กองทุนอสังหาริมทรัพย์กลายเป็นกองทุนเนื้อหอมในช่วงนี้ ใครอยากโกอินเตอร์ไปลงทุนอสังหาฯในต่างประเทศต้องคลิกเข้าไปดู
“กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยขึ้นตามลำดับ จากในปี 2546 ที่มีกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพียง 2 กอง มีสินทรัพย์สุทธิประมาณ 1,979.03 ล้านบาท ให้หลังมาย่างเข้าสู่ปีที่ 8 ในปี 2554 อุตสาหกรรมกองทุนไทยมีกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นเป็น 34 กองทุน มีสินทรัพย์รวมกันประมาณ 99,107.38 ล้านบาท แล้ว เรียกว่าใกล้จะทะลุระดับ 1 แสนล้านบาท เข้าไปทุกที และในปีนี้เองจะเป็นครั้งแรกที่จะมีการเปิดตัว “กองทุนที่ไปลงทุนในต่างประเทศ (FIF)” ที่มีนโยบายไปลงทุนใน “กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)” ในต่างประเทศเพิ่มเติมขึ้นมาเป็นทางเลือกใหม่ให้กับนักลงทุนไทยอีกทางหนึ่งด้วย
ประเดิมเริ่มต้นโดย 2 บลจ. ใน 2 ภูมิภาค ได้แก่ “บลจ.วรรณ” กับ REIT-สิงคโปร์ และ “บลจ.กรุงไทย” กับ REIT-โลก ระหว่างที่กฎเกณฑ์เกี่ยวกับกอง REIT ในไทยยังไม่เรียบร้อย นักลงทุนก็มีโอกาสจะไปสัมผัสกับการลงทุนในกอง REIT ต่างประเทศได้ก่อนแล้วในวันนี้
Fundamentals สัปดาห์นี้ มีเรื่องราวเกี่ยวกับกองทุน FIF ที่ไปลงทุนใน REIT ต่างประเทศมากนำเสนอ
@ ในไทยรอเกณฑ์ REIT
เกี่ยวกับเรื่องนี้ “ประเวช องอาจสิทธิกุล” ผู้ช่วยเลขาธิการอาวุโส สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บอกว่า ปัจจุบันทางสำนักงาน ก.ล.ต.ได้อนุญาตให้กองทุนไปลงทุนในกอง REIT ในต่างประเทศได้แล้ว ซึ่งถือเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้ลงทุนไทยมากขึ้นกว่าในอดีต ส่วนในประเทศเองนั้นแนวโน้มการพัฒนากองทุนอสังหาริมทรัพย์ก็จะมุ่งไปในแนวทางของ REIT ซึ่งเป็นแนวทางสากลที่นิยมใช้กันในต่างประเทศ โดยหลักการในการกำกับดูแล REIT จะสอดคล้องกับแนวปฏิบัติของ REIT ในต่างประเทศ ซึ่งมีความยืดหยุ่นกว่า “กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1)” เช่น สามารถลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ได้ทุกประเภท โดยต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาผลประโยชน์เพื่อให้ได้ค่าเช่า แต่ต้องไม่เป็นการเช่าเพื่อทำธุรกิจที่ไม่เหมาะสมหรือผิดกฎหมาย สามารถกู้ยืมเงินได้มากขึ้นจาก 10% เป็น 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ผ่อนคลายข้อจำกัดในการถือหน่วยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งมากขึ้นจากไม่เกิน 1 ใน 3 เป็น “ไม่เกิน 50%” เพื่อไม่ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการกำหนดนโยบาย
“ทั้งนี้ REIT จะเป็นทางเลือกการลงทุนใหม่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนที่สนใจลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะเป็นวิธีที่ทำให้ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากเหมือนกับการลงทุนโดยตรงและมี ข้อจำกัดน้อยกว่าการลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากโครงสร้าง REIT มีความเป็นสากลและมีความยืดหยุ่นในการลงทุนและบริหารจัดการมากกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น ในอนาคตท้ายที่สุดจึงไม่ควรมีการจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) อีกต่อไป ทางสำนักงาน ก.ล.ต. อยู่ระหว่างหารือกับกรมสรรพากรที่จะให้รูปแบบการจัดเก็บภาษีเกี่ยวกับธุรกรรม REIT ใกล้เคียงกับการลงทุนโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์มากที่สุด โดยจะได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็นภาระภาษีและค่า ธรรมเนียมต่างๆ ต่อไป เพื่อจะออกเป็นกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดตั้งกอง REIT ออกมาในอนาคตอันใกล้นี้”
@ โอกาสของการลงทุนใน REIT
“ดารบุษป์ ปภาพพจน์” รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานพัฒนาธุรกิจและการตลาด 2 บลจ.กรุงไทย บอกว่า นักลงทุนไทยอาจจะไม่คุ้นเคยกับ REIT เพราะกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะเป็นประเภท “กอง 1” แต่ในต่างประเทศกอง REIT ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักลงทุนทั่วทุกมุมโลก โดยหากไปดูสัดส่วนระหว่างกอง REIT เทียบกับหุ้นอสังหาริมทรัพย์ (Non-REIT) ทั่วโลก ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2011 พบว่าเป็น REIT ประมาณ 72% เป็น Non-REIT 28% ในอเมริกาเหนือเป็น REIT ประมาณ 98% และเป็น Non-REIT ประมาณ 2% ในยุโรปเป็น REIT ประมาณ 65% เป็น Non-REIT ประมาณ 35% ในออสเตรเลีย นิวซีแลนด์และหมู่เกาะแปซิฟิกเป็น REIT 100% ในขณะที่ในเอเชียเองนั้นยังมีสัดส่วนของ REIT ค่อนข้างน้อยประมาณ 19% เป็น Non-REIT ประมาณ 81% จะเห็นว่าในภูมิภาคที่มีตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีพัฒนาการมาอย่างยาวนานนั้นจะมีสัดส่วนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านรูปแบบของ REIT เป็นส่วนใหญ่ แต่ในเอเชียยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ในไทยเองยังไม่มีแต่ในอนาคตแนวโน้มของการพัฒนาในไทยเองก็จะมุ่งไปสู่รูปแบบของ REIT ซึ่งเป็นสากลกว่าด้วยเช่นกัน
โดยอสังหาริมทรัพย์ที่ REIT ลงทุนนั้น ก็จะมีหลากหลายทั้งโรงแรม โกดังให้เช่า ศูนย์การแพทย์ ที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม สำนักงาน ศูนย์การค้า และอื่นๆ เป็นต้น ทั้งนี้ภาพของ REIT ในต่างประเทศอาจจะไม่เหมือนกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ที่นักลงทุนไทยคุ้นเคยกันอยู่ ที่มักจะเป็นการลงทุนในลักษณะที่ 1 กองทุน ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น แต่ REIT ในต่างประเทศ 1 กองทุน ไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลายมากกว่า 1 อสังหาริมทรัพย์ ตัวอย่างกอง REIT ที่ใหญ่สุดในสหรัฐ มีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากถึง 393 แห่ง ดังนั้นในเรื่องของสภาพคล่องกอง REIT จึงมีมากกว่ากองทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยค่อนข้างมาก
“กอง REIT เองก็ได้ประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ในไทย คือต้องมีวัตถุประสงค์ที่จะจัดหาผลประโยชน์เพื่อให้ได้ค่าเช่าและจ่ายผลตอบแทนมาให้ผู้ถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ โดยจุดที่ REIT ต่างจากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในประเทศ คือ สามารถที่จะกู้ยืมเงินได้ แต่ด้วยการบริหารจัดการที่ดีทำให้กอง REIT สามารถจ่ายผลตอบแทนในรูปของเงินปันผลให้กับผู้ถือหน่วยได้อย่างสม่ำเสมอเช่นเดียวกัน”
@ตลาดหุ้นปรับฐานเป็นโอกาสลงทุน
