กองทุนSPDR Gold Trust เป็นกองทุนเปิดดัชนีที่จดทะเบียนและซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (Exchange Traded Fund : ETF)ที่ลงทุนในทองคำแท่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดการให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำ บริหารกองทุนโดยWorld Gold Trust Services, LLC ซึ่งถือหุ้นโดย World Gold Council (WGC) ที่เป็นองค์กรร่วมระหว่างบริษัทผู้ผลิตทองคำของโลก
กองทุนSPDR Gold Trust มีนโยบายลงทุนในทองคำแท่งโดยตรงโดยไม่มีการใช้ตราสารอนุพันธ์หรือมีการให้ยืมทองคำแท่งกับผู้ลงทุนอื่น นอกจากนี้กองทุนยังมีสภาพคล่องสูง ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ มีความโปร่งใส และราคาที่ซื้อขายสะท้อนภาวะตลาดที่แท้จริง
กองทุนเน้นการสร้างผลตอบแทนของกองทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำแท่งในตลาดลอนดอน คือ London Gold PM Fix Price ในสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ แต่สะดวกสบายมากกว่าเพราะผู้ลงทุนไม่ต้องเก็บรักษาทองคำแท่งด้วยตนเอง เนื่องจากกองทุน SPDR Gold Trust มีผู้เก็บรักษาทองคำแท่งให้ ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงเซี่ยงไฮ้ สหรัฐอเมริกา (HSBC Bank USA, N.A.)
กองทุน SPDR Gold Trust จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ 4 แห่ง ได้แก่ นิวยอร์ก สิงคโปร์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น
ประโยชน์ของSPDR Gold Trust
• ช่องทางลงทุนในทองคำที่สะดวกในการสร้างผลตอบแทนการลงทุนให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำในตลาดโลก
• ค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนเองในทองคำโดยตรง
• ทองคำแท่งมีการซื้อขายตลอด24 ชั่วโมง ทำให้มีสภาพคล่องในการซื้อขายสูง ราคาที่ซื้อขายในตลาดมีความโปร่งใส และสะท้อนภาวะตลาดที่แท้จริง
• SPDR Gold Trust มีสถานที่เก็บทองคำทั้งหมดภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยในห้องเก็บทองคำที่มีความแข็งแรงมั่นคง (Strong room)
ที่มา: Bloomberg ณ มิถุนายน 2552
ประเภทกองทุน กองทุนอีทีเอฟสกุลดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจดทะเบียนในประเทศสหรัฐฯ
วัตถุประสงค์ เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีในรูปการเติบโตของสินทรัพย์สุทธิในระยะยาว
นโยบายการลงทุน ลงทุนในทองคำแท่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุนหลังหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการจัดการให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของราคาทองคำ
สัญลักษณ์ GLD
ตลาดซื้อขาย New YorkStock Exchange, Tokyo Stock Exchange, Singapore Stock Exchange, Hong Kong Stock Exchange
พอร์ตการลงทุน 100% Gold Bullion ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 0.40%*
ผู้จัดการกองทุน World Gold Trust Services LLC
ผู้ดูแลผลประโยชน์ The Bank of New York Mellon
ผู้รับฝากทรัพย์สิน HSBC Bank (USA)
ผู้สอบบัญชี Deloitte & Touch LLP
ตัวแทนขาย State Street Global Markets, LLC ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ State Street Global Advisors
การซื้อ-ขาย ซื้อขายได้ทุกวันทำการ
*กองทุนกำหนดค่าธรรมเนียมที่0.40% ต่อปี เป็นเวลา 7 ปี นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (12 พ.ย. 47) ซึ่งอาจปรับมากขึ้นกว่า 0.40% ต่อปี หากค่าใช้จ่ายกองทุนปรับสูง
ขึ้นเกินกว่า0.70% ต่อปี เนื่องจากอัตราการลดค่าธรรมเนียมสูงสุดกำหนดไว้ที่ 0.30% ต่อปี
from
http://www.taradthong.com/content/รู้จักกับ-spdr-gold-trust-กองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก
My personal blog about health, hobby, stock & investment, information technology, self improvement, tax and travel.
25 กันยายน 2553
เปรียบเทียบกองทุนทองคำ K-GOLD, AYFGOLD, TMBGOLD
งานสัปดาห์ประกันภัย ประจำปี 2553
งานสัปดาห์ประกันภัย ประจำปี 2553
24-26 ก.ย. 53 อาคาร 9 เมืองทองธานี
งานแสดงนิทรรศการและสินค้าธุรกิจประกันภัย และความรู้เรื่องประกันภัย ทำกรมธรรม์ประกันภัยในราคาพิเศษ (เฉพาะในงาน)
เวลา 10.00-21.00 น.
from http://www.impact.co.th/th/calendar.php?event=153
24-26 ก.ย. 53 อาคาร 9 เมืองทองธานี
งานแสดงนิทรรศการและสินค้าธุรกิจประกันภัย และความรู้เรื่องประกันภัย ทำกรมธรรม์ประกันภัยในราคาพิเศษ (เฉพาะในงาน)
เวลา 10.00-21.00 น.
from http://www.impact.co.th/th/calendar.php?event=153
24 กันยายน 2553
รีวิว Amazon Kindle 3
ในช่วงหลังนี้ สงครามในตลาด E-Book เริ่มดุเดือด ตั้งแต่ที่ Apple เปิดตัว iPad, B&N ลดราคา Nook จนเจ้าตลาดเดิมอย่าง Amazon ต้องออกมาตอบโต้ โดยหั่นราคา Kindle 2 ของตัวเองมาสู้ และเดือนที่ผ่านมาก็ได้เปิดตัว Kindle รุ่นใหม่ ที่ใครๆ ก็เรียกกันว่า “Kindle 3” ยกเว้นแต่ Amazon เองที่เรียกว่า “Kindle Latest Generation” ในที่นี้ขอเรียกสั้นๆ ตามที่ส่วนใหญ่เค้าเรียกกันว่า Kindle 3
Kindle 3 มีอยู่สองรุ่น คือรุ่น Wi-Fi only ราคา $139 กับรุ่น Wi-Fi+3G ราคา $189 มีสีดำกับสีขาวให้เลือก ความสามารถก็ตามชื่อ คือรุ่น Wi-Fi จะใช้งานผ่าน Wi-Fi ได้เท่านั้น ส่วนรุ่น Wi-Fi+3G จะใช้เครือข่าย Whispernet ที่ Amazon เป็นพาร์ทเนอร์กับเครือข่ายมือถือใหญ่ๆ ทั่วโลก (รวมทั้งเมืองไทยด้วย) ให้ผู้ใช้สามารถใช้ Kindle โหลดหนังสือผ่านเครือข่าย 3G โดยไม่ต้องเสียบซิม ไม่ต้องเสียค่าบริการ
Kindle ตัวที่สั่งซื้อมานี้เป็นรุ่น Wi-Fi only เหตุผลคือ เพราะมันถูกกว่า แล้วก็คิดว่าคงจะไม่ค่อยได้ใช้งาน sync หนังสือผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สักเท่าไหร่ (ไม่เกี่ยวกับที่ว่าบ้านเรายังไม่มี 3G แต่อย่างใด) ราคาอยู่ที่ $139 ค่าส่งอีก ประมาณ $10 และ tax deposit fee อีก $40 รวมๆ แล้วก็อยู่ที่ประมาณ $200 ตอนนี้บาทแข็ง คูณแล้วก็ประมาณ 6,000 กว่าบาท จัดส่งมาให้ผ่านทาง DHL สามารถ track ดูสถานะของแท็คเกจได้จากในเว็บเลย ใช้เวลาไม่ถึงอาทิตย์ ก็มาถึงกรุงเทพ
