่งเป็นบ้านที่เขาซื้อมาด้วยราคา31,500เหรียญเมื่อปีค.ศ.1958หรือตั้งแต่49ปีที่แล้วอาหารที่กินประจำยังเป็นแมคโดนัลด์กับโค้กซึ่งเขากินวันละหลายๆกระป๋องประมาณ15กระป๋องต่อวันเนื่องจากเป็นสินค้าของกิจการที่เขาลงทุนอยู่มูลค่าหุ้นของเขาเป็นล้านล้านบาทแต่เขากลับจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองเพียงปีละ1-2แสนดอลลาร์เท่านั้นเองและไม่เคยขายหุ้นของตัวเองเลยตลอดชีวิตเขาขับรถเก่ายี่ห้อLincolnTownไปทำงานเองไม่มีเลขาหน้าห้องบนโต๊ะทำงานไม่เคยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ดูราคาหุ้นชอบใช้ชีวิตในแบบเดิมๆและคิดถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรกและยังชอบเล่นไพ่บริดจ์กับบิลล์เกตส์อยู่เสมอๆ

เงินที่เขาหาได้เขาเอามาใช้น้อยมากความสุขของเขาอยู่ที่การลงทุนเขาไม่ต้องการเอาเงินไปทำอย่างอื่นที่ไม่ให้ผลตอบแทนหรือให้ผลตอบแทนน้อยเขาคิดว่าเงินถ้าอยู่กับเขาแล้วจะโตเร็วมากและมีประโยชน์กว่าเพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ได้บริจาคเงินเพื่อการกุศลมากนักแต่ในที่สุดเขาก็บริจาคเงินให้กับมูลนิธิบิล–มิรินดาเกตส์เพื่อนของเขาเขาถือเป็นแบบอย่างของคนที่รู้จักความพอดีในการใช้ชีวิตรู้และสำนึกได้ด้วยตัวเองว่าจุดความพอดีของตัวเองนั้นอยู่ที่ไหนและเมื่อไหร่ที่จะปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง

ความร่ำรวยส่วนใหญ่ของเขานั้นสั่งสมในบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ซึ่งมีผลกำไรหลากหลายนับจากธุรกิจการประกันภัยอสังหาริมทรัพย์พลังงานและการเช่าเครื่องบินและบริษัทเบอร์กไชร์ฮาธาเวย์ของเขาไม่มีสินค้าอะไรเลยไม่มีการขายสินค้าไม่มีการผลิตการบริการใดๆรายได้จำนวนมากมายมหาศาลทั้งหมดมาจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้รับฉายาว่าเป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลกเขาสามารถเพิ่มราคาหุ้นกองทุนBerkshireของเขาถึง3600เท่าและเน้นย้ำเฉพาะการลงทุนแบบValueInvestorเท่านั้น

หุ้นของเบอร์กไชร์นั้นจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กและเป็นหุ้นตัวใหญ่ที่แปลกประหลาดนอกจากไม่มีการผลิตสินค้าและบริการใดๆเลยซื้อขายหุ้นอย่างเดียวยังเป็นหุ้นที่ไม่เคยมีการจ่ายปันผลมาหลายสิบปีทั้งๆที่มีกำไรมหาศาลทุกปีทำให้บริษัทมีสินทรัพย์มากขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นของเบอร์กไชร์ทะลุหลักล้านบาทไปแล้วคนที่ถือหุ้นบริษัทเขาตั้งแต่วันแรกก็ยังถือมาจนถึงปัจจุบันพวกเขาเชื่อในตัวบัฟเฟตต์มากๆหุ้นบริษัทเขาจึงมีสภาพคล่องต่ำมากซึ่งเป็นผลดีกับกิจการเนื่องจากจะไม่มีคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันมาป่วนราคาบริษัทของเขาจะเลือกลงทุนในหุ้นในกิจการที่เยี่ยมยอดเพียงไม่กี่ตัวโดยซื้อเมื่อตอนราคาถูกและยุติธรรมแล้วเก็บไว้ให้นานที่สุดหรือเก็บไปตลอดชีวิตเลย