“มนรัฐ ผดุงสิทธ์” กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ มองว่า กอง REIT ในต่างประเทศหัวใจสำคัญที่อยากให้นักลงทุนที่สนใจลงทุนมองในเรื่องของอัตราผลตอบแทนที่สม่ำเสมอในรูปของค่าเช่าที่จ่ายออกมาผ่านกองทุนมากกว่าเช่นเดียวกับการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ในไทย อย่างไรก็ตามในจังหวะที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงถือเป็นจังหวะที่ดีที่จะเข้าไปลงทุนในกอง REIT ต่างประเทศเพราะราคาของ REIT ก็จะปรับตัวลงมาด้วยเช่นกัน นั่นหมายถึงอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลที่นักลงทุนจะได้รับจะปรับตัวสูงขึ้นกว่าในภาวะปกติด้วย ในส่วนของบริษัทเองก็เพิ่งขาย “กองทุนเปิด วรรณ พร็อพเพอร์ตี้ สิงคโปร์ (ONEPROP-SG)” ไปในช่วงต้นเดือน ก.ย. 54 ที่ผ่านมา เพราะมองว่าเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นปรับฐานเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าไปลงทุน ทั้งนี้หากดูดัชนีตลาดหุ้นสิงคโปร์ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (29 ส.ค. 54) ปรับตัวลดลง 9.82% ในขณะที่ดัชนี REIT ของสิงคโปร์ปรับตัวลง 3.04% แต่ย้อนหลัง 1 ปี และ 3 ปี ดัชนีตลาดหุ้นสิงคโปร์ปรับตัวลดลง 1.47% และ 1.47% ตามลำดับ แต่ดัชนี REIT ของสิงคโปร์กลับให้ผลตอบแทน 4.22% และ 20.23% ตามลำดับ
“ทั้งนี้จะเห็นว่าหลังช่วงวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่ผ่านมา ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์เองมีการฟื้นตัวกลับมาแล้ว ในขณะที่ตลาดหุ้นสิงคโปร์เองยังค่อนข้างทรงตัว ดังนั้นแนวโน้มของอสังหาริมทรัพย์มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนและในช่วงที่ตลาดหุ้นปรับตัวลงในช่วงที่ผ่านมา จึงเป็นโอกาสดีที่จะเข้าไปลงทุนในราคาที่ถูกลง”
เช่นเดียวกับดารบุษป์ที่มองว่า โอกาสที่ตลาดหุ้นปรับฐานเป็นโอกาสที่ดีในการเข้าไปลงทุนใน REIT เช่นเดียวกัน เพราะนักลงทุนจะสามารถลงทุนในราคาที่ถูกลงทำให้อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลซึ่งปกติกองทุนจะจ่ายในอัตราสม่ำเสมอจะสูงขึ้นด้วย เชื่อว่าโอกาสที่ตลาดหุ้นยังอยู่ในช่วงปรับฐานน่าจะเป็นจังหวะที่ดีในการเข้าไปลงทุน เพราะหากมองผลตอบแทนของกอง REIT โลกเปรียบเทียบกับตราสารหนี้โลกและหุ้นโลกพบว่าดัชนี REIT โลก ให้อัตราผลตอบแทนในช่วง 10 ปี (2001 - 2011) ที่ดีกว่าเฉลี่ย 10.7% ต่อปี ในขณะที่ตราสารหนี้โลกให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4.5% ต่อปี และหุ้นโลกให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.2% ต่อปี
“โดยหลังวิกฤติเศรษฐกิจโลกครั้งล่าสุดผลตอบแทนของดัชนี REIT โลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากดูจุดต่ำสุดและจุดสูงสุดในช่วงที่ผ่านมาต่างกันอยู่ประมาณ 130% และปัจจุบันผลตอบแทนของ REIT โลก ก็ยังไม่ได้กลับไปสู่จุดสูงสุดในช่วงที่ผ่านมา แต่เป็นการปรับมาสู่ระดับภาวะปกติจากที่เคยตื่นตกใจกลัวมากในช่วงวิกฤติ แต่ก็ยังเป็นระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนวิกฤติอยู่ดี เพราะความมุ่งหมายหลักของนักลงทุนใน REIT คือ เงินปันผลที่สม่ำเสมอในระยะยาวอยู่แล้ว เมื่ออัตราจ่ายเงินปันผลของ REIT ยังดีอยู่ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทย”
@ REIT-สิงคโปร์กับ บลจ.วรรณ
ล่าสุด บลจ.วรรณได้เปิดขาย “กองทุนเปิด วรรณ พร็อพเพอร์ตี้ สิงคโปร์ (ONEPROP-SG)” โดยนำเงินที่ระดมทุนได้ไปลงทุนในหน่วยลงทุนของ “กองทุน Phillip Singapore Real Estate Income Fund” ซึ่งเป็นกองทุนหลัก ที่มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ซึ่งมี Phillip Capital Management (S) Ltd บริหารจัดการกองทุนให้ ทั้งนี้กองทุนหลักจะเลือกลงทุนในกอง REIT ที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ที่มีอยู่ประมาณ 25 กองทุน เพื่อลงทุนในแต่ละช่วงเวลาประมาณ 15 -18 กองทุน โดยเน้นหนักในสิงคโปร์เป็นหลักประมาณ 73% ที่เหลือจะเป็นฮ่องกง 9% และอินโดนีเซีย 6% โดยปัจจุบันเน้นหนักไปในอสังหาริมทรัพย์ในภาคอุตสาหกรรมประมาณ 43% ค้าปลีก 21% และออฟฟิศ 14%
โดยมนรัฐ บอกว่า จุดเด่นของกองทุนหลักคือโอกาสในการกระจายการลงทุนใน “ตลาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์” ซึ่งมีความผันผวนของรายได้น้อยกว่าฮ่องกงและสามารถติดตามการลงทุนได้ง่ายกว่าเป็นตลาดที่มีศักยภาพอีกตลาดหนึ่งโดยมีมูลค่าตลาดของกองทุนลักษณะนี้สูงเป็นอันดับต้นๆ ในเอเชีย ประมาณ 30 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ของไทยอยู่ประมาณ 3.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น ที่สำคัญพื้นที่ของสิงคโปร์มีจำกัดในขณะที่ดีมานด์มีอยู่มาก เพราะสิงคโปร์เป็นฐานการผลิตที่สำคัญของอุตสาหกรรมขนาดกลาง เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ยา และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยให้ธุรกิจโรงงานให้เช่าและโกดังเก็บสินค้ามีการเติบโตเป็นอย่างมาก
ในขณะที่สิงคโปร์ก็ยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคอาเซียนทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลกมาตั้งสำนักงานใหญ่เป็นจำนวนมาก และเป็นปัจจัยสำคัญให้ธุรกิจอาคารสำนักงานให้เช่าและธุรกิจเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์สำหรับชาวต่างชาติมีการเติบโตที่ดีและมีรายได้ที่มั่นคงอีกด้วย
“เช่นเดียวกับภาคการท่องเที่ยวเองนั้นสิงคโปร์มีการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่อย่างต่อเนื่อง เช่น Marina Bay Sand และสวนสนุก Universal Studios บนเกาะ Sentosa ซึ่งถือได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพในการดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ทำให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวเติบโต 20% ในปี 2010 และคาดว่าจะโต 15% ในปี 2011 และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องในอนาคต”
@ REIT-โลก กับ บลจ.กรุงไทย
ในขณะที่ บลจ.กรุงไทยกำลังเสนอขาย “กองทุนเปิดเคแทม เวิลด์ พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์ (KT-PROPERTY)” ระหว่างวันที่ 12 -21 ก.ย. 54 นี้ ซึ่งจะนำเงินที่ระดมทุนได้ไปลงทุนใน “กองทุน Henderson Global Property Equities Fund” ที่มีนโยบายสร้างผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นของบริษัท หรือREIT ที่จดทะเบียนหรือมีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการกำกับดูแล โดยมีรายได้หลักจากการเป็นเจ้าของ บริหารจัดการ และหรือพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั่วโลก ซึ่งมี Henderson Global Investors บริษัทจัดการลงทุนที่มีความชำนาญในเรื่องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของโลกมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารสูงถึง 5.56 แสนล้านบาท เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนให้
ปัจจุบันกองทุนหลักลงทุนใน REIT ทั่วโลกประมาณ 70% และ Non-REIT ประมาณ 30% โดยปัจจุบันลงทุนในสหรัฐ 40% เอเชียและออสเตรเลีย 40% และยุโรปประมาณ 20%ดังนั้นในส่วนเงินปันผลที่ได้จากกอง REIT ที่กองทุนไปลงทุนจะช่วยลดความผันผวนในด้านรายได้ให้กับกองทุนได้เป็นอย่างดี
โดยดารบุษป์ บอกว่าภาพเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปแตกต่างจากภาพของบริษัทจดทะเบียนค่อนข้างมากที่ยังคงมีกำไรเติบโตดี อัตราการเช่าในสหรัฐเองก็ยังดีโดยเฉพาะกลุ่มอพาร์ตเมนต์ ค้าปลีกอัตราเช่ายังอยู่ในเกณฑ์ดีเพราะไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรคนก็ยังต้องการที่อยู่อาศัย แต่ในส่วนของออฟฟิศสำนักงานในแถบชานเมืองอาจจะได้รับผลกระทบบ้างจากการที่มีการปลดคนงานออกในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ในส่วนของยุโรปเองนั้นจะเน้นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญใจกลางอังกฤษเป็นต้น เพราะนักท่องเที่ยวที่เข้ายุโรปไม่ได้ลดลงเลยส่วนใหญ่จะเป็นนักท่องเที่ยวจากจีน เรียกว่าอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำในยุโรปอยู่ในกองทุนหลักเกือบทั้งหมดโดยกองทุนหลักเน้นลงทุนในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และสวีเดน