กล่องกระดาษแข็งสีน้ำตาลธรรมดา ขนาดเล็กและเบากว่าที่คิด
เปิดกล่องก็เจอ Kindle นอนอยู่
ภายในกล่องประกอบด้วย Kindle, คู่มือ, สายชาร์จ MicroUSB พร้อมหัวต่อสำหรับเสียบกับฝาผนัง (ไม่แน่ใจว่าใช้กับไฟบ้านเราได้หรือเปล่า ยังไม่เคยลอง)
เทียบขนาดให้ดู จะเห็นว่าขนาดเล็กกว่าหนังสือการ์ตูนเล็กน้อย หน้าจอ 6″ มีขนาดพอๆ กับหนังสือพ็อคเก็ตบุ๊คทั่วไป
ในการใช้งานครั้งแรก ก็ต้องชาร์จไฟเสียก่อน ในที่นี้ใช้วิธีเสียบสาย MicroUSB เข้ากับ laptop พอเสียบเข้าไปแล้ว OS ก็จะเห็น Kindle เป็น USB Storage ตัวนึง สามารถก็อปปี้ไฟล์ไปใส่ได้ (ทดสอบกับ Mac OS X แต่คิดว่า OS อื่นก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร) ความจุประมาณ 4GB
ในการชาร์จแบต Kindle หนึ่งครั้ง ตามคู่มือบอกว่าใช้งานได้เป็นเวลาถึง 4 สัปดาห์ แต่ถ้าเปิด Wi-Fi ตลอด จะอยู่ได้ประมาณ 3 สัปดาห์
สำหรับคนที่ยังไม่รู้ หน้าจอของ Kindle ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า E Ink ซึ่งแสดงผลเป็นภาพขาวดำที่ดูสบายตา คล้ายกับอ่านจากหนังสือที่เป็นกระดาษจริงๆ ไม่มีแสงสะท้อนแยงตาเหมือนจอคอมพิวเตอร์ ตามสเป็คของ Kindle 3 ตัวนี้ ใช้จอ E Ink ที่ความละเอียด 800×600 แสดงสีขาวดำได้ 16 ระดับ
ด้วยเทคโนโลยี E Ink นี่เองที่ประหยัดพลังงานในการแสดงผลมาก ทำให้ในการชาร์จหนึ่งครั้ง เราสามารถใช้งาน Kindle ได้นานเป็นสัปดาห์ แต่ข้อเสียของจอ E Ink นอกจากเรื่องที่แสดงภาพสีไม่ได้แล้วนั้น ก็มีเรื่องที่การเปลี่ยนหน้าจอทำได้ช้า ทำให้ไม่เหมาะจะเอามาแสดงผลภาพเคลื่อนไหว
มาดูตัวเครื่อง Kindle กันบ้าง จะเห็นว่ามีหน้าจอ 6″ มีปุ่มด้านซ้ายขวา ข้างละ 2 ปุ่ม เอาไว้เปิดหน้าถัดไปหรือหน้าที่แล้ว จับตัวเครื่องด้วยมือไหน ก็ใช้ได้เหมือนกัน ด้านล่างมีแป้นคีย์บอร์ดเอาไว้พิมพ์เล็กๆ น้อยๆ และมีปุ่ม 5-way button เอาไว้เลื่อนเคอร์เซอร์ ส่วนท้ายตัวเครื่องมีรูเสียบหูฟัง ช่องเสียบ MicroUSB ปุ่มปรับระดับเสียง และปุ่ม power slide ส่วนด้านหลังมีลำโพง
ในเว็บของ Amazon จะมีหนังสือฟรีอยู่จำนวนหนึ่ง สามารถโหลดมาอ่านฟรีได้ (ส่วนใหญ่เป็นนิยายเก่าๆ หรือหนังสือที่เป็น public domain) โดยเข้าไปที่หน้าของหนังสือนั้นๆ แล้วเลือก Send to my Kindle แล้วหนังสือจะ sync มาลงยัง Kindle ของเราเอง ถ้าในรุ่นที่เป็น 3G ก็จะสามารถ sync ได้แม้จะไม่ได้ต่อ Wi-Fi
ตัวอย่าง โหลด Alice’s Adventures In Wonderland มาอ่าน
ถ้าหนังสือที่เราอ่าน อยู่ในฟอร์แมต E-Book (.azw หรือ .mobi) จะสามารถปรับขนาดตัวหนังสือตามต้องการได้ ตัวหนังสือจะ reflow เอง
ฟอร์แมตไฟล์ที่ Kindle รู้จัก และเราใช้กันทั่วไปก็มี azw, mobi, pdf, text, html, doc ถ้ารูปภาพก็มี bmp, gif, jpeg, png
ทดลองสร้าง folder ใส่ภาพเข้าไป Kindle จะมอง folder หนึ่ง เหมือนกับเป็นหนังสือ 1 เล่ม เวลาเปิดดูก็จะเปิดดูทีละรูปๆ เหมาะกับการเอามาอ่านการ์ตูนเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเกิดว่าตัวหนังสือเล็กเกิน อ่านไม่ออก ก็สามารถเลือกอ่านแนวตะแคงได้ (เลือกได้ว่าจะให้แสดงภาพแบบ fit หน้าจอ, fit ความกว้าง หรือว่า actual size)
ถ้าไม่ใช้งานสักระยะนึง Kindle จะแสดงหน้า screensaver และล็อคปุ่ม เพื่อป้องกันการกดโดนโดยไม่ตั้งใจ เวลาจะกลับมาอ่านต่อก็เลื่อนปุ่ม power ด้านล่างตัวเครื่อง
หนังสือของ Amazon จะมีปกให้ดูด้วย (อันนี้เป็น sample อ่านฟรีแค่บทแรกๆ ถ้าติดใจค่อยซื้อทั้งเล่ม)
ทดสอบอ่าน PDF สามารถเลือกแสดงผลเป็น fit width, 150%, 200% และเลือกระดับความเข้มของตัวหนังสือได้ แต่ไม่สามารถเลือกขยายขนาดตัวหนังสือได้ ต้อง zoom อย่างเดียว
ในกรณีที่เอามาอ่าน paper วิชาการ ที่ส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 2 คอลัมน์ สามารถใช้ท่า zoom 200% เพื่ออ่านทีละคอลัมน์ได้
ภาษาไทยในไฟล์ PDF แสดงผลได้ถูกต้อง อ่านได้ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าเป็นไฟล์ประเภท E-book (ในรูปเป็น .mobi) จะแสดงผลโดยใช้ font ที่ติดมากับเครื่อง ซึ่งอ่านภาษาไทยได้ แต่ไม่สวย สระบนยังซ้อนกันอยู่ และการตัดคำยังดูมีปัญหาอยู่
วิธีการนำเอา E-book หรือเอกสารของเราใส่เข้าไปใน Kindle นอกจากใช้วิธีก็อปปี้ผ่านทาง USB แล้ว ยังมีอีกวิธีหนึ่งคือ ส่งทางอีเมล โดย Kindle ทุกเครื่องจะมีอีเมลประจำเครื่อง (ตั้งค่าได้ เป็น @Kindle.com) เราสามารถอีเมลไฟล์เอกสารที่เราต้องการมาที่อีเมลนี้ แล้วเอกสารหรือ E-book นั้นจะถูก sync มาลง Kindle ให้ สำหรับรุ่น Wi-Fi จะ sync ได้ฟรี ไม่เสียเงิน แต่ถ้า sync ผ่าน whispernet (สำหรับรุ่น 3G) จะคิดค่า data transfer ด้วย
นอกจากนี้ Kindle ยังมี Web Browser มาให้ในตัวอีกด้วย (engine ข้างในเป็น WebKit) โดยยังเป็นความสามารถแบบ experimental อยู่ สามารถใช้เปิดดูเว็บได้ แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วก็ยังแสดงผลค่อนข้างช้า และการเลื่อนดูทำได้ลำบากเพราะต้องใช้ปุ่มกดเอา ไม่ใช่จอแบบสัมผัส ความรู้สึกคล้ายๆ กับเปิดเว็บบนมือถือที่ไม่ใช่จอสัมผัส
นอกจากนี้ Kindle 3 ก็มีฟีเจอร์เสริมอื่นๆ เช่น
- ทำ highlight ข้อความ เก็บเป็น note ไว้ได้ สามารถโพสต์ลง twitter หรือ facebook ก็ได้ด้วย
- มี dictionary ในตัว อยากรู้ความหมายของคำไหน ให้เลื่อนเคอร์เซอร์ไปที่คำนั้น แล้วจะมีคำแปลขึ้นมาให้ดู (เท่าที่ลอง จะใช้ได้กับไฟล์ E-book เท่านั้น ใช้กับ PDF ได้บ้างไม่ได้บ้าง)
- ค้นหาคำในหนังสือได้
หลังจากที่ทดลองใช้งานมาได้อาทิตย์กว่าๆ พบว่า
- น้ำหนักเบามาก เพียงแค่ 0.24 kg ถือมือเดียวอ่านตอนเข้าห้องน้ำได้สบายมาก เทียบกับ 0.68 kg ของ iPad แล้วคนละเรื่องกันเลย
- หน้าจอ 6″ ใช้อ่าน E-book ได้สบายตาดี แต่ถ้าเน้นการอ่านไฟล์ PDF หรืออ่านการ์ตูน อาจจะเล็กเกินไปสักนิด ถ้าเป็น Kindle DX รุ่นจอใหญ่ น่าจะเหมาะกว่า
- จอ E Ink ใช้อ่านในที่แสงน้อยไม่ได้ เพราะจอไม่มีแสงสว่างในตัว (แต่ก็มีอุปกรณ์เสริมเป็นปกใส่พร้อมโคมไฟขนาดเล็กขายอยู่)
- หนังสือใน Kindle store มีเยอะ โดยเฉพาะนิยาย แต่หนังสือพวก non-fiction ที่ไม่อยู่ในกระแสหลักจะไม่ค่อยมีขายในรูปแบบ E-book เท่าไหร่นัก
- Kindle store ไม่มีหนังสือภาษาไทยขาย (มันแน่นอนอยู่แล้ว!)