สำหรับพอร์ทการลงทุนของเขาจะมีแต่กิจการที่ดีของโลกเช่นบริษัทโค้กยิลเลทดิสนีย์แลนด์เป็นต้นหุ้นที่เขาจะซื้อจะต้องมีพื้นฐานกิจการที่ดีและเขาจะต้องรู้จักและเข้าใจว่ากิจการสามารถสร้างรายได้มาได้อย่างไรเพราะฉะนั้นหุ้นกลุ่มไฮเทคจะไม่ได้รับความสนใจจากเขาเลยแม้แต่ไมโครซอฟต์เพราะเขาบอกว่าถ้าเขาไม่รู้ว่าอีก5-10ปีข้างหน้าบริษัทนั้นจะเป็นอย่างไรเขาก็จะไม่ซื้อหุ้นบริษัทนั้นซึ่งหุ้นไฮเทคจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากจึงไม่อยู่ในข่ายลงทุน

สิ่งที่บัฟเฟตต์ยึดถือในการลงทุนนอกจากคุณค่าของกิจการแล้วคือผู้บริหารต้องมีความซื่อสัตย์ยึดผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นหลักฉะนั้นการบริหารงานของบัฟเฟตต์จึงทำอย่างโปร่งใสและยึดถือประโยชน์ของทุกคนเป็นที่ตั้งเขาไม่เคยเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นการบริจาคเงินของบริษัท



หลักการเลือกลงทุนของวอร์เรนบัฟเฟตต์:


1.เป็นธุรกิจหรือบริษัทที่ไม่ซับซ้อนกิจการประเภทง่ายๆไม่วุ่นวายนี้จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายๆไม่ต้องใช้เทคนิคบุคคลากรพิเศษมากมายนัก


2.เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมแข็งแกร่งเช่นมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่งมีการบริการเป็นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้


3.สามารถคาดเดาได้คือสามารถคาดเดาผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอนเนื่องจากการที่ไม่ซับซ้อนของธุรกิจนี่เอง


4.ผลตอบแทนจากส่วนของเงินลงทุนสูง(ROE)อย่างน้อย12%


5.มีกระแสเงินสดที่ดี


6.มีผู้บริหารที่ดีเห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญธุรกิจที่ดีมีธรรมชาติของธุรกิจที่ดี



จากการศึกษาวอร์เรนบัฟเฟตต์เขาให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจ5กลุ่มด้วยกันคือ


1)ธุรกิจเครื่องดื่มเช่นโค้ก


2)กลุ่มการเงินที่เกี่ยวกับรายย่อยเช่นบริษัทอเมริกันเอ็กเพรส


3)กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค


4)กลุ่มธนาคารพาณิชย์เช่นธนาคารของแคลิฟอร์เนีย


5)หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์



กรณีหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์วอร์เรนบัฟเฟตเข้าลงทุนเมื่อ1974จำนวน11ล้านเหรียญสหรัฐ30ปีผ่านไปได้ผลตอบแทน1.7พันล้านเหรียญสหรัฐและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน15%ที่ผ่านมาเขามีหนังสือออกมาสามเล่มด้วยกันคือ101เหตุผลที่คุณจะเป็นเจ้าของกิจการเล่มที่2ชื่อบัฟเฟตต์ซีอีโอแต่ด้วยเนื้อหาที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีเล่มที่สามซึ่งใช้ชื่อว่า“WARRENBUFFETTWEALTH”หรือวอร์เรนบัฟเฟตผู้มั่งคั่งสำหรับหนังสือเล่มที่3นี้จะใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นมีการยกตัวอย่างประกอบซึ่งเนื้อหาได้มาจากการศึกษาเกี่ยวกับนายวอร์เรนบัฟเฟตและบริษัทของเขาตลอดจนได้มีการสอบถามจากผู้ใกล้ชิดของเขาและล่าสุดชื่อTheNewBuffetologyซึ่งมีชื่อเป็นไทยว่าลงทุนอย่าง...วอร์เรนบัฟเฟตต์ซึ่งรายละเอียดในหนังสือนั้นที่สำคัญคือTheWarrenBuffettWayที่เป็นเหมือนกลยุทธ์การลงทุนพื้นฐานสไตล์บัฟเฟตต์

อย่างไรก็ตามข่าวคราวที่สร้างความโด่งดังให้แก่วอร์เรนบัฟเฟตต์มากที่สุดในชีวิตของเขาก็คือการที่เขายกทรัพย์สินถึง85เปอร์เซ็นต์หรือประมาณสามหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิบิลล์และเมลินดาเกตส์ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยสองสามีภรรยาเกตส์เพื่อนเก่าแก่ของวอร์เรนบัฟเฟตต์ยังผลให้มูลนิธินี้กลายเป็นมูลนิธิที่ร่ำรวยที่สุดในโลกนับว่าเป็นการรวมตัวทางการเงินเพื่อทำการกุศลยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บิลเกตส์และเมอลินดาภริยาบอกว่ามูลนิธิหวังจะใช้ของขวัญล้ำค่าชิ้นนี้ไปใช้วิจัยหาวัคซีนสยบโรคเอดส์ร่วมกับอีก20โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกปีละไม่รู้กี่ล้านซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มียารักษา