ขณะที่แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์ในเอเชีย แปซิฟิก ได้แก่ จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ มีมาตรการลดความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย อัตราการขยายตัวของการเช่าสำนักงานชะลอตัวลง แต่ยอดขายสินค้าอุปโภคบริโภคและการท่องเที่ยวยังแข็งแกร่ง ส่วนตลาดที่อยู่อาศัยในออสเตรเลียมีความร้อนแรงเกินไป ในขณะที่อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่มีต้นทุนสูง ส่วนญี่ปุ่นอยู่ระหว่างการฟื้นตัวภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ปัจจัยบวกต่อกลุ่มที่อยู่อาศัย
“สำหรับพอร์ตการลงทุนของกองทุนหลักที่มีมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก คือ บริษัท Sun Hung Kai Properties ซึ่งถือว่าเป็นที่มีพื้นที่ให้เช่าประมาณ 45 ล้านตารางฟุตในฮ่องกง และยังเป็นเจ้าของตึกที่สูงที่สุดในฮ่องกง คือ ตึก ICC ส่วนอันดับที่ 2 คือ SIMON เป็น REITs ที่ใหญ่สุดในอเมริกา มีสินทรัพย์ที่ลงทุนมากถึง 393 แห่งอยู่ใน REIT และบริษัท Land Securities กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ลงทุนในสหราชอาณาจักร เป็นต้น เรียกว่าอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำเกือบทั่วโลกล้วนอยู่ในกองทุนหลักกองนี้”
@ แนะทำความเข้าใจก่อนลงทุน
“ไววิทย์ อุทัยเฉลิม” กรรมการผู้จัดการ บลจ.ซีมิโก้ แนะนำว่า การลงทุนใน REIT เป็นเครื่องมือในการเข้าไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ดังนั้นก่อนที่นักลงทุนจะเข้าไปลงทุนต้องเข้าใจในสิ่งที่ตัวเองจะไปลงทุนก่อนนี่สำคัญที่สุด แล้วการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สำคัญคือเรื่องของทำเลว่าดีหรือไม่ มีศักยภาพในการเติบโตของรายได้ มีอัตราการเช่าเป็นอย่างไรไม่ต่างกับการลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ในไทย ซึ่งนักลงทุนควรจะต้องสนใจในเรื่องคุณภาพของทรัพย์สินที่กองทุนเข้าไปลงทุนด้วย แต่เนื่องจาก REIT ในต่างประเทศอาจจะไกลตัวนักลงทุนออกไปอย่างไรก็คงต้องดูว่าผู้บริหารกองทุนคือใครด้วย เพราะเขาจะเป็นผู้ที่คัดเลือกอสังหาริมทรัพย์ที่จะลงทุนให้กับเรา นอกจากนี้โดยปกติแล้วผลตอบแทนจากการลงทุนใน REIT จะมาจาก 2 ส่วน คือ 1. “เงินปันผล” และ 2. “ส่วนเกินมูลค่าเงินลงทุน (Capital Gain)” ก็เป็นสิ่งที่นักลงทุนควรพิจารณาประกอบด้วย ที่สำคัญเมื่อเป็นการไปลงทุนในต่างประเทศ เรื่อง “ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน” ทาง บลจ.ผู้ออกกองทุนมีนโยบายในการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ทีเดียว นอกจากนี้ยังอาจจะต้องพิจารณาดูถึงความเสี่ยงในระดับประเทศหรือภูมิภาคที่กองทุนเข้าไปลงทุนประกอบด้วยเช่นกัน
“อัตราผลตอบแทนของกอง REIT ในต่างประเทศ กับกองอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ในประเทศไทยเอง ถือว่าใกล้เคียงกันและไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่ REIT ในต่างประเทศอาจจะมีโอกาสทำกำไรจากราคาซื้อขายที่สูงขึ้นมากกว่าในไทย เนื่องจากกองอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) ในไทยเองยังตั้งมาได้ไม่นาน ยังไม่เห็นกองที่มีการขายเอาส่วนเกินมูลค่าเงินลงทุนออกมาที แต่ในอนาคตก็อาจจะมีให้เห็นมากขึ้น”
ระหว่างที่รอเกณฑ์ REIT ของไทย นักลงทุนที่สนใจจะกระจายการลงทุนในไปในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศ ก็สามารถทำได้ผ่านกอง FIF- REIT ได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งการลงทุนทางเลือกที่น่าสนใจไม่แพ้กัน
from www.bangkokbiznews.com
My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
24 กันยายน 2554
21 กันยายน 2554
น่ารักอย่างมีหลักการ "เต้ย" จรินทร์พร จุนเกียรติ
วิธีบริหารการเงินส่วนตัว
เต้ยจะนำเงินที่หาได้ด้วยตัวเองเก็บออมไว้หลากหลายรูปแบบ เพื่อเป็นการกระจายการลงทุนไปในตัว โดยอันดับแรกจะเข้าไปลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรืออาร์เอ็มเอฟ และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือแอลทีเอฟเพราะ 2 กองทุนนี้จะนำไปลดหย่อนภาษีได้ ส่วนอีกอย่างที่หนึ่งที่เข้าไปลงทุนคือ
ทองคำที่มองดูแล้วเป็นสิ่งของที่เพิ่มกำไรให้เราอยู่ตลอดเวลา และไม่มีวันที่จะขาดทุน ขณะเดียวกันในอนาคตกำลังเล็งที่จะซื้อคอนโดมิเนียมเพื่อเก็บสะสมไว้เก็งกำไรหรือปล่อยให้เช่าต่อไป
แนวคิดเรื่องการออม
ประโยชน์ของการออมเงินมันมีอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว และจากประสบการณ์ที่เจอกับคนใกล้ตัวยิ่งเห็นได้ชัดเลยว่าเงินมันมีค่ามากสำหรับบางคนแม้จะเป็นเงินจำนวนที่ไม่มากก็ตาม เพราะเงินเก็บออม ให้ความหมายของภาวะฉุกเฉินได้ดีมากๆ หลายๆ คนอาจจะคิดว่าการออมเงินเป็นเรื่องยาก เพราะ
โดนล่อตาล่อใจไปกับวัตถุ หรือ เทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน มันจะมีคุณค่าถ้าเรานำมาใช้ให้ถูกทาง แต่ถ้าอยากได้ตามเพื่อนๆ ไปเรื่อยๆ ของสิ่งนั้นมันก็จะไร้ค่าไม่มีประโยชน์
ฝากถึงผู้อ่าน
ภาวะเศรษฐกิจในบ้านเรายังคงมีความไม่แน่นอน ดังนั้นการใช้จ่ายต้องให้รู้คุณค่า ไม่ตามกระแสแฟชั่นมากไป ซึ่งถ้าเรารู้จักเก็บเงินในวันนี้จะทำให้เรามีอนาคตที่ดีในวันข้างหน้า เพราะถ้าเราอยากจะทำธุรกิจ หรือเรียนต่อก็สามารถทำได้เลย หรือถ้าเกิดภาวะฉุกเฉินกับสิ่งที่เราไม่คาดคิดเงินก้อนนี้ที่เราเก็บสะสมก็จะช่วยเราได้แบบไม่เดือดร้อน
from efinancethai.com
17 กันยายน 2554
คำคมการลงทุน
“จงคิดไว้เสมอในตลาดหุ้น คุณไม่ได้เก่งเลย เพราะคนที่คิดว่าตัวเองเก่งมันหายไปจากตลาดแล้ว”
Anonymous
from efinancethai.com
Anonymous
from efinancethai.com
หุ้นจ่ายปันผลต่อเนื่อง 15 ปีย้อนหลัง (2539 - 2553)
ALUCON | APRINT | AYUD | BJC | BKI |
CHARAN | CM | CPL | CSR | FE |
GRAMMY | ICC | KWC | KYE | LTX |
MAKRO | MATI | MBK | METCO | MFC |
NTV | OHTL | P-FCB | PR | S&P |
SAUCE | SFP | SHANG | SPC | SST |
SUC | TBSP | TC | TF | THIP |
THRE | TIW | TNL | TSI | TTTM |
TUF | TVO | UPF | UPOIC | WACOAL |
from money and wealth
13 กันยายน 2554
เศรษฐกิจกับตลาดหุ้น โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
นักลงทุนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะวิตกกังวลกับเรื่องของภาวะเศรษฐกิจของประเทศมากเพราะเชื่อว่าเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากตลาดหุ้น เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ถ้าเศรษฐกิจแย่ ตลาดหุ้นก็พัง ถ้าเศรษฐกิจดี ตลาดหุ้นก็จะวิ่งระเบิด เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่มีการสัมมนาเรื่องหุ้น ก็มักจะมีคำถามว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร และเศรษฐกิจแบบนี้เราควรจะลงทุนในตลาดหุ้นไหม?
