28 สิงหาคม 2563

สิทธิรักษาพยาบาล ประกันสังคม บัตรทอง และประกันสุขภาพ เลือกอย่างไรให้ตรงใจวัยเกษียณ

ในการวางแผนเกษียณอายุ หนึ่งในเรื่องสำคัญที่เราทุกคนต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก คือ การวางแผนบริหารจัดการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาล ซึ่งนับว่าเป็นรายจ่ายที่มีสัดส่วนที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อยามที่เรามีอายุมากขึ้น ระหว่างวัยทำงาน เรามักไม่ค่อยห่วงหรือเป็นกังวลกับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้มากนัก เนื่องจากบริษัทที่เราทำงานอยู่มักมีสวัสดิการประกันกลุ่มที่ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล นอกจากนี้เรายังสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามการส่งเงินเข้าประกันสังคมมาตรา 33 ซึ่งก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลไปได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในวัยเกษียณอายุที่สุขภาพก็เริ่มเสื่อมถอย ทำให้มีแนวโน้มว่าค่ารักษาพยาบาลจะเพิ่มสูงขึ้น แต่สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลที่เคยได้รับจากบริษัทที่ทำงานได้หมดไป ทำให้เรายิ่งต้องเตรียมวางแผนสำหรับเรื่องนี้ให้พร้อมมากขึ้น บทความนี้จะมาช่วยสรุปว่า เราจะมีสิทธิรับการรักษาพยาบาลอะไรบ้าง และควรจะเลือกอย่างไรให้ตอบโจทย์ความต้องการของเรา



ประกันสังคม vs. บัตรทอง

สำหรับสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมนั้น แม้ว่าเราจะเกษียณอายุแล้ว แต่เราก็ยังมีทางเลือกที่จะยกเลิกหรือเก็บสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคมได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. หากลาออก หรือสิ้นสุดสมาชิกภาพจากการเกษียณอายุตามประกันสังคมมาตรา 33 เราก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอีกต่อไป ซึ่งรวมไปถึงสิทธิการรักษาพยาบาลด้วย หากผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบมาเกิน 15 ปี (180 เดือน) จะได้รับบำนาญชราภาพแทน อย่างไรก็ตามเราสามารถไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทองได้

2. หากเลือกที่จะคงสถานภาพสมาชิกประกันสังคมไว้ ก็จะต้องส่งประกันสังคมมาตรา 39 ต่อภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ลาออกจากงาน โดยในกรณีนี้ ผู้ประกันตนจะต้องจ่ายเงินสมทบจำนวน 432 บาทต่อเดือน คิดเป็นเงินปีละ 5,184 บาท (9% บนฐานเงินเดือนที่ใช้คำนวณเงินสมทบที่ 4,800 บาท กำหนดโดยประกันสังคม) ทำให้ผู้ประกันตนจะยังคงสิทธิรักษาพยาบาล รวมถึงสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของประกันสังคม (ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต)

ดังนั้นผู้ที่เกษียณอายุส่วนใหญ่ มักจะมีคำถามว่า ควรจะลาออกจากสมาชิกภาพประกันสังคมตามมาตรา 33 เพื่อรับเงินบำนาญชราภาพ ส่วนการรักษาพยาบาลก็ไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามบัตรทอง หรือควรจะรักษาสิทธิประโยชน์ตามประกันสังคมด้วยการส่งประกันสังคมมาตรา 39 ต่อ อย่างไรก็ตาม หากเลือกต่อประกันสังคมมาตรา 39 จะได้รับเงินบำนาญชราภาพก็ต่อเมื่อลาออกจากการเป็นผู้ประกันตน ทำให้เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน ที่จะนำมาคำนวณเงินบำนาญจะเหลือเพียง 4,800 บาท ส่งผลให้เงินบำนาญที่เราจะได้รับลดลง (ในขณะที่เงินเดือนเฉลี่ยในการคำนวณเงินบำนาญของประกันสังคมมาตรา 33 อยู่ที่ 15,000 บาท) เราจึงต้องพิจารณาถึงความต้องการของเราให้ถี่ถ้วนว่าต้องการได้รับบำนาญชราภาพ (จากประกันสังคมมาตรา 33) หรือต้องการสิทธิรักษาพยาบาล (จากประกันสังคมมาตรา 39) มากกว่ากัน