- ถ้าใครที่ใช้งาน instapaper อยู่ สามารถตั้งให้ส่งบทความเข้าอีเมลของ Kindle เป็นรายสัปดาห์หรือรายวันได้
ถ้าจะให้เปรียบเทียบ Kindle กับ iPad หรือ Android Tablet อื่นๆ อาจจะเทียบกันได้ไม่ตรงนัก เพราะหลักๆ แล้ว Kindle จะเน้นฟังก์ชันด้านการอ่านหนังสือมากกว่า แต่พวก tablet ทั้งหลายจะเน้นการใช้งานมัลติมีเดียเป็นหลัก อ่านหนังสือเป็นของแถม
สรุป – Kindle 3 สเป็กทุกอย่างดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ราคาถูกลงอยู่ในระดับสมเหตุสมผลสำหรับผู้ใช้ในบ้านเราแล้ว ถ้าเป็นคนที่มี E-book ที่ต้องอ่านเยอะ หรือนิยมอ่านนิยายภาษาอังกฤษ แนะนำว่าซื้อได้เลย ได้ใช้คุ้ม แต่สำหรับคนที่บริโภคเนื้อหาภาษาไทยเป็นหลัก ตอนนี้นอกจากการหาไฟล์ PDF มาอ่านเอง หรือใช้บริการส่งบทความจาก instapaper แล้ว ยังไม่เห็นแหล่งเนื้อหาอื่นเท่าไหร่นัก
from http://www.blognone.com/news/18759
22 กันยายน 2553
ปันผลคือพื้นฐานหุ้น โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลักการหรือหัวใจของ Value Investment หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ก็คือ การหามูลค่าที่ควรจะเป็นหรือมูลค่า “พื้นฐาน” ของหุ้น
จากนั้นก็ดูว่าราคาหุ้นในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้ก็ให้ซื้อ ถ้าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานก็ให้ขาย เพราะนักลงทุนแบบ VI เชื่อว่าในที่สุดราคาหุ้นจะวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานเสมอ
คำถามสำคัญมีอยู่ 2 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง มูลค่าพื้นฐานคืออะไร มาจากไหน อะไรเป็นตัวกำหนดมูลค่าพื้นฐานของหุ้น พูดง่ายๆ คำนวณมูลค่าพื้นฐานอย่างไร ข้อสอง เมื่อไรเล่าที่ราคาจะวิ่งเข้าหาพื้นฐาน เป็นไปได้ไหมที่ราคาหุ้นอาจจะไม่สะท้อนพื้นฐานเป็นระยะเวลานานมาก เผลอๆ ตลอดไป กลายเป็นหุ้นที่อาจจะ “ถูกตลอดกาล” และถ้าเป็นอย่างนั้น VI จะได้อะไร
คำตอบทั้งสองข้อนั้นเกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ คำตอบของข้อแรกก็จะตอบคำถามของข้อสองได้ คำถามที่ว่ามูลค่าพื้นฐานคืออะไรนั้น ถ้าจะตอบ ก็คือ เป็นมูลค่าปัจจุบันของหุ้นที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้จากบริษัทตลอดไป และผลตอบแทนที่ว่านั้น ก็คือ “ปันผล” ในอนาคตทั้งหมดของบริษัท
ถ้าจะพูดให้เห็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายไม่เป็นวิชาการ ก็คือ “เป็นราคาหุ้นที่เรายินดีที่จะจ่ายเงินซื้อเพื่อเก็บกินปันผลไปตลอดชีวิต โดยที่เราจะไม่ขายหรือเป็นหุ้นที่เราไม่สามารถขายได้” ดังนั้น เวลาที่ผมจะซื้อหุ้น ผมจะต้องคิดว่าราคาที่ผมจ่ายนั้น ผมยินดีหรือไม่ที่จะเก็บมันไว้ตลอดชีวิต เพื่อรับปันผล ถ้าคำตอบ คือ “ไม่เอา” นั่นก็แปลว่า ราคานั้นสูงเกินไป อาจจะเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าปันผลจะลดลง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าผมกลัวว่าอนาคตบริษัทอาจจะเจ๊ง หรือธุรกิจตกต่ำลงมากและจ่ายปันผลน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผมจะ “ไม่มีทางออก” แต่ถ้าคำตอบของผมก็คือ “เอา” นั่นก็แปลว่าผมมั่นใจในตัวบริษัทว่าจะยังดีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ปันผลในอนาคตนั้นมีโอกาสสูงที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะตกต่ำลงมีน้อยมาก ดังนั้น ผมยินดีซื้อและถือหุ้นตัวนั้นตลอดชีวิต
แน่นอน ในชีวิตจริง เราไม่จำเป็นที่จะต้องถือหุ้นตลอดชีวิตเพื่อเก็บกินปันผล แต่เวลาพิจารณาซื้อหุ้นโดยอิงกับ “มูลค่าพื้นฐาน” ของหุ้น เราจะต้องคิดว่าเราจะต้องเก็บหุ้นไว้ตลอดชีวิตจริงๆ ถ้าเราคิดว่าเราสามารถขายได้ทุกนาที หรือเราสามารถขายได้ถ้า “สถานการณ์เปลี่ยน” หรือแม้แต่เราจะขายเมื่อ “บริษัทโตเต็มที่แล้ว” ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน 3-4 ปีข้างหน้า แบบนี้แสดงว่าเรายังไม่ได้ซื้อหุ้นโดยอิงกับมูลค่าพื้นฐานจริงๆ เราอาจจะ “เก็งกำไร” โดยอาจจะอิงกับปัจจัยพื้นฐานบางส่วนเท่านั้น
นอกจากเรื่องของปันผลในอนาคตแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการคำนวณหามูลค่าพื้นฐานของหุ้น ก็คือ “อัตราคิดลด” ซึ่งก็คือ อัตราผลตอบแทนที่เราต้องการในการลงทุนซื้อหุ้นตัวนั้น อัตราผลตอบแทนนี้จะคล้ายๆ กับอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อพันธบัตรซึ่งเราจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอนเช่นปีละ 1% หรือ 3-4% ตามลำดับ แต่การลงทุนในหุ้นนั้น เราจะได้ปันผลที่มีอัตราไม่แน่นอนขึ้นกับผลกำไรของบริษัท ดังนั้น เราจึงต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยเช่นอาจจะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10%
ปัจจัยสำคัญตัวสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ อัตราการเติบโตหรือการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลในอนาคต นี่คือ สิ่งที่จะทำให้มูลค่าหุ้นสูงหรือต่ำอย่างมีนัยสำคัญ เพราะถ้าปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นทุกปีหรือเกือบทุกปี ยิ่งนานปันผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้น บางทีผ่านไป 15-20 ปี เงินปันผลแต่ละปีอาจจะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินค่าหุ้นที่เราจ่าย ถ้าเป็นแบบนี้มูลค่าของหุ้นก็จะมาก แต่ถ้าปันผลไม่โตเลย เคยได้เท่าไร ผ่านไป 5-10 ปีก็ยังได้ปันผลเท่าเดิม แบบนี้หุ้นก็จะมีมูลค่าน้อย