คำตอบของผมทุกครั้งก็คือ ผมไม่สนใจภาวะเศรษฐกิจ สิ่งที่ผมสนใจก็คือตัวหุ้นที่ผมจะลงทุน ถ้าพบหุ้นของบริษัทดีที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐาน ผมก็จะลงทุน เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร ผมไม่สนใจ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ ผมไม่สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจได้ถูกต้อง และถ้าพูดถึงดัชนีหุ้นแล้ว ผมยิ่งไม่รู้ใหญ่ว่าดัชนีจะไปทางไหน ผมรู้แต่ว่าถ้าหุ้นผมมีคุณภาพดี ราคาถูกกว่าพื้นฐาน หุ้นก็จะดูแลตัวของมันเอง
คำถามต่อมาที่อาจจะเกิดขึ้นในใจของหลายคนก็คือ ถ้าเรารู้ หรือคาดการณ์ได้ถูกต้องว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร จะไม่ดีกว่าหรือในการที่จะสามารถเข้าหรือออกจากตลาดในเวลาที่ถูกต้องแทนที่จะปล่อยให้หุ้นที่ถืออยู่มีราคาตกต่ำลงเพราะภาวะเศรษฐกิจแย่ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำ ซึ่งจะดึงให้หุ้นของเราขาดทุนไปด้วย?
คำตอบของผมก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง และถึงจะคาดการณ์ได้ถูกต้องจริง ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องรับประกันว่าเศรษฐกิจดีแล้วหุ้นต้องดี เศรษฐกิจแย่แล้วหุ้นต้องแย่ ไม่เคยมีการศึกษาไหนที่บอกว่าดัชนีหุ้นจะต้องตามภาวะเศรษฐกิจ ว่าที่จริงมีการศึกษาที่บอกว่าเศรษฐกิจดี ดัชนีหุ้นมักจะแย่ และถ้าภาวะเศรษฐกิจแย่ตลาดหุ้นมักจะกลับดี ซึ่งฟังดูก็น่าประหลาด เพราะเรามักจะได้ยินผู้นำประเทศและนักวิเคราะห์ชั้นนำพูดกันเสมอว่าตลาดหุ้นจะดีแน่เพราะเศรษฐกิจจะดี จนเราคิดว่านี่คือความจริงที่เที่ยงแท้โดยไม่คิดที่จะพิสูจน์หรือหาหลักฐานมายืนยัน
ถ้าคำพูดที่ว่าเศรษฐกิจดีแล้วหุ้นต้องดีเป็นจริง นักลงทุนคงจะรวยกันได้ง่ายมาก คุณเพียงแต่หาเงินไปลงทุนในประเทศจีนซึ่งเศรษฐกิจโตระเบิดปีละเกือบ 10% และทุกคนต่างก็มั่นใจว่าเศรษฐกิจของจีนจะโตต่อไปอีกนานจากที่ดีมาแล้วเป็นเวลานานนับสิบปี แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ตลาดหุ้นของจีนนั้นให้ผลตอบแทนที่แย่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในช่วงเวลานับ 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาก็คือเรื่องราคาของหุ้นในตลาดที่แพงกว่าพื้นฐานเพราะนักลงทุนต่างก็มองโลกในแง่ดีเข้าซื้อหุ้นลงทุนกันมาก และเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาแพงมาก ถึงภาวะเศรษฐกิจจะดี มันก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน
ตรงกันข้าม ในภาวะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ คนมองโลกในแง่ร้ายเทขายหุ้นจนหุ้นในตลาดมีราคาตกต่ำลงมาก ค่า PE ของตลาดเหลือเพียง 8-9 เท่า ซึ่งมีราคาถูกมาก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่การลงทุนก็อาจจะคุ้มค่ามากกว่า
ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจง่าย เราก็เพียงแต่มองตลาดหุ้นให้เหมือนกับหุ้นตัวหนึ่ง และดัชนีตลาดก็คือราคาของหุ้นตัวนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจดี เราอาจจะบอกว่าหุ้นตลาดกำลังเติบโตเร็วเป็นหุ้น Growth Stock แต่หุ้นโตเร็วนั้นก็มักจะเป็นหุ้นร้อนแรงราคาแพง คือมี PE สูงกว่าพื้นฐาน การซื้อหุ้นร้อนนั้นโอกาสขาดทุนก็มีสูง แต่หุ้นตลาดในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนั้นมักจะมีราคาต่ำกว่าปกติ เป็นหุ้น PE ต่ำ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นหุ้น Value ก็ไม่น่าจะผิด และถ้าเรากล้าที่จะลงทุน โอกาสที่จะทำกำไรกลับจะมีมากกว่า
ทั้งหมดนี้ผมก็หวังว่าจะทำให้นักลงทุนทั้งหลาย โดยเฉพาะ Value Investor เลิกวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจเวลาคิดจะลงทุน หรือถ้าจะคิดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจก็ควรจะมองว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ดูเลวร้ายนั้น จริง ๆ แล้วมันคือโอกาสที่จะทำกำไรมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่เชียร์ให้ซื้อหุ้นโดยการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก การลงทุนโดยเฉพาะของนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนระยะยาวนั้น ไม่มีประโยชน์ที่จะนำภาวะเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ เพียงปีสองปีมาพิจารณา
from thaivi.com
คำตอบของผมทุกครั้งก็คือ ผมไม่สนใจภาวะเศรษฐกิจ สิ่งที่ผมสนใจก็คือตัวหุ้นที่ผมจะลงทุน ถ้าพบหุ้นของบริษัทดีที่มีราคาถูกกว่ามูลค่าพื้นฐาน ผมก็จะลงทุน เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร ผมไม่สนใจ เหตุผลอย่างหนึ่งก็คือ ผมไม่สามารถคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจได้ถูกต้อง และถ้าพูดถึงดัชนีหุ้นแล้ว ผมยิ่งไม่รู้ใหญ่ว่าดัชนีจะไปทางไหน ผมรู้แต่ว่าถ้าหุ้นผมมีคุณภาพดี ราคาถูกกว่าพื้นฐาน หุ้นก็จะดูแลตัวของมันเอง
คำถามต่อมาที่อาจจะเกิดขึ้นในใจของหลายคนก็คือ ถ้าเรารู้ หรือคาดการณ์ได้ถูกต้องว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร จะไม่ดีกว่าหรือในการที่จะสามารถเข้าหรือออกจากตลาดในเวลาที่ถูกต้องแทนที่จะปล่อยให้หุ้นที่ถืออยู่มีราคาตกต่ำลงเพราะภาวะเศรษฐกิจแย่ ซึ่งทำให้ตลาดหุ้นตกต่ำ ซึ่งจะดึงให้หุ้นของเราขาดทุนไปด้วย?