นอกจากนี้สิทธิรักษาพยาบาลตามประกันสังคม และสิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง เพื่อตอบคำถามดังกล่าวขอเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันระหว่าง 2 ทางเลือก ดังนี้


ตารางเปรียบเทียบสิทธิการรักษาพยาบาลระหว่างประกันสังคมและบัตรทอง (ที่มา www.nhso.go.th และ www.sso.go.th)




*ศึกษารายละเอียดสิทธิการรักษาเพิ่มเติมได้ที่ www.nhso.go.th และ www.sso.go.th


จะเห็นว่า สิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสิทธิรักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสังคม ดังนั้น การลาออกจากประกันสังคมมาตรา 33 เพื่อรับเงินบำนาญ และเลือกใช้สิทธิรักษาพยาบาลจากบัตรทอง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการส่งต่อประกันสังคมตามมาตรา 39 เนื่องจากได้รับเงินบำนาญชราภาพที่มากกว่า และยังคงสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามบัตรทอง ซึ่งเป็นทางเลือกในการแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นในยามเกษียณได้


อย่างไรก็ตาม การหวังพึ่งสวัสดิการจากรัฐเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ใช่การวางแผนเกษียณที่ดีนัก เนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้จะมีผู้สูงอายุจำนวนที่มากขึ้น และกว่าที่เราจะเกษียณอายุ ก็ไม่รู้ว่านโยบายการให้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจะเป็นอย่างไร เงินงบประมาณจะเพียงพอหรือไม่ จะยกเลิกไปเสียก่อนหรือเปล่า ดังนั้นหากเราไม่มีการวางแผนการเงินของเราในเรื่องนี้ ถึงตอนนั้นก็อาจสายเกินไป ดังนั้นเราจึงควรมีการสำรองเงินไว้เป็นค่ารักษาพยาบาลของตัวเองและครอบครัว ร่วมกับการซื้อประกันสุขภาพไว้เพิ่มเติมด้วย



ในการเลือกซื้อประกันสุขภาพ ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและข้อควรพิจารณาต่างๆ ดังนี้

ประกันสุขภาพอาจจะ “ไม่คุ้มครองโรคที่เราเป็นมาก่อนทำประกัน”

ประกันสุขภาพจะไม่เริ่มคุ้มครองทันที เพราะมี “ระยะเวลารอคอย” ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้ เราจะไม่สามารถเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ ในกรณีเจ็บป่วยทั่วไปจะมีระยะเวลารอคอย 30 วันนับจากวันที่กรมธรรม์มีผลบังคับใช้ ในขณะที่บางโรคอาจมีระยะเวลารอคอยนานถึง 90 - 120 วันหรือมากกว่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นโรคเรื้อรังที่รักษาให้หายขาดยาก หรือมีค่ารักษาพยาบาลสูง เช่น มะเร็ง เนื้องอก นิ่ว

“เงื่อนไขประกันสุขภาพ” มียกเว้นไม่คุ้มครองโรคบางโรค เช่น การรักษาเกี่ยวข้องกับความสวยความงาม การศัลยกรรมใบหน้าเพื่อความสวยงาม การคลอดลูกและค่ารักษาอื่นๆ เพื่อการมีบุตร การรักษาที่ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบัน เช่น การฝังเข็ม การนวดกดจุด