เงินจำนวนนี้ถือเป็นเงินบริจาคที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกที่เคยมีมาเงินนี้วอร์เรนบัฟเฟตต์หามาเองเกือบทั้งสิ้นตลอดชีวิตการลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธุรกิจตัวอย่างที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและไม่ฟุ้งเฟ้อเขาเชื่อว่าเงินที่เขาได้มานั้นเขาต้องการที่จะทำในสิ่งที่มีประโยชน์และทำให้เขารู้สึกภูมิใจและเขายังคาดหวังว่าการตัดสินใจบริจาคทรัพย์สมบัติครั้งนี้จะเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเศรษฐีทั้งหลายให้ทำบุญสร้างกุศลโดยการบริจาคให้มูลนิธิต่างๆที่มีอยู่โดยไม่ต้องแข่งกันตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่ส่วนการที่เขาบริจาคให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์เพราะเชื่อมั่นในนโยบายช่วยเหลือคนด้อยโอกาสจริงๆ

บัฟเฟตต์พูดอยู่เสมอว่าเขาเป็นคนที่โชคดีมากเขากล่าวไว้ว่า“ผมรู้สึกอยู่เสมอว่าควรจะตอบแทนสังคมและครอบครัวของผมก็เห็นด้วยกับผมคำถามก็คือว่าจะตอบแทนอย่างไร”และ“ผมไม่ใช่คนที่ปรารถนาในความมั่นคั่งอย่างราชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทางเลือกหนึ่งยังมีคนอีกจำนวน6,000ล้านคนยังจนกว่าที่เรามีอยู่มาก”




กฎทอง 10 ข้อ ของมหาเศรษฐีโลก...สู่ความสำเร็จ ได้แก่

1. ต้องทำงานหนัก สำหรับวอร์เรนแล้ว เขาฟันธงเลยว่า ส่วนใหญ่แล้วการทำงานหนักจะนำผลกำไรมาให้ ในขณะที่การพูดมากแต่ไม่ทำ กลับจะนำความยากจนมาให้แทน แบบนี้เข้าตำราว่า “อย่ามัวแต่ตั้งท่าชก ให้ชกเลย” จึงจะได้คะแนนชนะการต่อสู้

2. อย่าขี้เกียจ เขาได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาก ว่า “ขนาดกุ้งมังกรตัวโตๆ ถ้ามัวแต่นอนหลับ ยังสามารถถูกกระแสน้ำพัดลอยไปได้” หมายความว่าถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย มัวแต่รอคอยความหวัง คุณจะต้องตกอยู่ในวังวนวิกฤตการณ์ทางการเงินนี้ต่อไปอย่างแน่นอน

3. รายรับจากหลายแหล่ง ข้อนี้เป็นเคล็ดลับของมหาเศรษฐีหลายคน ไม่ใช่เฉพาะวอร์เรน เพราะการหวังพึ่งรายได้จากแหล่งเดียว ทำให้ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงของภาวะที่ไม่แน่นอน เขาแนะนำให้ทำการลงทุนที่ฉลาดเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เช่นถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน คุณควรมีรายได้ส่วนอื่นจากการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายรับเข้ามาในแต่ละเดือนได้ด้วย
 

4. ควบคุมรายจ่าย เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มจ่ายเงินซื้อสิ่งที่คุณไม่มีความต้องการจริงๆ คุณก็กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องขายสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดแทน ดังนั้นคิดและตั้งสติก่อนที่จะจ่ายเงินซื้ออะไรในชีวิตเสมอ

5.ตั้งใจออม เขาเน้นว่าเราอย่ารอเก็บออมเงินที่เหลือหลังจากที่ได้ใช้จ่ายจนพอใจ แต่เราต้องกันเงินส่วนหนึ่งของรายได้มาเพื่อเก็บสะสมก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย ข้อนี้ลึกมากนะคะ หลายคนมักจะเข้าใจผิด ใช้จ่ายแล้วเหลือจึงนำเข้าแบงก์ ที่จริงต้องกันออกมาออมก่อนจะไปทำอย่างอื่น