คำตอบของผมก็คือ เป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจได้อย่างถูกต้อง และถึงจะคาดการณ์ได้ถูกต้องจริง ก็ไม่มีอะไรเป็นเครื่องรับประกันว่าเศรษฐกิจดีแล้วหุ้นต้องดี เศรษฐกิจแย่แล้วหุ้นต้องแย่ ไม่เคยมีการศึกษาไหนที่บอกว่าดัชนีหุ้นจะต้องตามภาวะเศรษฐกิจ ว่าที่จริงมีการศึกษาที่บอกว่าเศรษฐกิจดี ดัชนีหุ้นมักจะแย่ และถ้าภาวะเศรษฐกิจแย่ตลาดหุ้นมักจะกลับดี ซึ่งฟังดูก็น่าประหลาด เพราะเรามักจะได้ยินผู้นำประเทศและนักวิเคราะห์ชั้นนำพูดกันเสมอว่าตลาดหุ้นจะดีแน่เพราะเศรษฐกิจจะดี จนเราคิดว่านี่คือความจริงที่เที่ยงแท้โดยไม่คิดที่จะพิสูจน์หรือหาหลักฐานมายืนยัน
ถ้าคำพูดที่ว่าเศรษฐกิจดีแล้วหุ้นต้องดีเป็นจริง นักลงทุนคงจะรวยกันได้ง่ายมาก คุณเพียงแต่หาเงินไปลงทุนในประเทศจีนซึ่งเศรษฐกิจโตระเบิดปีละเกือบ 10% และทุกคนต่างก็มั่นใจว่าเศรษฐกิจของจีนจะโตต่อไปอีกนานจากที่ดีมาแล้วเป็นเวลานานนับสิบปี แต่ข้อเท็จจริงก็คือ ตลาดหุ้นของจีนนั้นให้ผลตอบแทนที่แย่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกในช่วงเวลานับ 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาก็คือเรื่องราคาของหุ้นในตลาดที่แพงกว่าพื้นฐานเพราะนักลงทุนต่างก็มองโลกในแง่ดีเข้าซื้อหุ้นลงทุนกันมาก และเมื่อหุ้นในตลาดมีราคาแพงมาก ถึงภาวะเศรษฐกิจจะดี มันก็ไม่คุ้มที่จะลงทุน
ตรงกันข้าม ในภาวะที่เศรษฐกิจย่ำแย่ คนมองโลกในแง่ร้ายเทขายหุ้นจนหุ้นในตลาดมีราคาตกต่ำลงมาก ค่า PE ของตลาดเหลือเพียง 8-9 เท่า ซึ่งมีราคาถูกมาก แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจจะไม่ดี แต่การลงทุนก็อาจจะคุ้มค่ามากกว่า
ถ้าจะเปรียบให้เข้าใจง่าย เราก็เพียงแต่มองตลาดหุ้นให้เหมือนกับหุ้นตัวหนึ่ง และดัชนีตลาดก็คือราคาของหุ้นตัวนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจดี เราอาจจะบอกว่าหุ้นตลาดกำลังเติบโตเร็วเป็นหุ้น Growth Stock แต่หุ้นโตเร็วนั้นก็มักจะเป็นหุ้นร้อนแรงราคาแพง คือมี PE สูงกว่าพื้นฐาน การซื้อหุ้นร้อนนั้นโอกาสขาดทุนก็มีสูง แต่หุ้นตลาดในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดีนั้นมักจะมีราคาต่ำกว่าปกติ เป็นหุ้น PE ต่ำ ซึ่งจะเรียกว่าเป็นหุ้น Value ก็ไม่น่าจะผิด และถ้าเรากล้าที่จะลงทุน โอกาสที่จะทำกำไรกลับจะมีมากกว่า
ทั้งหมดนี้ผมก็หวังว่าจะทำให้นักลงทุนทั้งหลาย โดยเฉพาะ Value Investor เลิกวิตกกังวลกับภาวะเศรษฐกิจเวลาคิดจะลงทุน หรือถ้าจะคิดเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจก็ควรจะมองว่า ภาวะเศรษฐกิจที่ดูเลวร้ายนั้น จริง ๆ แล้วมันคือโอกาสที่จะทำกำไรมากกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่เชียร์ให้ซื้อหุ้นโดยการพิจารณาภาวะเศรษฐกิจเป็นหลัก การลงทุนโดยเฉพาะของนักลงทุนรายย่อยที่ลงทุนระยะยาวนั้น ไม่มีประโยชน์ที่จะนำภาวะเศรษฐกิจในช่วงสั้น ๆ เพียงปีสองปีมาพิจารณา
from thaivi.com
12 กันยายน 2554
การทำใจในการลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ถ้ารักจะเป็น Value Investor แล้ว จะต้องรู้จัก “ทำใจ” ในหลายๆเรื่อง ใหม่ๆอาจจะรู้สึกกระวนกระวายใจและอาจทำไม่สำเร็จ แต่ถ้าฝึกไปเรื่อยๆก็จะทำได้เองและจะทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ และผลดีก็จะตามมา ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งบางอย่างที่ผมคิดว่านักลงทุนควรจะฝึก “ทำใจ”
เรื่องแรกก็คือ อย่าตื่นเต้นหรือดีใจเกินไปเวลาหุ้นวิ่งขึ้นไปรวดเร็วและรุนแรง เช่นเดียวกับที่อย่าตกใจขวัญเสียเวลาหุ้นตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ เพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะทำให้เราตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นบ่อย และที่สำคัญก็คือ ผิดเวลา ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นรับประกันว่าจะทำให้เรากระเป๋าฉีกแน่นอน
ใกล้เคียงกับข้อแรกก็คือ อย่าเฝ้าจอหุ้นหรือติดตามราคาหุ้นใกล้ชิดเกินไป เพราะจะทำให้เราตาลายและสับสน เช่นเดียวกัน เราไม่ควรฟังข่าว ทั้งที่เป็นข่าวจริงหรือข่าวลือในห้องค้าเกินความจำเป็น เพราะหูจะอื้อ และเมื่อเราหูอื้อและตาลายพร้อมกัน ก็มีโอกาสสูงที่เราจะทำอะไรโดยไม่ได้คิดได้ง่าย ซึ่งการลงทุนที่ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับนักมวยที่เมาหมัด เดินเข้าหาคู่ต่อสู้โดยไม่ได้ป้องกันตัว
เรื่องที่ควรทำใจข้อสามก็คือ การยอมรับว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ภาวะตลาดหุ้นได้ และไม่มีใครสามารถทำได้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นการลงทุนโดยอิงกับการคาดการณ์ภาวะตลาดจึงไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ การทำใจในเรื่องนี้บางทีก็เป็นเรื่องยาก เพราะเรามักจะคิด “เข้าข้างตัวเอง” ว่าเรารู้และคาดได้ถูกมากกว่าผิด เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าเวลาคาดถูก เรามักจะภูมิใจ ดีใจ และจดจำ ส่วนเวลาที่คาดผิด เรามักจะเสียใจและพยายามลืม ซึ่งทำให้สมองเราเก็บสถิติที่ผิดพลาดนึกว่าเราแน่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่
เรื่องที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจและติดตามกันมากในช่วง นี้ก็คือ การซื้อหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศซึ่งซื้อติดต่อกันมาหลายเดือนนับได้ เกือบแสนล้านบาทเข้าไปแล้ว (2548) แต่ผมกลับคิดว่า Value Investor ควรจะทำใจไม่ให้สนใจกับเรื่องนี้ เพราะการซื้อหุ้นสุทธิของ “ฝรั่ง” นั้น ถึงแม้ว่ามักจะทำให้ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้น แต่ ปัญหาก็คือ เราไม่รู้ว่าวันไหนฝรั่งจะซื้อหรือขายมากน้อยแค่ไหน เรารู้ต่อเมื่อเขาซื้อหรือขายเรียบร้อยแล้ว เรามักจะซื้อทีหลังและขายทีหลัง
ทุกครั้งที่สถาบันลงทุนชื่อดังจากต่างประเทศให้สัมภาษณ์ว่าเขา สนใจตลาดหุ้นไทย และจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนนั้น เชื่อผมเถอะครับว่าเขาซื้อไปเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราลงทุนโดยดูการซื้อขายของเขา เราน่าจะเป็น “เหยื่อ” มากกว่าที่จะเป็นคนตกปลา
เรื่องที่ห้าสำหรับ Value Investor ที่ควรจะทำใจ ก็คือ การ ลงทุนหุ้นนั้นจะให้ผลตอบแทนค่อนข้างดีในระยะยาว 4-5 ปีขึ้นไป แต่ในระยะสั้นแล้วอาจจะเลวร้ายหรือดีเยี่ยมก็ได้ แต่ไม่ว่าในกรณีใด การลงทุนในหุ้นไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้คนรวยในชั่วข้ามคืน ถ้าอยากจะรวยด้วยหุ้นแบบปลอดภัย ผมคิดว่าต้องศึกษาการลงทุนมาเป็นอย่างดี และต้องลงทุนต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบๆปีขึ้นไป การคิดหวังรวยทางลัดในตลาดหุ้นนั้นผมคิดว่าร้อยละ 99 ขาดทุนและเสียหายหนัก
นอกจากทำใจว่า การลงทุนหุ้นไม่สามารถจะรวยได้เร็วเหมือนการเก็งกำไรหรือการพนันอย่างอื่น แล้ว ควรทำใจว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีของเราน่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 10-15% โดยไม่ต้องสนใจว่าคนเล่นหุ้นหรือนักลงทุนคนอื่นจะได้กำไรมหาศาลแค่ไหน โดยเฉพาะในช่วงสั้นๆไม่เกินปีหรือสองปี เพราะ การพยายามไปเปรียบเทียบกับคนที่กำลังประสบความสำเร็จในช่วงสั้นๆ จะทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าวิธีการของเราผิดและวิธีการของเขาถูก ซึ่งอาจจะไม่ใช่