ผมคงไม่อธิบายวิธีคำนวณหามูลค่าพื้นฐานตามวิชาการซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่จะลองให้แนวคิดในการพิจารณาลงทุนซื้อหุ้นโดยใช้หลักการของ “มูลค่าพื้นฐาน” ดังที่ได้กล่าวมา โดยสมมติว่าเราพบหุ้นตัวหนึ่งที่ทำธุรกิจโมเดิร์นเทรดหรือค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีผลประกอบการที่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ผลประกอบการไม่ยากนัก
บริษัท ก. มีกำไรปีละ 0.40 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลปีละ 0.30 บาท ราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น เราคาดว่ากิจการของบริษัทนี้จะเติบโตขึ้นประมาณปีละ 10% ไปได้เรื่อยๆ โดยที่บริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุน เพราะฐานะทางการเงินดีมากไม่มีหนี้สินจากสถาบันการเงินเลย ถามว่ามองโดยพื้นฐานเราควรซื้อหุ้นบริษัทนี้หรือไม่
ก่อนอื่นลองคำนวณดูว่าในปีแรกที่เราลงทุนนั้น เราจ่ายเงินค่าหุ้น 10 บาท และได้ปันผล 0.30 บาทเท่ากับว่าเราได้ปันผลปีแรก 3% ดูแล้วก็อาจจะไม่น่าจูงใจอะไร เพราะเราลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งไม่มีความเสี่ยงเลยเรายังได้ดอกเบี้ยประมาณ 4% แต่เนื่องจากกำไรของบริษัทน่าจะเพิ่มขึ้นได้ปีละ 10% ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นปีละ 10% เช่นกัน ดังนั้น ปีที่สองปันผลน่าจะเป็น 3.3% และปีที่สามน่าจะเป็น 3.63% ปีที่สี่เท่ากับประมาณ 3.99 หรือ 4% ซึ่งเท่ากับพันธบัตรแล้ว หลังจากนั้น อัตราก็จะสูงกว่าไปเรื่อยๆ พอถึงปีที่ 10 ปันผลก็เท่ากับ 8.56% และเมื่อถึงปีที่ 37 ซึ่งอาจจะเป็นปีที่เราเกษียณ ปันผลที่ได้ในแต่ละปีอาจจะเป็น 10 บาท เท่ากับราคาหุ้นในวันนี้ และทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุข เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ตั้งแต่ปีที่ 4 ของการถือหุ้น เราก็ได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในตราสารการเงินอื่นๆ แล้ว ดังนั้น เราจึงคิดว่าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาท เป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมกับพื้นฐานในแง่ของเราและเรายินดีที่จะซื้อมัน
คำถามต่อมา ก็คือ ถ้าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาทซึ่งเราคิดว่าถูก แต่ถ้าถือแล้วมันไม่ขึ้นทั้งที่กำไรและปันผลของบริษัทก็ดีขึ้นตามที่คาดแต่ราคาหุ้นกลับไม่ขึ้นสักทีเป็นเวลาหลายปี แบบนี้เราควรจะขายทิ้งไหม คำตอบก็คือ ไม่จำเป็น จำไว้ว่าถ้าเรา “ลงทุนตามพื้นฐาน” และมั่นใจว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ถูกต้อง เราก็ถือมันไป ผลตอบแทนของเรานั้น
เราต้องคิดว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยนักลงทุนคนอื่นในการมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้น แต่มันมาจากปันผลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของบริษัท แต่เชื่อผมเถอะครับว่า ในที่สุดแล้ว คนจะต้องเห็นว่าบริษัทดีและเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ผมเองเคยถือหุ้นมา 3-4 ปีโดยที่ราคาไม่ไปไหน แต่พอมันวิ่ง มันก็ขึ้น “ชดเชย” ช่วงเวลาที่มันนิ่งในเวลาอันรวดเร็ว ประเด็นสำคัญ ก็คือ VI ต้อง “รอเป็น” ว่าที่จริง การที่หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้งๆ ที่บริษัทดีขึ้นหรือจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น กลับเป็นโอกาสที่เราจะซื้อหุ้นเพิ่ม และทำกำไรมากขึ้น
from
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20100914/352807/ปันผลคือพื้นฐานหุ้น.html
จากนั้นก็ดูว่าราคาหุ้นในตลาดเป็นเท่าไร ถ้าราคาหุ้นต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่คำนวณได้ก็ให้ซื้อ ถ้าราคาหุ้นสูงกว่ามูลค่าพื้นฐานก็ให้ขาย เพราะนักลงทุนแบบ VI เชื่อว่าในที่สุดราคาหุ้นจะวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานเสมอ
คำถามสำคัญมีอยู่ 2 ข้อ นั่นคือ หนึ่ง มูลค่าพื้นฐานคืออะไร มาจากไหน อะไรเป็นตัวกำหนดมูลค่าพื้นฐานของหุ้น พูดง่ายๆ คำนวณมูลค่าพื้นฐานอย่างไร ข้อสอง เมื่อไรเล่าที่ราคาจะวิ่งเข้าหาพื้นฐาน เป็นไปได้ไหมที่ราคาหุ้นอาจจะไม่สะท้อนพื้นฐานเป็นระยะเวลานานมาก เผลอๆ ตลอดไป กลายเป็นหุ้นที่อาจจะ “ถูกตลอดกาล” และถ้าเป็นอย่างนั้น VI จะได้อะไร
คำตอบทั้งสองข้อนั้นเกี่ยวเนื่องกัน นั่นคือ คำตอบของข้อแรกก็จะตอบคำถามของข้อสองได้ คำถามที่ว่ามูลค่าพื้นฐานคืออะไรนั้น ถ้าจะตอบ ก็คือ เป็นมูลค่าปัจจุบันของหุ้นที่เหมาะสม เมื่อเทียบกับผลตอบแทนที่ผู้ถือหุ้นจะได้จากบริษัทตลอดไป และผลตอบแทนที่ว่านั้น ก็คือ “ปันผล” ในอนาคตทั้งหมดของบริษัท