การทำประกันสุขภาพต้องเปิดเผยข้อมูลตามความจริง

จะเห็นว่าเงื่อนไขของการทำประกันสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการไม่คุ้มครองโรคที่เราเป็นมาก่อนทำประกัน หรือ การมีระยะเวลารอคอยต่างๆ ทำให้เราต้องวางแผนการทำประกันสุขภาพให้ดีว่าควรทำตอนไหน หากจะทำตอนใกล้เกษียณ ก็ต้องหมั่นดูแลสุขภาพของเราให้ดี ให้แข็งแรง เพื่อที่จะได้ไม่มีปัญหาในการทำประกันสุขภาพ และได้รับความคุ้มครองที่ครบถ้วน อย่างไรก็ตาม หากไม่มีข้อจำกัดทางการเงิน ก็น่าที่จะวางแผนทำประกันสุขภาพไว้แต่เนิ่นๆ ถือว่าเป็นการบริหารความเสี่ยง เพราะชีวิตมีความไม่แน่นอน และการซื้อประกันสุขภาพนั้น มีเงินอย่างเดียวอาจซื้อไม่ได้ ต้องมีสุขภาพที่ดีด้วย



21 สิงหาคม 2563

ทิป ไอโฟน (iPhone) ไอแพด (iPad)

เช็คว่าไอโฟน (iPhone) ไอแพด (iPad) เป็นเครื่องไทย หรือเครื่องนำเข้า (หรือ refurbished)

  • กดปุ่ม Settings > General > About
  • ดูที่ Model Number ถ้าเป็นเครื่องไทย จะมีคำว่า TH

เช็คว่าไอโฟน (iPhone) ไอแพด (iPad) เป็นของแท้ ของปลอม เช็คประกัน iCare

  • ดู Serial Number ของเครื่องโดยกดปุ่ม Settings > General > About
  • เข้าไปที่เว็บ http://checkcoverage.apple.com
  • กรอก Serial Number
  • กรอก Captcha
  • เว็บจะแสดงรุ่นไอโฟน (iPhone) ไอแพด (iPad) ของเรา ถ้าตรงกันแสดงว่าของแท้
  • เว็บยังจะแสดงข้อมูลประกัน iCare ที่เราสมัครไว้ให้ดูอีกด้วย


นำไอโฟน (iPhone) ไอแพด (iPad) เครื่องเก่า ไปแลกส่วนลดเพื่อซื้อเครื่องใหม่ หรือแลกรับ Gift Vouncher


ตรวจสอบเลข IMEI ของเครื่องไอโฟน (iPhone) ไอแพด (iPad)

  • กด *#06*

ทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ กับ AIS e-waste

  • เราสามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์มือถือ สายชาร์จ powerbank battery ที่ชำรุด มาทิ้งได้ที่ AIS e-waste ตามจุดต่างๆ
  • ดูจุดรับทิ้งทั่วประเทศได้ที่ https://ewastethailand.com/

17 สิงหาคม 2563

MongoDB query join multiple collections using aggregate

MongoDB aggregate allows us to query and join multiple collections (like JOIN in SQL).


Sample Usage 

Let say, we have 3 collections like this


// customers collection
{
id: "c1",
name: "Robert Tee",
created: new Date()
}

// tickets collection
{
id: "t1",
seats: ["A1", "A2"],
customerId: "c1",
merchantId: "m1"
created: new Date()
}

// merchants collection
{
id: "m1",
name: "Merchant One"
created: new Date()
}


We would like to see the last ticket of the merchant "Merchant One" of the customer name "Robert Tee".

We can use the following MongoDB query command

// finding the last ticket of merchant ""Merchant One""
// of customer name "Robert Tee",
db.customers.aggregate([
// filter by customer name
{ $match: { "name": "Robert Tee" }},
// join tickets colletion
{
$lookup: {
from: "tickets",
localField: "id",
foreignField:
"customerId",
as: "ticket"
}
},
{ $unwind: {
path: "$ticket",
preserveNullAndEmptyArrays: false
}},
// join merchants colletion
{
$lookup: {
from: "merchants",
localField: "ticket.merchantId",
foreignField: "id",
as: "merchant"
}
},
{ $unwind: {
path: "$merchant",
preserveNullAndEmptyArrays: false
}},
// filter by merchant short name
{ $match: { "merchant.name": "Merchant One" }},
// order by created desc
{ $sort: { "ticket.created": -1}},
// get 1
{ $limit: 1 }
])




02 สิงหาคม 2563

ข้อคิดดีๆ จากเรื่อง"รอยตะปู"

ข้อคิดดีๆ จากเรื่อง"รอยตะปู"ของเพื่อนคนหนึ่ง อยากให้คนที่อารมณ์ร้อนได้อ่านกันทุกคน ถือว่าจะได้บุญในวันนี้เชื่อว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในอนาคต!!!