ถ้าจะให้สรุปสำหรับข้อห้าและหกก็คือ นักลงทุนควรจะทำใจให้รู้จักกับความพอใจและเพียงพอในการลงทุน ไม่โลภหวังรวยโดยการเสี่ยงหรือเก็งกำไรในสิ่งที่ไม่มีความแน่นอนพอ
อย่างไรก็ตาม การทำใจในเรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าผลตอบแทนของเราไม่มีทางที่จะดีเลิศได้เลย เพราะ ในความเป็นจริงนั้น มหัศจรรย์สามารถเกิดขึ้นได้กับพอร์ตการลงทุนที่เจ้าของยึดหลักความพอเพียง เท่าๆกับพอร์ตที่เน้นการลงทุนแบบหวังรวยเร็วเหมือนกัน
การทำใจที่สำคัญที่สุดอีกข้อหนึ่งสำหรับ Value Investor ก็คือ การ เชื่อว่าราคาหุ้นที่เราลงทุนไว้นั้นในระยะยาวจะขึ้นหรือลงตามกำไรของกิจการ ผลตอบแทนของการลงทุนของเราจะดีหรือเลวก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัท ที่เราลงทุน ถ้าเราทำใจในเรื่องนี้ได้ เราก็จะไม่กระวนกระวายหรือเสียใจเวลาที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นไปแรง ในขณะที่พอร์ตหุ้นของเราไม่ได้ปรับตัวขึ้นตาม เช่นเดียวกัน เราก็จะไม่เห็นเหตุผลหรือรู้สึกว่าจะต้องปรับพอร์ตตามภาวะตลาด
ต่อเนื่องจากเรื่องของกำไรกับราคาหุ้นก็คือ เราควรทำใจให้ได้ว่า การ ลงทุนซื้อหุ้นในตลาดนั้นก็คือการลงทุนในธุรกิจ เราซื้อหุ้นก็คือการซื้อส่วนหนึ่งของธุรกิจ เป็นเรื่องยากที่ธุรกิจจะมีค่ามากขึ้นมากมายในเวลาไม่กี่วัน เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องยากที่ธุรกิจจะมีค่าตกต่ำลงมากมายในชั่วข้ามคืน ดังนั้น การซื้อหรือขายธุรกิจโดยอิงกับความผันผวนของราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล
การทำใจเรื่องที่เก้าก็คือ การ ทำใจไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นที่ดูเหมือนจะสามารถทำกำไรได้ง่ายในระยะ เวลาอันสั้น แต่หุ้นนั้นพิจารณาจากพื้นฐานแล้วไม่มีความคุ้มค่าที่จะซื้อเลย นี่ก็คือหุ้นที่อาจจะกำลังมี “ข่าวดี” หรือกำลังจะมี “คนเล่น” หรืออะไรก็แล้วแต่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อดใจได้ยาก แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าที่จะทำ บางครั้งเราอาจจะได้กำไรมากกว่าขาดทุน แต่มันจะไม่เปลี่ยนแปลงขนาดของพอร์ตอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ เราจะ “หลงทาง” และหลุดจากเป้าหมายหลักของการสร้างพอร์ตในระยะยาว
สุดท้ายแต่ไม่ใช่เรื่องสุดท้ายที่จะต้องทำใจก็คือ เมื่อ เราประสบความสำเร็จในการลงทุนมา 2-3 ปี ก็อย่าเพิ่งเชื่อว่าเราจะชนะต่อไปเรื่อยๆด้วยวิธีการลงทุนที่ทำอยู่ เรามีโอกาสที่จะประสบกับความเลวร้ายเสมอและวันหนึ่งเราก็จะเจอ อย่าเชื่อว่าวิธีการที่ทำอยู่จะถูกต้อง จนกว่าคุณจะใช้มาไม่น้อยกว่า 5-6 ปีขึ้นไป และมันสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจมาอย่างสม่ำเสมอ
from pantip.com
เรื่องแรกก็คือ อย่าตื่นเต้นหรือดีใจเกินไปเวลาหุ้นวิ่งขึ้นไปรวดเร็วและรุนแรง เช่นเดียวกับที่อย่าตกใจขวัญเสียเวลาหุ้นตกหนักในช่วงเวลาสั้นๆ เพราะอารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะทำให้เราตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้นบ่อย และที่สำคัญก็คือ ผิดเวลา ซึ่งทั้งสองอย่างนั้นรับประกันว่าจะทำให้เรากระเป๋าฉีกแน่นอน
ใกล้เคียงกับข้อแรกก็คือ อย่าเฝ้าจอหุ้นหรือติดตามราคาหุ้นใกล้ชิดเกินไป เพราะจะทำให้เราตาลายและสับสน เช่นเดียวกัน เราไม่ควรฟังข่าว ทั้งที่เป็นข่าวจริงหรือข่าวลือในห้องค้าเกินความจำเป็น เพราะหูจะอื้อ และเมื่อเราหูอื้อและตาลายพร้อมกัน ก็มีโอกาสสูงที่เราจะทำอะไรโดยไม่ได้คิดได้ง่าย ซึ่งการลงทุนที่ไม่ได้คิดอย่างรอบคอบนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับนักมวยที่เมาหมัด เดินเข้าหาคู่ต่อสู้โดยไม่ได้ป้องกันตัว
เรื่องที่ควรทำใจข้อสามก็คือ การยอมรับว่าเราไม่สามารถคาดการณ์ภาวะตลาดหุ้นได้ และไม่มีใครสามารถทำได้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นการลงทุนโดยอิงกับการคาดการณ์ภาวะตลาดจึงไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ การทำใจในเรื่องนี้บางทีก็เป็นเรื่องยาก เพราะเรามักจะคิด “เข้าข้างตัวเอง” ว่าเรารู้และคาดได้ถูกมากกว่าผิด เหตุผลอาจจะเป็นเพราะว่าเวลาคาดถูก เรามักจะภูมิใจ ดีใจ และจดจำ ส่วนเวลาที่คาดผิด เรามักจะเสียใจและพยายามลืม ซึ่งทำให้สมองเราเก็บสถิติที่ผิดพลาดนึกว่าเราแน่ ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วไม่ใช่
เรื่องที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจและติดตามกันมากในช่วง นี้ก็คือ การซื้อหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศซึ่งซื้อติดต่อกันมาหลายเดือนนับได้ เกือบแสนล้านบาทเข้าไปแล้ว (2548) แต่ผมกลับคิดว่า Value Investor ควรจะทำใจไม่ให้สนใจกับเรื่องนี้ เพราะการซื้อหุ้นสุทธิของ “ฝรั่ง” นั้น ถึงแม้ว่ามักจะทำให้ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้น แต่ ปัญหาก็คือ เราไม่รู้ว่าวันไหนฝรั่งจะซื้อหรือขายมากน้อยแค่ไหน เรารู้ต่อเมื่อเขาซื้อหรือขายเรียบร้อยแล้ว เรามักจะซื้อทีหลังและขายทีหลัง
ทุกครั้งที่สถาบันลงทุนชื่อดังจากต่างประเทศให้สัมภาษณ์ว่าเขา สนใจตลาดหุ้นไทย และจะเพิ่มน้ำหนักการลงทุนนั้น เชื่อผมเถอะครับว่าเขาซื้อไปเรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเราลงทุนโดยดูการซื้อขายของเขา เราน่าจะเป็น “เหยื่อ” มากกว่าที่จะเป็นคนตกปลา
เรื่องที่ห้าสำหรับ Value Investor ที่ควรจะทำใจ ก็คือ การ ลงทุนหุ้นนั้นจะให้ผลตอบแทนค่อนข้างดีในระยะยาว 4-5 ปีขึ้นไป แต่ในระยะสั้นแล้วอาจจะเลวร้ายหรือดีเยี่ยมก็ได้ แต่ไม่ว่าในกรณีใด การลงทุนในหุ้นไม่ใช่สิ่งที่จะทำให้คนรวยในชั่วข้ามคืน ถ้าอยากจะรวยด้วยหุ้นแบบปลอดภัย ผมคิดว่าต้องศึกษาการลงทุนมาเป็นอย่างดี และต้องลงทุนต่อเนื่องยาวนานเป็นสิบๆปีขึ้นไป การคิดหวังรวยทางลัดในตลาดหุ้นนั้นผมคิดว่าร้อยละ 99 ขาดทุนและเสียหายหนัก
นอกจากทำใจว่า การลงทุนหุ้นไม่สามารถจะรวยได้เร็วเหมือนการเก็งกำไรหรือการพนันอย่างอื่น แล้ว ควรทำใจว่าผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีของเราน่าจะอยู่ในระดับไม่เกิน 10-15% โดยไม่ต้องสนใจว่าคนเล่นหุ้นหรือนักลงทุนคนอื่นจะได้กำไรมหาศาลแค่ไหน โดยเฉพาะในช่วงสั้นๆไม่เกินปีหรือสองปี เพราะ การพยายามไปเปรียบเทียบกับคนที่กำลังประสบความสำเร็จในช่วงสั้นๆ จะทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่าวิธีการของเราผิดและวิธีการของเขาถูก ซึ่งอาจจะไม่ใช่
ถ้าจะให้สรุปสำหรับข้อห้าและหกก็คือ นักลงทุนควรจะทำใจให้รู้จักกับความพอใจและเพียงพอในการลงทุน ไม่โลภหวังรวยโดยการเสี่ยงหรือเก็งกำไรในสิ่งที่ไม่มีความแน่นอนพอ
อย่างไรก็ตาม การทำใจในเรื่องนี้ไม่ได้แปลว่าผลตอบแทนของเราไม่มีทางที่จะดีเลิศได้เลย เพราะ ในความเป็นจริงนั้น มหัศจรรย์สามารถเกิดขึ้นได้กับพอร์ตการลงทุนที่เจ้าของยึดหลักความพอเพียง เท่าๆกับพอร์ตที่เน้นการลงทุนแบบหวังรวยเร็วเหมือนกัน