ถ้าจะพูดให้เห็นภาพที่เข้าใจได้ง่ายไม่เป็นวิชาการ ก็คือ “เป็นราคาหุ้นที่เรายินดีที่จะจ่ายเงินซื้อเพื่อเก็บกินปันผลไปตลอดชีวิต โดยที่เราจะไม่ขายหรือเป็นหุ้นที่เราไม่สามารถขายได้” ดังนั้น เวลาที่ผมจะซื้อหุ้น ผมจะต้องคิดว่าราคาที่ผมจ่ายนั้น ผมยินดีหรือไม่ที่จะเก็บมันไว้ตลอดชีวิต เพื่อรับปันผล ถ้าคำตอบ คือ “ไม่เอา” นั่นก็แปลว่า ราคานั้นสูงเกินไป อาจจะเป็นเพราะผมไม่แน่ใจว่าปันผลจะลดลง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าผมกลัวว่าอนาคตบริษัทอาจจะเจ๊ง หรือธุรกิจตกต่ำลงมากและจ่ายปันผลน้อยลงเรื่อย ๆ ซึ่งผมจะ “ไม่มีทางออก” แต่ถ้าคำตอบของผมก็คือ “เอา” นั่นก็แปลว่าผมมั่นใจในตัวบริษัทว่าจะยังดีต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ปันผลในอนาคตนั้นมีโอกาสสูงที่จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ความเสี่ยงที่ธุรกิจจะตกต่ำลงมีน้อยมาก ดังนั้น ผมยินดีซื้อและถือหุ้นตัวนั้นตลอดชีวิต
แน่นอน ในชีวิตจริง เราไม่จำเป็นที่จะต้องถือหุ้นตลอดชีวิตเพื่อเก็บกินปันผล แต่เวลาพิจารณาซื้อหุ้นโดยอิงกับ “มูลค่าพื้นฐาน” ของหุ้น เราจะต้องคิดว่าเราจะต้องเก็บหุ้นไว้ตลอดชีวิตจริงๆ ถ้าเราคิดว่าเราสามารถขายได้ทุกนาที หรือเราสามารถขายได้ถ้า “สถานการณ์เปลี่ยน” หรือแม้แต่เราจะขายเมื่อ “บริษัทโตเต็มที่แล้ว” ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นใน 3-4 ปีข้างหน้า แบบนี้แสดงว่าเรายังไม่ได้ซื้อหุ้นโดยอิงกับมูลค่าพื้นฐานจริงๆ เราอาจจะ “เก็งกำไร” โดยอาจจะอิงกับปัจจัยพื้นฐานบางส่วนเท่านั้น
นอกจากเรื่องของปันผลในอนาคตแล้ว ปัจจัยที่สำคัญอีกตัวหนึ่งในการคำนวณหามูลค่าพื้นฐานของหุ้น ก็คือ “อัตราคิดลด” ซึ่งก็คือ อัตราผลตอบแทนที่เราต้องการในการลงทุนซื้อหุ้นตัวนั้น อัตราผลตอบแทนนี้จะคล้ายๆ กับอัตราดอกเบี้ยที่เราได้ถ้าเราเอาเงินไปฝากธนาคารหรือลงทุนซื้อพันธบัตรซึ่งเราจะได้ผลตอบแทนที่แน่นอนเช่นปีละ 1% หรือ 3-4% ตามลำดับ แต่การลงทุนในหุ้นนั้น เราจะได้ปันผลที่มีอัตราไม่แน่นอนขึ้นกับผลกำไรของบริษัท ดังนั้น เราจึงต้องการผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยเฉลี่ยเช่นอาจจะได้ผลตอบแทนประมาณปีละ 10%
ปัจจัยสำคัญตัวสุดท้ายที่สำคัญมาก ก็คือ อัตราการเติบโตหรือการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลในอนาคต นี่คือ สิ่งที่จะทำให้มูลค่าหุ้นสูงหรือต่ำอย่างมีนัยสำคัญ เพราะถ้าปันผลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะได้ผลตอบแทนมากขึ้นทุกปีหรือเกือบทุกปี ยิ่งนานปันผลก็ยิ่งเพิ่มขึ้น บางทีผ่านไป 15-20 ปี เงินปันผลแต่ละปีอาจจะเพิ่มขึ้นเท่ากับเงินค่าหุ้นที่เราจ่าย ถ้าเป็นแบบนี้มูลค่าของหุ้นก็จะมาก แต่ถ้าปันผลไม่โตเลย เคยได้เท่าไร ผ่านไป 5-10 ปีก็ยังได้ปันผลเท่าเดิม แบบนี้หุ้นก็จะมีมูลค่าน้อย
ผมคงไม่อธิบายวิธีคำนวณหามูลค่าพื้นฐานตามวิชาการซึ่งเป็นเรื่องที่ยากเกินไป แต่จะลองให้แนวคิดในการพิจารณาลงทุนซื้อหุ้นโดยใช้หลักการของ “มูลค่าพื้นฐาน” ดังที่ได้กล่าวมา โดยสมมติว่าเราพบหุ้นตัวหนึ่งที่ทำธุรกิจโมเดิร์นเทรดหรือค้าปลีกสมัยใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีผลประกอบการที่สม่ำเสมอ และคาดการณ์ผลประกอบการไม่ยากนัก
บริษัท ก. มีกำไรปีละ 0.40 บาทต่อหุ้น จ่ายปันผลปีละ 0.30 บาท ราคาหุ้นเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น เราคาดว่ากิจการของบริษัทนี้จะเติบโตขึ้นประมาณปีละ 10% ไปได้เรื่อยๆ โดยที่บริษัทไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มทุน เพราะฐานะทางการเงินดีมากไม่มีหนี้สินจากสถาบันการเงินเลย ถามว่ามองโดยพื้นฐานเราควรซื้อหุ้นบริษัทนี้หรือไม่
ก่อนอื่นลองคำนวณดูว่าในปีแรกที่เราลงทุนนั้น เราจ่ายเงินค่าหุ้น 10 บาท และได้ปันผล 0.30 บาทเท่ากับว่าเราได้ปันผลปีแรก 3% ดูแล้วก็อาจจะไม่น่าจูงใจอะไร เพราะเราลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลซึ่งไม่มีความเสี่ยงเลยเรายังได้ดอกเบี้ยประมาณ 4% แต่เนื่องจากกำไรของบริษัทน่าจะเพิ่มขึ้นได้ปีละ 10% ซึ่งน่าจะทำให้บริษัทสามารถจ่ายปันผลได้เพิ่มขึ้นปีละ 10% เช่นกัน ดังนั้น ปีที่สองปันผลน่าจะเป็น 3.3% และปีที่สามน่าจะเป็น 3.63% ปีที่สี่เท่ากับประมาณ 3.99 หรือ 4% ซึ่งเท่ากับพันธบัตรแล้ว หลังจากนั้น อัตราก็จะสูงกว่าไปเรื่อยๆ พอถึงปีที่ 10 ปันผลก็เท่ากับ 8.56% และเมื่อถึงปีที่ 37 ซึ่งอาจจะเป็นปีที่เราเกษียณ ปันผลที่ได้ในแต่ละปีอาจจะเป็น 10 บาท เท่ากับราคาหุ้นในวันนี้ และทำให้เราเกษียณอย่างมีความสุข เหนือสิ่งอื่นใด ก็คือ ตั้งแต่ปีที่ 4 ของการถือหุ้น เราก็ได้ผลตอบแทนดีกว่าการลงทุนในตราสารการเงินอื่นๆ แล้ว ดังนั้น เราจึงคิดว่าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาท เป็นราคาหุ้นที่เหมาะสมกับพื้นฐานในแง่ของเราและเรายินดีที่จะซื้อมัน
คำถามต่อมา ก็คือ ถ้าราคาหุ้น ก. ที่ 10 บาทซึ่งเราคิดว่าถูก แต่ถ้าถือแล้วมันไม่ขึ้นทั้งที่กำไรและปันผลของบริษัทก็ดีขึ้นตามที่คาดแต่ราคาหุ้นกลับไม่ขึ้นสักทีเป็นเวลาหลายปี แบบนี้เราควรจะขายทิ้งไหม คำตอบก็คือ ไม่จำเป็น จำไว้ว่าถ้าเรา “ลงทุนตามพื้นฐาน” และมั่นใจว่าสิ่งที่เราคาดการณ์ไว้ถูกต้อง เราก็ถือมันไป ผลตอบแทนของเรานั้น