6. งดกู้ยืม คนที่กู้หนี้ยืมสินจากคนอื่น มักจะตกเป็นทาสของคนที่คุณไปกู้ยืม ดังนั้นต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พยายามมีชีวิตอยู่ตามอัตภาพเท่าที่เราหามาได้ อย่าไปสร้างหนี้สร้างสิน เพียงแค่ต้องการมีทรัพย์สินให้เหมือนกับคนอื่น พยายามดำรงชีวิตอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว

7. จัดระบบบัญชี เขาใช้คำคมมาเปรียบเทียบว่า “ไม่มีประโยชน์ที่จะถือร่มกันฝน ตราบใดที่รองเท้าที่คุณสวมใส่นั้นยังมีรูอยู่ เพราะมันทำให้เปียกเหมือนกัน” นั่นคือต้องอย่าทำให้มีจุดรั่วไหลของบัญชี

8. หมั่นตรวจสอบ เขาให้ความสำคัญกับการตรวจสอบมาก เพราะว่าค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ  จะเปรียบเสมือนรูรั่วของเรือ รูรั่วเพียงเล็กๆ แต่นานไปก็สามารถจมเรือใหญ่ทั้งลำได้ ดังนั้นอย่ามองข้ามค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ต้องให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายทุกชนิดเสมอ

9. จัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ตราบเท่าที่ยังโลดแล่นอยู่ในธุรกิจ เขากล่าวว่าเราไม่ควรจะทดสอบความลึกของแม่น้ำที่จะข้าม ด้วยขาสองข้างพร้อมๆ กัน เพราะเราอาจจมน้ำตายได้ ในการจัดการความเสี่ยงเราต้องมีแผนสำรองเสมอ ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราต้องบริหารความเสี่ยงที่กำลังเผชิญอยู่อย่างชาญฉลาดที่สุด

10. บริหารการลงทุน อย่าเอาเงินทั้งหมดไปทุ่มลงทุนในสิ่งเดียวกัน เปรียบเหมือนอย่าวางไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเดียวกัน เพราะถ้าตะกร้าหล่นจะทำให้ไข่แตกหมดทุกใบ ดังนั้นเราต้องกระจายความเสี่ยง เพราะธุรกิจหนึ่งอาจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่อีกธุรกิจหนึ่งอาจจะอยู่ในขาขึ้น ทำให้ผลประโยชน์โดยรวมยังอยู่ได้

ข้อคิดเหล่านี้ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นประโยชน์มากสำหรับการดำเนินชีวิตของนักธุรกิจ นักการตลาด หรือแม้กระทั่งมนุษย์เงินเดือนทั่วไป เพราะสิ่งที่เขาพูดหลายข้อก็คล้ายกับสิ่งที่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือครูบาอาจารย์ ของเราเคยสั่งสอนกันต่อๆ มา ดังนั้นดิฉันหวังว่ากฎทองแห่งความสำเร็จสิบข้อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ นี้คงจะมีประโยชน์กับพวกเราทุกคนไม่มากก็น้อย ไม่ต้องเป็นมหาเศรษฐีโลกอย่างเขาหรอก แค่เพียงเอาตัวรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว



06 สิงหาคม 2556

เคทีซี เปิดขายหุ้นกู้ 2 ชุด มูลค่า 2,500 ล้านบาท ให้ดอกเบี้ย 4.75% และ 5%

นายระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย หรือเคทีซี เปิดเผยว่า เคทีซีจะเปิดจำหน่ายหุ้นกู้รวม 2 ชุด มูลค่าเสนอขายรวมไม่เกิน 2,500 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือกในการออมให้กับประชาชนทั่วไป
หุ้นกู้ชุดแรกเป็นหุ้นกู้อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ย 4.75% ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2559
หุ้นกู้ชุดที่สองเป็นหุ้นกู้อายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ย 5% ครบกำหนดไถ่ถอนปี พ.ศ. 2561
กำหนดจ่ายดอกเบี้ยทุกๆ 3 เดือน และเสนอขายขั้นต่ำที่ 1 แสนบาท และเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณของ 1 แสนบาท
หุ้นกู้ชุดนี้เป็นชนิดระบุชื่อผู้ถือ ไม่มีหลักประกัน ไม่ด้อยสิทธิและมีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ ชำระคืนเงินต้นครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ไว้ที่ระดับ BBB+แนวโน้ม “คงที่” ประชาชนที่สนใจสามารถจองซื้อหุ้นกู้ทั้ง2 ชุดนี้ได้ ระหว่างวันที่ 6-8 ส.ค.นี้ จองซื้อได้ที่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย ธนาคารธนชาต และธนาคารยูโอบี โทรศัพท์ 0-2285-1555