การทำใจที่สำคัญที่สุดอีกข้อหนึ่งสำหรับ Value Investor ก็คือ การ เชื่อว่าราคาหุ้นที่เราลงทุนไว้นั้นในระยะยาวจะขึ้นหรือลงตามกำไรของกิจการ ผลตอบแทนของการลงทุนของเราจะดีหรือเลวก็ขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัท ที่เราลงทุน ถ้าเราทำใจในเรื่องนี้ได้ เราก็จะไม่กระวนกระวายหรือเสียใจเวลาที่ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นไปแรง ในขณะที่พอร์ตหุ้นของเราไม่ได้ปรับตัวขึ้นตาม เช่นเดียวกัน เราก็จะไม่เห็นเหตุผลหรือรู้สึกว่าจะต้องปรับพอร์ตตามภาวะตลาด
ต่อเนื่องจากเรื่องของกำไรกับราคาหุ้นก็คือ เราควรทำใจให้ได้ว่า การ ลงทุนซื้อหุ้นในตลาดนั้นก็คือการลงทุนในธุรกิจ เราซื้อหุ้นก็คือการซื้อส่วนหนึ่งของธุรกิจ เป็นเรื่องยากที่ธุรกิจจะมีค่ามากขึ้นมากมายในเวลาไม่กี่วัน เช่นเดียวกัน เป็นเรื่องยากที่ธุรกิจจะมีค่าตกต่ำลงมากมายในชั่วข้ามคืน ดังนั้น การซื้อหรือขายธุรกิจโดยอิงกับความผันผวนของราคาหุ้นในช่วงสั้นๆ จึงเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผล
การทำใจเรื่องที่เก้าก็คือ การ ทำใจไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับหุ้นที่ดูเหมือนจะสามารถทำกำไรได้ง่ายในระยะ เวลาอันสั้น แต่หุ้นนั้นพิจารณาจากพื้นฐานแล้วไม่มีความคุ้มค่าที่จะซื้อเลย นี่ก็คือหุ้นที่อาจจะกำลังมี “ข่าวดี” หรือกำลังจะมี “คนเล่น” หรืออะไรก็แล้วแต่ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อดใจได้ยาก แต่จากประสบการณ์ส่วนตัวแล้ว ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่าที่จะทำ บางครั้งเราอาจจะได้กำไรมากกว่าขาดทุน แต่มันจะไม่เปลี่ยนแปลงขนาดของพอร์ตอย่างมีนัยสำคัญ แต่ถ้าเราทำบ่อยๆ เราจะ “หลงทาง” และหลุดจากเป้าหมายหลักของการสร้างพอร์ตในระยะยาว
สุดท้ายแต่ไม่ใช่เรื่องสุดท้ายที่จะต้องทำใจก็คือ เมื่อ เราประสบความสำเร็จในการลงทุนมา 2-3 ปี ก็อย่าเพิ่งเชื่อว่าเราจะชนะต่อไปเรื่อยๆด้วยวิธีการลงทุนที่ทำอยู่ เรามีโอกาสที่จะประสบกับความเลวร้ายเสมอและวันหนึ่งเราก็จะเจอ อย่าเชื่อว่าวิธีการที่ทำอยู่จะถูกต้อง จนกว่าคุณจะใช้มาไม่น้อยกว่า 5-6 ปีขึ้นไป และมันสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจมาอย่างสม่ำเสมอ
from pantip.com
04 กันยายน 2554
The 4 Basic Elements Of Stock Value
The ancient Greeks proposed earth, fire, water and air as the main building blocks of all matter, and classified all things as a mixture of these elements. Investing has a similar set of four basic elements that investors use to break down a stock's value. In this article, we will look at the four ratios and what they can tell you about a stock.
Earth: The Price-to-Book Ratio (P/B)
Made for glass-half-empty people, the price-to-book (P/B) ratio represents the value of the company if it is torn up and sold today. This is useful to know because many companies in mature industries falter in terms of growth but can still be a good value based on their assets. The book value usually includes equipment, buildings, land, and anything else that can be sold, including stock holdings and bonds. With purely financial firms, the book value can fluctuate with the market as these stocks tend to have a portfolio of assets that goes up and down in value. Industrial companies tend to have a book value based more in physical assets, which depreciate year after year according to accounting rules. In either case, a low P/B ratio can protect you - but only if it's accurate. This means an investor has to look deeper into the actual assets making up the ratio. (For more on this, see Digging Into Book Value.)
Fire: Price-to-Earnings Ratio (P/E)
The price to earnings (P/E) ratio is possibly the most scrutinized of all the ratios. If sudden increases in a stock's price are the sizzle, then the P/E ratio is the steak. A stock can go up in value without significant earnings increases - this happened most recently in the tech bubble - but the P/E ratio is what decides if it can stay up. Without earnings to back up the price, a stock will eventually fall back down.
The reason for this is simple: a P/E ratio can be thought of as how long a stock will take to pay back your investment if there is no change in the business. A stock trading at $20 per share with earning of $2 per share has a P/E ratio of 10, which is sometimes seen as meaning that you'll make your money back in 10 years if nothing changes. The reason stocks tend to have high P/E ratios is that investors try to predict which stocks will enjoy progressively larger earnings. An investor may buy a stock with a P/E ratio of 30 if he or she thinks it will double its earnings every year (shortening the payoff period significantly). If this fails to happen, then the stock will fall back down to a more reasonable P/E ratio. If the stock does manage to double earnings, then it will likely continue to trade at a high P/E ratio. You should only compare P/E ratios between companies in similar industries and markets. (If these numbers have you in the dark, these easy calculations should help light the way, see How To Find P/E And PEG Ratios.)
Air: The PEG Ratio
Because the P/E ratio isn't enough in and of itself, many investors use the price to earnings growth (PEG) ratio. Instead of merely looking at the price and earnings, the PEG ratio incorporates the historical growth rate of the company's earnings. This ratio also tells you how your stock stacks up against another stock. The PEG ratio is calculated by taking the P/E ratio of a company and dividing it by the year-over-year growth rate of its earnings. The lower the value of your PEG ratio, the better the deal you're getting for the stock's future estimated earnings.
By comparing two stocks using the PEG, you can see how much you're paying for growth in each case. A PEG of 1 means you're breaking even if growth continues as it has in the past. A PEG of 2 means you're paying twice as much for projected growth when compared to a stock with a PEG of 1. This is speculative because there is no guarantee that growth will continue as it has in the past. The P/E ratio is a snap shot of where a company is and the PEG ratio is a graph plotting where it has been. Armed with this information, an investor has to decide whether it is likely to continue in that direction. (Has the P/E ratio lost its luster? The PEG ratio has many advantages over its well-known counterpart, check out Move Over P/E, Make Way For The PEG.)