เราต้องคิดว่ามันไม่จำเป็นที่จะต้องอาศัยนักลงทุนคนอื่นในการมาซื้อหุ้นต่อจากเราในราคาที่สูงขึ้น แต่มันมาจากปันผลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของบริษัท แต่เชื่อผมเถอะครับว่า ในที่สุดแล้ว คนจะต้องเห็นว่าบริษัทดีและเข้ามาซื้อหุ้นทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้น ผมเองเคยถือหุ้นมา 3-4 ปีโดยที่ราคาไม่ไปไหน แต่พอมันวิ่ง มันก็ขึ้น “ชดเชย” ช่วงเวลาที่มันนิ่งในเวลาอันรวดเร็ว ประเด็นสำคัญ ก็คือ VI ต้อง “รอเป็น” ว่าที่จริง การที่หุ้นไม่ขึ้นเลยทั้งๆ ที่บริษัทดีขึ้นหรือจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อยๆ นั้น กลับเป็นโอกาสที่เราจะซื้อหุ้นเพิ่ม และทำกำไรมากขึ้น
from
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20100914/352807/ปันผลคือพื้นฐานหุ้น.html
นักเก็งกำไร VS นักลงทุน โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในตลาดหุ้นไทยนั้น ใครที่ซื้อหุ้นแล้ว "ถือยาว" ก็เรียกกันว่า "นักลงทุน" ส่วนคนที่ซื้อแล้วขายในระยะเวลาอันสั้น ก็มักถูกเรียกว่า "นักเก็งกำไร"
เท่าไรถึงจะเรียกว่ายาวหรือสั้นก็ไม่ชัดเจนแล้วแต่ใครจะคิด บางทีตอนซื้อก็คิดว่าจะถือสั้น "เก็งกำไร" แต่พอหุ้นตกติดหุ้นก็เลยต้องถือยาวกลายเป็น "ลงทุน" การแบ่งแยกว่าใครเป็นนักเก็งกำไร หรือใครเป็นนักลงทุนนั้น บ่อยครั้งไม่ใคร่ชัดเจน แม้แต่เจ้าตัวเอง บางทีก็ไม่รู้จริง คนจำนวนมากคิดว่าตนเองเป็นนักลงทุนแต่จริงๆ แล้ว พฤติกรรมที่ทำอยู่เป็นการเก็งกำไรก็มีไม่น้อย
บทความนี้ จะพยายามกำหนดว่า แนวความคิด หรือพฤติกรรมแบบไหนเป็นการเก็งกำไรหรือลงทุน ไม่ใช่เรื่องเดียวแต่หลายๆ เรื่อง คนที่มีพฤติกรรมแบบเก็งกำไรมากๆ ผมก็คิดว่าเขาเป็นนักเก็งกำไรโดยธรรมชาติ คนที่มีพฤติกรรมของการลงทุนมาก ผมก็สรุปว่าเขามีธรรมชาติเป็นนักลงทุน
ข้อแรก ก็แน่นอน นักเก็งกำไรมักจะถือหุ้นสั้น แต่ละตัวมักจะถือไม่เกิน 3-6 เดือน ส่วนนักลงทุนมักจะถือหุ้นแต่ละตัวมากกว่า 1 ปี โดยเฉลี่ยคนที่ถือครองหุ้นแทบจะว่าเฉลี่ยไม่เกิน 7 วัน หรืออาจจะเรียกว่า Day Trader หรือเล่นหุ้นรายวันนั้น แทบไม่ต้องสงสัยว่า เป็นนักเก็งกำไรแน่นอนไม่ต้องดูพฤติกรรมข้ออื่นเลย
ข้อสอง นักเก็งกำไรเวลาเล่นหุ้น ต้องมี "ข่าว" หรือ "ข่าวลือ" หรือมี Story หรือเรื่องราวที่น่าสนใจที่จะขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ ข่าวหรือเรื่องราวนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้น และมีผลต่อราคาหุ้น เช่น ข่าวการจัดการหรือเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน เช่น การแจกวอร์แรนท์ การแตกพาร์ การจ่ายปันผล เป็นต้น หรือไม่ก็เป็นข่าวทางด้านธุรกิจเช่นมีการขยายธุรกิจใหม่ ข่าวว่าจะได้รับงานใหม่ เป็นต้น
ส่วนนักลงทุน ก็มักจะสนใจลงทุนในหุ้นที่มองว่า จะเติบโตไปได้ในระยะยาวด้วยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของตัวกิจการเป็นหลัก
ข้อสาม นักเก็งกำไรส่วนมากจะชอบเล่นหุ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็น "ขาขึ้น" หรือเป็นช่วงที่หุ้นบูม เพราะในยามนี้ หุ้นจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่า สำหรับนักเก็งกำไรบางกลุ่มแล้ว การซื้อหุ้น "แพง" ไม่มีปัญหา หากมันจะแพงขึ้นไปอีก ดีกว่าการซื้อหุ้น "ถูก" ที่มันจะถูกลงไปอีกในยามที่ตลาด "กำลังตก"
ส่วนนักลงทุน พวกเขามักจะชอบซื้อหุ้นในช่วงที่ตลาด "ปกติ" หรือบางคนอาจจะชอบซื้อในช่วงที่ตลาดตกต่ำ เพราะเขาชอบซื้อหุ้นที่มีราคาถูกกว่าพื้นฐานที่ควรเป็น
ข้อสี่ นักเก็งกำไรมักจะชอบซื้อหุ้นของกิจการที่มีความไม่แน่นอนสูง เช่น ธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อาทิเช่น สินแร่โลหะ พืชผลทางการเกษตร พลังงาน ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การเดินเรือ
นอกจากนั้น ยังชอบกิจการที่มียอดขายและกำไรผันผวน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่มักทำให้ยอดขายแต่ละปีไม่แน่นอน ความคิด ก็คือ เล่นหุ้นพวกนี้ถ้า "เก็ง" หรือคาดการณ์ถูก หรือมีข้อมูล "อินไซด์" ก็จะสามารถทำกำไรจากหุ้นได้มาก
ตรงกันข้าม นักลงทุนมักชอบกิจการที่มีความสม่ำเสมอของยอดขาย และกิจการที่ทำให้สามารถคาดการณ์ผลประกอบการได้ง่ายกว่า
ข้อห้า นักเก็งกำไรชอบเจ้าของกิจการที่สนใจ และ "ดูแลหุ้น" ดี นั่นคือ ให้ข้อมูลกิจการและ "โปรโมท" หุ้นสม่ำเสมอ พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เจ้าของกิจการเป็นข่าวอยู่ในสื่อและหนังสือพิมพ์ธุรกิจและหุ้นสม่ำเสมอ ข่าวที่ออกมามักเป็นข่าวดีและสนับสนุนราคาหุ้น
ส่วนนักลงทุน อาจจะรู้สึกสงสัยและระมัดระวังถ้าพบว่าผู้บริหาร "เชียร์หุ้น" มากเกินไป พวกเขาชอบเล่นหุ้นที่เจ้าของหรือผู้บริหารให้ข่าวพอดีๆ ไม่มองโลกในแง่ดีเกินไป และไม่เน้นเรื่องราคาหุ้นว่าถูกหรือแพง
ข้อหก นักเก็งกำไรมักจะชอบใช้มาร์จินในการเล่นหุ้น พวกเขาคิดว่านี่คือการทำเงินได้เร็วเป็นสองเท่า โดยที่ต้นทุนดอกเบี้ยนั้นต่ำมาก สิ่งที่พวกเขากลัวไม่ใช่ดอกเบี้ย แต่เป็นการถูกเรียกหลักประกันเพิ่มในกรณีที่หุ้นตก