from http://goo.gl/GJ8Nce

เข็มทิศชีวิตมั่นคง

โดย...ฐิตินาถ ณ พัทลุง ภาพ ไม่มีเครดิต
เมื่อวานไปงานแถลงข่าว การจัดงานเข็มทิศชีวิตซูเปอร์ทอล์กที่จะจัดขึ้นที่พารากอนฮอลล์ในปลายเดือน ส.ค.นี้มา มีนักข่าวถามว่า จากการที่ครูอ้อย ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเข็มทิศชีวิต ให้เป็นตำนานการเปลี่ยนชีวิต พลิกจากการรับมรดกหนี้ร้อยล้านเป็นทรัพย์สิน และชีวิตที่มั่นคงเป็นประโยชน์ มียอดขายหนังสือเข็มทิศชีวิตกว่า 1.4 ล้านเล่ม มีคนเข้ามาขอคำแนะนำในการดำเนินชีวิตตลอดมา อะไร เป็นปัญหาหลักที่คนไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญอยู่
ผู้เขียนตอบว่า หลังจากเปิดตัวหนังสือเข็มทิศชีวิต 5 มั่งคั่งไป มีคนจำนวนมากที่ได้พบว่า ตนเองถูกสะกดจิตจากโลกให้ปฏิเสธเงิน คิดว่าความสำเร็จไม่ดี คิดว่าตัวเองไม่คู่ควรรู้สึกผิดกับการได้เงินและประสบความสำเร็จ อายที่จะเรียกค่าตัว เวลาเรียกก็เรียกมากเกินกว่าความสามารถ เวลาทำงานฟรีจะคิดเก่ง พองานที่จะได้เงินคิดไม่ออก หัวสมองตื้อ เวลามีโอกาสดีๆ เข้ามา ก็จะผลักออกไปโดยไม่รู้ตัว ผลักคนดีๆ ออกจากชีวิต ดึงคนไม่ดีเข้ามารู้สึกแปลกแยกจากงานที่ทำ จากคนที่รัก จากตัวเอง กอดคนที่รักไม่แนบแน่น ทำให้ติดอุปกรณ์สื่อสาร หงุดหงิดกับคนที่ตัวเองรัก
ประสบความสำเร็จไปถึงจุดหนึ่งก็ถอยออกมา ทำให้หายไป เหนื่อย และไม่รู้ว่าตัวเองรักอะไร ชอบอะไร ทำอะไรได้ยอดเยี่ยมที่สุด ไม่รู้สึกซาบซึ้งกับงานที่ทำ ไม่มีเป้าหมายที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น กระตือรือร้น มีพลัง มีชีวิตอยู่ใต้ข้อจำกัดทางเวลาและการเงิน ทุกอย่างที่เคยปฏิเสธไม่ชอบพอใจในพ่อแม่กลับกลายเป็นทำอย่างนั้นในชีวิตตัวเอง
สรุป คือ มีความแปลกแยก 4 ด้าน คือ แปลกแยกกับงานที่ทำ ทำงานไม่มีความสุข ไม่มีพลัง ขาดเป้าหมายที่เป็นวัตถุประสงค์ของชีวิตอย่างลึกซึ้ง แปลกแยกกับธรรมชาติรอบตัว ไปเที่ยวก็เหมือนเปลี่ยนที่นอนดูทีวี เปลี่ยนที่เล่นเฟซบุ๊ก แปลกแยกกับคนรอบตัว สื่อสารกันได้ไม่ลึกซึ้ง ไม่แนบแน่น จนต้องหันไปเล่นเฟซบุ๊ก เล่นไลน์ อยู่กับหน้าจอโทรศัพท์มากกว่า
ที่สำคัญที่สุดคือ แปลกแยกกับตัวเอง ไม่แน่ใจว่าตัวเองรักอะไร ชอบอะไร เก่งอะไร อะไรเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต ไม่สามารถมีความสุขในตัวเองได้ ต้องหาความสุขจากภายนอกเพียงอย่างเดียว ซึ่งทำให้เกิดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอกมากเกินไป ขาดอิสรภาพทั้งทางใจ ทางการเงิน และความมั่นคงในชีวิต
เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ประเทศเกาหลี ประกาศว่าจะเป็น ดีทรอยต์ หรือศูนย์กลางการผลิตรถยนต์และเทคโนโลยีแห่งใหม่ของโลก เป็นฮอลลีวูดของโลก ตอนนั้นไม่มีใครคิดว่าเกาหลีซึ่งขณะนั้นยังล้าหลังจากไทยอยู่มาก จะทำได้ แต่ในเวลาไม่นาน วันนี้หากเราไปเดินที่พิคคาดิลลีเซอคัส ในกรุงลอนดอน หรือกลางมหานครนิวยอร์ก ป้ายไฟขนาดใหญ่ตรงนั้น จะเป็นป้ายของฮุนไดและซัมซุง เกาหลีมีนักร้องระดับโลก ภาพยนตร์ ซีรีส์ เพลงของเกาหลีได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ในขณะที่คนของเราขาดเป้าหมาย ขาดพลังในการดำเนินชีวิต พอไม่มีความสุขในการทำงาน ไม่เห็นความหมายในงานที่ทำ ก็ไม่มีความสุขกับชีวิตส่วนตัวในบ้าน ขาดแรงบันดาลใจในการเป็นตัวเองที่ดีที่สุด กับคนที่บ้าน ส่งมอบปมให้คนในครอบครัว กดดันคนที่ตัวเองรัก ทั้งการเรียน การทำงาน การหาเงิน เพราะเวลาที่คนไม่รู้สึกเติมเต็มในชีวิตตัวเอง ก็มักจะเอาปมด้อย เอาความฝันที่ตัวเองไม่ได้ทำ ไปกดทับ กดดันให้เป็นภาระของลูก หรือครอบครัวให้ไปทำให้สำเร็จ เราสอนกันว่า ไม่ต้องเก่งก็ได้ แต่ให้เป็นคนดี ไม่ต้องรวย แต่ให้มีความสุข ทำให้ใจของคนตีความโดยอัตโนมัติว่า ถ้ารวยคือไม่มีความสุข ถ้าเก่งคือไม่ดี แต่ในขณะเดียวกันก็จนและไม่มีความสุข และไม่ดี
การเปลี่ยนชีวิตเริ่มที่การมีมุมมองใหม่ มีความเห็นที่ถูกต้องกับความสุข ความสำเร็จ สิ่งที่ตัวเองสามารถทำได้สำเร็จ คนแต่ละคนต้องการการพัฒนาความเข้าใจ ทั้งความรู้เรื่องภายนอกและภายใน
ปัจจุบัน ผู้เขียนจัดกิจกรรมเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ในการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขสมดุล ทั้งภายนอกและภายในเป็นหลักสูตรฟรีถึง 3 หลักสูตร คือ เข็มทิศภาวนา เข็มทิศความสุข และเข็มทิศพลังใจ โดยโครงการเข็มทิศความสุข เป็นโครงการบุญความสุข ที่เปิดโอกาส ฟรี ให้คนจำนวนหลายพันคนเข้าร่วมในการฝึกคลี่คลายตนเอง ให้อภัยผู้อื่น ใช้ชีวิตอย่างมีพลังอย่างเต็มศักยภาพ และโครงการเข็มทิศพลังใจที่เป็นการบรรยายให้กำลังใจกับผู้ต้องขังในทัณฑสถาน และในสถานที่ราชการต่างๆ
ที่ผ่านมานอกจากการจัดกิจกรรมฟรีให้คนเข้าร่วมแล้ว ยังมีการสอนฟรีทางเฟซบุ๊ก เข็มทิศชีวิต ฐิตินาถ ณ พัทลุงwww.facebook.com/ddnard และทางยูทูบ www.youtube.com/compassnlp ซึ่งมีคนเข้าฟังจากทางไกล ถึง 2.4 ล้านยอดชม
การที่เราแต่ละคนตัดสินใจมีชีวิตที่มั่นคง เรากำลังดูแลครอบครัว ดูแลสังคม ดูแลความแข็งแรงทางเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้ชีวิตดียอดเยี่ยม จากการอนุญาตให้ตัวเองมีมุมมองที่ถูกต้อง เพราะเราแต่ละคนมีศักยภาพที่ยอดเยี่ยมที่สุดในตัวเอง มีความสามารถในการประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ และคู่ควรกับชีวิตที่ยอดเยี่ยมที่สุด ทันทีที่เราตัดสินใจรับผิดชอบกับชีวิตตัวเอง

from http://goo.gl/NW0URT

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)