Water: Dividend Yield
It's always nice to have a back-up when a stock's growth falters. This is why dividend-paying stocks are attractive to many investors - even when prices drop you get a paycheck. The dividend yield shows how much of a payday you're getting for your money. By dividing the stock's annual dividend by the stock's price, you get a percentage. You can think of that percentage as the interest on your money, with the additional chance at growth through the appreciation of the stock.
Although simple on paper, there are some things to watch for with the dividend yield. Inconsistent dividends or suspended payments in the past mean that the dividend yield can't be counted on. Like the water element, dividends can ebb and flow, so knowing which way the tide is going - like whether dividend payments have increased year over year - is essential to making the decision to buy. Dividends also vary by industry, with utilities and some banks paying a lot whereas tech firms invest almost all their earnings back into the company to fuel growth. (For more read Investment Valuation Ratios: Dividend Yield.)
No Element Stands Alone
P/E, P/B, PEG, and dividend yields are too narrowly focused to stand alone as a single measure of a stock. By combining these methods of valuation, you can get a better view of a stock's worth. Any one of these can be influenced by creative accounting - as can more complex ratios like cash flow. As you add more tools to your valuation methods though, discrepancies get easier to spot. From the Greeks' four basic elements, we now have more than 100, some of which exist so briefly that we wonder if they count, and none of them are named water, earth, air, or fire. In investing, however, these four main ratios may be overshadowed by thousands of customized metrics, but they will always be useful stepping stones for finding out whether a stock's worth buying. (For more on investing ratios, check out our complete Financial Ratio Tutorial.)
Earth: The Price-to-Book Ratio (P/B)
Made for glass-half-empty people, the price-to-book (P/B) ratio represents the value of the company if it is torn up and sold today. This is useful to know because many companies in mature industries falter in terms of growth but can still be a good value based on their assets. The book value usually includes equipment, buildings, land, and anything else that can be sold, including stock holdings and bonds. With purely financial firms, the book value can fluctuate with the market as these stocks tend to have a portfolio of assets that goes up and down in value. Industrial companies tend to have a book value based more in physical assets, which depreciate year after year according to accounting rules. In either case, a low P/B ratio can protect you - but only if it's accurate. This means an investor has to look deeper into the actual assets making up the ratio. (For more on this, see Digging Into Book Value.)
Fire: Price-to-Earnings Ratio (P/E)
The price to earnings (P/E) ratio is possibly the most scrutinized of all the ratios. If sudden increases in a stock's price are the sizzle, then the P/E ratio is the steak. A stock can go up in value without significant earnings increases - this happened most recently in the tech bubble - but the P/E ratio is what decides if it can stay up. Without earnings to back up the price, a stock will eventually fall back down.
The reason for this is simple: a P/E ratio can be thought of as how long a stock will take to pay back your investment if there is no change in the business. A stock trading at $20 per share with earning of $2 per share has a P/E ratio of 10, which is sometimes seen as meaning that you'll make your money back in 10 years if nothing changes. The reason stocks tend to have high P/E ratios is that investors try to predict which stocks will enjoy progressively larger earnings. An investor may buy a stock with a P/E ratio of 30 if he or she thinks it will double its earnings every year (shortening the payoff period significantly). If this fails to happen, then the stock will fall back down to a more reasonable P/E ratio. If the stock does manage to double earnings, then it will likely continue to trade at a high P/E ratio. You should only compare P/E ratios between companies in similar industries and markets. (If these numbers have you in the dark, these easy calculations should help light the way, see How To Find P/E And PEG Ratios.)
Air: The PEG Ratio
Because the P/E ratio isn't enough in and of itself, many investors use the price to earnings growth (PEG) ratio. Instead of merely looking at the price and earnings, the PEG ratio incorporates the historical growth rate of the company's earnings. This ratio also tells you how your stock stacks up against another stock. The PEG ratio is calculated by taking the P/E ratio of a company and dividing it by the year-over-year growth rate of its earnings. The lower the value of your PEG ratio, the better the deal you're getting for the stock's future estimated earnings.
By comparing two stocks using the PEG, you can see how much you're paying for growth in each case. A PEG of 1 means you're breaking even if growth continues as it has in the past. A PEG of 2 means you're paying twice as much for projected growth when compared to a stock with a PEG of 1. This is speculative because there is no guarantee that growth will continue as it has in the past. The P/E ratio is a snap shot of where a company is and the PEG ratio is a graph plotting where it has been. Armed with this information, an investor has to decide whether it is likely to continue in that direction. (Has the P/E ratio lost its luster? The PEG ratio has many advantages over its well-known counterpart, check out Move Over P/E, Make Way For The PEG.)
Water: Dividend Yield
It's always nice to have a back-up when a stock's growth falters. This is why dividend-paying stocks are attractive to many investors - even when prices drop you get a paycheck. The dividend yield shows how much of a payday you're getting for your money. By dividing the stock's annual dividend by the stock's price, you get a percentage. You can think of that percentage as the interest on your money, with the additional chance at growth through the appreciation of the stock.
Although simple on paper, there are some things to watch for with the dividend yield. Inconsistent dividends or suspended payments in the past mean that the dividend yield can't be counted on. Like the water element, dividends can ebb and flow, so knowing which way the tide is going - like whether dividend payments have increased year over year - is essential to making the decision to buy. Dividends also vary by industry, with utilities and some banks paying a lot whereas tech firms invest almost all their earnings back into the company to fuel growth. (For more read Investment Valuation Ratios: Dividend Yield.)
No Element Stands Alone
P/E, P/B, PEG, and dividend yields are too narrowly focused to stand alone as a single measure of a stock. By combining these methods of valuation, you can get a better view of a stock's worth. Any one of these can be influenced by creative accounting - as can more complex ratios like cash flow. As you add more tools to your valuation methods though, discrepancies get easier to spot. From the Greeks' four basic elements, we now have more than 100, some of which exist so briefly that we wonder if they count, and none of them are named water, earth, air, or fire. In investing, however, these four main ratios may be overshadowed by thousands of customized metrics, but they will always be useful stepping stones for finding out whether a stock's worth buying. (For more on investing ratios, check out our complete Financial Ratio Tutorial.)
by Andrew Beattie who is a managing editor and contributor at Investopedia.com. He operates the Wandering Wordsmith blog, and can be reached there.
from investopedia.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความยอดนิยม (ล่าสุด)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
To replace each new line with enter ( \n) in Visual Studio Code ( vscode ) do the steps from images below and click "Replace All&qu...
-
https://www.youtube.com/watch?v=728hIrzcXqw ที่มา https://www.facebook.com/ZipmexThailand https://www.youtube.com/@Zipmex/videos LINE กลุ...
-
แจกฟรี โปรแกรมคำนวณเงินเก็บเพื่อวางแผนเกษียณ วิธีใช้งานไม่ยาก ช่องสีเหลือง แถวแรก "เงินเก็บต่อเดือน" ให้กรอกเงินเก็บต่อเดือนที่เรา...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link ประกันออมทรัพย์ ประกันออมทรัพย์นั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจาก 1. สามารถลดหย่อน...
บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
รวมโปรโมชั่นซื้อกองทุนรวม SSF RMF 2566 ของแต่ละ บลจ (ข้อมูลล่าสุด กันยายน 2566) บลจ. บัวหลวง ลงทุนกองมทุน RMF / SSF ปี 66 รับฟรี Starbuc...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
https://www.youtube.com/watch?v=728hIrzcXqw ที่มา https://www.facebook.com/ZipmexThailand https://www.youtube.com/@Zipmex/videos LINE กลุ...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
แจกฟรี โปรแกรมคำนวณเงินเก็บเพื่อวางแผนเกษียณ วิธีใช้งานไม่ยาก ช่องสีเหลือง แถวแรก "เงินเก็บต่อเดือน" ให้กรอกเงินเก็บต่อเดือนที่เรา...
-
โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) “To invent, you need a good imagination and a pile of junk.” ในการประดิษฐ์คิดค้น คุณจะ...
-
ปีชวด (ปีหนู): http://goo.gl/fA8bYu ปีฉลู (ปีวัว): http://goo.gl/C6RCgS ปีขาล (ปีเสือ): http://goo.gl/7Yy91f ปีเถาะ (ปีกระต่าย): http://g...
-
*คนที่อายุครบ 55 ปี ต้องไปแจ้งรับสิทธิ์ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ภายใน 1 ปี ไม่งั้นถือว่าสละสิทธิ์ ที่มา SSO https://www.kwilife.com...