ส่วนนักลงทุน มักจะไม่ใช้มาร์จินในการลงทุน พวกเขาอาจจะไม่ได้คิดว่า หุ้นจะให้ผลตอบแทนมากพอที่จะคุ้มกับค่าดอกเบี้ยที่ต้องเสีย หรือถึงคุ้มในแง่เม็ดเงิน แต่ก็ไม่คุ้มกับความเสี่ยง จากการเป็นหนี้ และที่สำคัญ เวลาหุ้นตก การขาดทุนก็อาจจะเพิ่มเป็นสองเท่าเช่นกัน
ข้อเจ็ด นักเก็งกำไรมักจะเล่นหุ้นเป็นตัวๆ คือ ในแต่ละช่วงเวลานั้น มักมีหุ้นจำนวนน้อยมาก บางทีก็มีเพียงตัวเดียวสำหรับคนที่พอร์ตยังมีขนาดเล็ก นั่นก็คือ พวกเขาจะเล่นหุ้นตัวที่ "กำลังร้อน" เมื่อได้กำไรหรือคิดว่าพลาดแล้ว ซึ่งมักจะใช้เวลาไม่นาน เขาก็จะขายทิ้งแล้วไปเล่นตัวใหม่
ส่วนนักลงทุน พวกเขาจะลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัวเป็นพอร์ตโฟลิโอ จะมีการขายหุ้นบางตัวแต่ก็มักจะเปลี่ยนไปซื้อหุ้นตัวใหม่ที่คิดว่าดีกว่า
ข้อแปด หุ้นที่นักเก็งกำไรจะเล่น จะต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง หรือเคยมีสภาพคล่องสูง พวกเขาเห็นว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นในช่วงที่เขาจะขายทิ้งเมื่อได้กำไรตามเป้าหมายแล้ว
ส่วนนักลงทุน ความจำเป็นต้องมีสภาพคล่องสูงนั้นมีน้อยกว่ามาก
ข้อเก้า เป็นเรื่องของแนวความคิดที่ผมสังเกตเห็นจากคนที่เป็น นักเก็งกำไรที่โดดเด่นบางคนหรือบางกลุ่ม นั่นคือ นักเก็งกำไรเชื่อว่า
ข้อแรก การเล่นหุ้นสั้นไม่เสี่ยงแต่การลงทุนยาวเสี่ยง เหตุผลเพราะในระยะยาวแล้ว เรา "ไม่รู้" คาดไม่ได้
ข้อสอง ถ้าซื้อแล้วขาดทุนต้องขายตัดขาดทุนเร็ว แต่ถ้ามีกำไรก็ Let Profit Run คือ ถือให้กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อนจะขาย เมื่อเห็นว่าราคาจะเริ่มกลับตัว ซึ่งนักเก็งกำไรรายย่อยๆ จำนวนมาก ก็ทำตรงกันข้าม
ข้อสาม นักเก็งกำไรมักจะชอบเล่นหุ้นกันเป็นหมู่ หรือรวมกลุ่มกันหลายๆ คน นี่อาจจะเป็นความคิดว่า การรวมกันเล่นจะมีผลต่อราคาหุ้นได้มากกว่าทำอยู่คนเดียว
ข้อสี่ นักเก็งกำไร เชื่อในเรื่องของจิตวิทยาตลาดและมวลชน ว่า มีผลต่อราคาหุ้นมากกว่าพื้นฐานระยะยาวของกิจการ
ดังนั้น นักเก็งกำไรเวลาซื้อขายหุ้นมักจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ และนักเก็งกำไรที่เป็น "ผู้นำ" อาจจะต้องสร้างสถานการณ์แบบนั้นให้เกิดขึ้นด้วย
ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของพฤติกรรมว่า เป็นอาการของนักเก็งกำไรหรือนักลงทุน โดยทั่วไป เราทุกคนต่างก็มีพฤติกรรมทั้งสองแบบในตัว การที่จะบอกว่าใครน่าจะเป็นนักเก็งกำไรหรือใครน่าจะเป็นนักลงทุนนั้น จึงต้องดูภาพรวมว่าเป็นอย่างไร
ถ้าพิจารณา หรือสังเกตดูแล้วพบว่า เรามักจะถือหุ้นแต่ละตัวค่อนข้างสั้น ทั้งๆ ที่ในใจเราตั้งใจจะถือยาวเมื่อซื้อ นอกจากนั้น เรายังมักมีหุ้นเพียง 1 หรือ 2 ตัว ไม่ใคร่ได้ถือเกินนั้น เรามักซื้อหุ้นเพราะมันกำลังมีข่าว และหุ้นตัวที่ซื้อเราก็มักได้มาจากกลุ่มเพื่อนที่ชักชวนให้ซื้อ เพราะมันกำลังมีข่าวดี
หุ้นที่เราเล่น มักจะมีปริมาณการซื้อขายสูงติดหนึ่งในสิบอันดับ ทั้งที่เป็นหุ้นตัวเล็ก ต่างๆ เหล่านี้ ก็อาจจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า แท้ที่จริงแล้วเราเป็น "นักเก็งกำไร" ทั้งๆ ที่ใจเรานั้นบอกว่าเราเป็นนักลงทุน
from
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20100921/353930/นักเก็งกำไร-VS-นักลงทุน.html
เท่าไรถึงจะเรียกว่ายาวหรือสั้นก็ไม่ชัดเจนแล้วแต่ใครจะคิด บางทีตอนซื้อก็คิดว่าจะถือสั้น "เก็งกำไร" แต่พอหุ้นตกติดหุ้นก็เลยต้องถือยาวกลายเป็น "ลงทุน" การแบ่งแยกว่าใครเป็นนักเก็งกำไร หรือใครเป็นนักลงทุนนั้น บ่อยครั้งไม่ใคร่ชัดเจน แม้แต่เจ้าตัวเอง บางทีก็ไม่รู้จริง คนจำนวนมากคิดว่าตนเองเป็นนักลงทุนแต่จริงๆ แล้ว พฤติกรรมที่ทำอยู่เป็นการเก็งกำไรก็มีไม่น้อย
บทความนี้ จะพยายามกำหนดว่า แนวความคิด หรือพฤติกรรมแบบไหนเป็นการเก็งกำไรหรือลงทุน ไม่ใช่เรื่องเดียวแต่หลายๆ เรื่อง คนที่มีพฤติกรรมแบบเก็งกำไรมากๆ ผมก็คิดว่าเขาเป็นนักเก็งกำไรโดยธรรมชาติ คนที่มีพฤติกรรมของการลงทุนมาก ผมก็สรุปว่าเขามีธรรมชาติเป็นนักลงทุน
ข้อแรก ก็แน่นอน นักเก็งกำไรมักจะถือหุ้นสั้น แต่ละตัวมักจะถือไม่เกิน 3-6 เดือน ส่วนนักลงทุนมักจะถือหุ้นแต่ละตัวมากกว่า 1 ปี โดยเฉลี่ยคนที่ถือครองหุ้นแทบจะว่าเฉลี่ยไม่เกิน 7 วัน หรืออาจจะเรียกว่า Day Trader หรือเล่นหุ้นรายวันนั้น แทบไม่ต้องสงสัยว่า เป็นนักเก็งกำไรแน่นอนไม่ต้องดูพฤติกรรมข้ออื่นเลย
ข้อสอง นักเก็งกำไรเวลาเล่นหุ้น ต้องมี "ข่าว" หรือ "ข่าวลือ" หรือมี Story หรือเรื่องราวที่น่าสนใจที่จะขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ ข่าวหรือเรื่องราวนั้น จะต้องเป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้น และมีผลต่อราคาหุ้น เช่น ข่าวการจัดการหรือเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงิน เช่น การแจกวอร์แรนท์ การแตกพาร์ การจ่ายปันผล เป็นต้น หรือไม่ก็เป็นข่าวทางด้านธุรกิจเช่นมีการขยายธุรกิจใหม่ ข่าวว่าจะได้รับงานใหม่ เป็นต้น
ส่วนนักลงทุน ก็มักจะสนใจลงทุนในหุ้นที่มองว่า จะเติบโตไปได้ในระยะยาวด้วยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของตัวกิจการเป็นหลัก