เด็กน้อยคนหนึ่งเป็นเด็กอารมณ์ไม่ค่อยจะดี พ่อของเขาจึงให้ตะปูกับเขา 1 ถุงและบอกเขาว่า ทุกครั้งที่ลูกรู้สึกไม่ดี โมโห หรือโกรธใครก็ตาม ให้ตอกตะปู 1 ตัวลงไปที่รั้วหลังบ้านก็แล้วกัน วันแรกผ่านไปเด็กน้อยตอกตะปูเข้าไปที่รั้วถึง 37 ตัว วันที่ 2 และ วันที่ 3 และแต่ละวันที่ผ่านไป ผ่านไปจำนวนตะปูก็ค่อยๆลดลง ลดลงๆ เพราะเด็กน้อยรู้สึกว่า การรู้จักควบคุมตัวเองให้สงบ ง่ายกว่าการตอกตะปูตั้งเยอะ

แล้ววันหนึ่ง หลังจากที่เขาสามารถ ควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ใจเย็นมากขึ้น เขาเดินไปหาพ่อเพื่อบอกว่า เขาคิดว่าเขาไม่จำเป็นที่ต้องตอกตะปูอีกแล้ว เพราะเขาได้เปลี่ยนไป เขาสามารถควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ไม่มุทะลุเหมือนแต่ก่อนแล้ว

พ่อยิ้มแล้วบอกลูกชายว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นจริงๆ ลองพิสูจน์ให้พ่อดู ทุกๆครั้งที่ลูกสามารถควบคุมอารมณ์ฉุนเฉียวของตัวเองได้ให้ถอนตะปูออกจากรั้วหลังบ้านที่ละ 1 ตัว วันแล้ววันเล่า เด็กชายก็ค่อยๆถอนตะปูออกทีละตัว ๆ จนในที่สุด วันหนึ่งตะปูทั้งหมดก็ถูกถอนออกเด็กชายดีใจมากรีบวิ่งไปบอกพ่อของเขาว่า ผมทำได้แล้วครับในที่สุดผมก็ทำได้สำเร็จ

พ่อไม่ได้พูดว่าอะไร แต่จูงมือลูกของเขาไปที่รั้วนั้น แล้วบอกลูกทำได้ดีมากทีนี้ลองมองกลับไปที่รั้วสิ เห็นมั๊ยว่ารั้วมันไม่เหมือนเดิมมันไม่เหมือนกับที่มันเคยเป็นก่อนหน้านี้ ลูกจำไว้นะ ว่าเมื่อไหร่ที่เราทำอะไรลงไปด้วยการใช้อารมณ์ สิ่งนั้นมักจะเกิดรอยแผล เหมือนกับการเอามีดไปกรีดหรือแทงใครเข้า ต่อให้ใช้คำว่า..ขอโทษ..สักกี่หนก็ไม่อาจจะลบรอยแผลหรือความเสียหายที่เกิดกับเขาคนนั้นได้ ลูกจงจำคำว่า ..ขอโทษ..ไว้เสมอนะ ไม่ว่าเขาจะยกโทษให้เรา หรือ ไม่ก็ตาม สิ่งที่มันเกิดขึ้น รอยร้าวที่เกิดขึ้นกับเขา เขาอาจจะไม่มีวันลืมมันได้......ตลอดไป

เรื่องตอกตะปูและรอยตะปูทำให้ชีวิตคนเปลี่ยนได้ดีขึ้น!!!!!!



ที่มา forwarded LINE

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)