ข้อสาม นักเก็งกำไรส่วนมากจะชอบเล่นหุ้นในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็น "ขาขึ้น" หรือเป็นช่วงที่หุ้นบูม เพราะในยามนี้ หุ้นจะมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้มากกว่า สำหรับนักเก็งกำไรบางกลุ่มแล้ว การซื้อหุ้น "แพง" ไม่มีปัญหา หากมันจะแพงขึ้นไปอีก ดีกว่าการซื้อหุ้น "ถูก" ที่มันจะถูกลงไปอีกในยามที่ตลาด "กำลังตก"
ส่วนนักลงทุน พวกเขามักจะชอบซื้อหุ้นในช่วงที่ตลาด "ปกติ" หรือบางคนอาจจะชอบซื้อในช่วงที่ตลาดตกต่ำ เพราะเขาชอบซื้อหุ้นที่มีราคาถูกกว่าพื้นฐานที่ควรเป็น
ข้อสี่ นักเก็งกำไรมักจะชอบซื้อหุ้นของกิจการที่มีความไม่แน่นอนสูง เช่น ธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อาทิเช่น สินแร่โลหะ พืชผลทางการเกษตร พลังงาน ปิโตรเคมี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การเดินเรือ
นอกจากนั้น ยังชอบกิจการที่มียอดขายและกำไรผันผวน เพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้ซื้อรายใหญ่ที่มักทำให้ยอดขายแต่ละปีไม่แน่นอน ความคิด ก็คือ เล่นหุ้นพวกนี้ถ้า "เก็ง" หรือคาดการณ์ถูก หรือมีข้อมูล "อินไซด์" ก็จะสามารถทำกำไรจากหุ้นได้มาก
ตรงกันข้าม นักลงทุนมักชอบกิจการที่มีความสม่ำเสมอของยอดขาย และกิจการที่ทำให้สามารถคาดการณ์ผลประกอบการได้ง่ายกว่า
ข้อห้า นักเก็งกำไรชอบเจ้าของกิจการที่สนใจ และ "ดูแลหุ้น" ดี นั่นคือ ให้ข้อมูลกิจการและ "โปรโมท" หุ้นสม่ำเสมอ พูดอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เจ้าของกิจการเป็นข่าวอยู่ในสื่อและหนังสือพิมพ์ธุรกิจและหุ้นสม่ำเสมอ ข่าวที่ออกมามักเป็นข่าวดีและสนับสนุนราคาหุ้น
ส่วนนักลงทุน อาจจะรู้สึกสงสัยและระมัดระวังถ้าพบว่าผู้บริหาร "เชียร์หุ้น" มากเกินไป พวกเขาชอบเล่นหุ้นที่เจ้าของหรือผู้บริหารให้ข่าวพอดีๆ ไม่มองโลกในแง่ดีเกินไป และไม่เน้นเรื่องราคาหุ้นว่าถูกหรือแพง
ข้อหก นักเก็งกำไรมักจะชอบใช้มาร์จินในการเล่นหุ้น พวกเขาคิดว่านี่คือการทำเงินได้เร็วเป็นสองเท่า โดยที่ต้นทุนดอกเบี้ยนั้นต่ำมาก สิ่งที่พวกเขากลัวไม่ใช่ดอกเบี้ย แต่เป็นการถูกเรียกหลักประกันเพิ่มในกรณีที่หุ้นตก
ส่วนนักลงทุน มักจะไม่ใช้มาร์จินในการลงทุน พวกเขาอาจจะไม่ได้คิดว่า หุ้นจะให้ผลตอบแทนมากพอที่จะคุ้มกับค่าดอกเบี้ยที่ต้องเสีย หรือถึงคุ้มในแง่เม็ดเงิน แต่ก็ไม่คุ้มกับความเสี่ยง จากการเป็นหนี้ และที่สำคัญ เวลาหุ้นตก การขาดทุนก็อาจจะเพิ่มเป็นสองเท่าเช่นกัน
ข้อเจ็ด นักเก็งกำไรมักจะเล่นหุ้นเป็นตัวๆ คือ ในแต่ละช่วงเวลานั้น มักมีหุ้นจำนวนน้อยมาก บางทีก็มีเพียงตัวเดียวสำหรับคนที่พอร์ตยังมีขนาดเล็ก นั่นก็คือ พวกเขาจะเล่นหุ้นตัวที่ "กำลังร้อน" เมื่อได้กำไรหรือคิดว่าพลาดแล้ว ซึ่งมักจะใช้เวลาไม่นาน เขาก็จะขายทิ้งแล้วไปเล่นตัวใหม่
ส่วนนักลงทุน พวกเขาจะลงทุนในหุ้นหลายๆ ตัวเป็นพอร์ตโฟลิโอ จะมีการขายหุ้นบางตัวแต่ก็มักจะเปลี่ยนไปซื้อหุ้นตัวใหม่ที่คิดว่าดีกว่า
ข้อแปด หุ้นที่นักเก็งกำไรจะเล่น จะต้องเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องสูง หรือเคยมีสภาพคล่องสูง พวกเขาเห็นว่านี่เป็นสิ่งจำเป็นในช่วงที่เขาจะขายทิ้งเมื่อได้กำไรตามเป้าหมายแล้ว
ส่วนนักลงทุน ความจำเป็นต้องมีสภาพคล่องสูงนั้นมีน้อยกว่ามาก
ข้อเก้า เป็นเรื่องของแนวความคิดที่ผมสังเกตเห็นจากคนที่เป็น นักเก็งกำไรที่โดดเด่นบางคนหรือบางกลุ่ม นั่นคือ นักเก็งกำไรเชื่อว่า
ข้อแรก การเล่นหุ้นสั้นไม่เสี่ยงแต่การลงทุนยาวเสี่ยง เหตุผลเพราะในระยะยาวแล้ว เรา "ไม่รู้" คาดไม่ได้
ข้อสอง ถ้าซื้อแล้วขาดทุนต้องขายตัดขาดทุนเร็ว แต่ถ้ามีกำไรก็ Let Profit Run คือ ถือให้กำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อนจะขาย เมื่อเห็นว่าราคาจะเริ่มกลับตัว ซึ่งนักเก็งกำไรรายย่อยๆ จำนวนมาก ก็ทำตรงกันข้าม
ข้อสาม นักเก็งกำไรมักจะชอบเล่นหุ้นกันเป็นหมู่ หรือรวมกลุ่มกันหลายๆ คน นี่อาจจะเป็นความคิดว่า การรวมกันเล่นจะมีผลต่อราคาหุ้นได้มากกว่าทำอยู่คนเดียว
ข้อสี่ นักเก็งกำไร เชื่อในเรื่องของจิตวิทยาตลาดและมวลชน ว่า มีผลต่อราคาหุ้นมากกว่าพื้นฐานระยะยาวของกิจการ
ดังนั้น นักเก็งกำไรเวลาซื้อขายหุ้นมักจะคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ และนักเก็งกำไรที่เป็น "ผู้นำ" อาจจะต้องสร้างสถานการณ์แบบนั้นให้เกิดขึ้นด้วย
ทั้งหมดนั้น เป็นเรื่องของพฤติกรรมว่า เป็นอาการของนักเก็งกำไรหรือนักลงทุน โดยทั่วไป เราทุกคนต่างก็มีพฤติกรรมทั้งสองแบบในตัว การที่จะบอกว่าใครน่าจะเป็นนักเก็งกำไรหรือใครน่าจะเป็นนักลงทุนนั้น จึงต้องดูภาพรวมว่าเป็นอย่างไร
ถ้าพิจารณา หรือสังเกตดูแล้วพบว่า เรามักจะถือหุ้นแต่ละตัวค่อนข้างสั้น ทั้งๆ ที่ในใจเราตั้งใจจะถือยาวเมื่อซื้อ นอกจากนั้น เรายังมักมีหุ้นเพียง 1 หรือ 2 ตัว ไม่ใคร่ได้ถือเกินนั้น เรามักซื้อหุ้นเพราะมันกำลังมีข่าว และหุ้นตัวที่ซื้อเราก็มักได้มาจากกลุ่มเพื่อนที่ชักชวนให้ซื้อ เพราะมันกำลังมีข่าวดี
หุ้นที่เราเล่น มักจะมีปริมาณการซื้อขายสูงติดหนึ่งในสิบอันดับ ทั้งที่เป็นหุ้นตัวเล็ก ต่างๆ เหล่านี้ ก็อาจจะเป็นสิ่งที่บอกได้ว่า แท้ที่จริงแล้วเราเป็น "นักเก็งกำไร" ทั้งๆ ที่ใจเรานั้นบอกว่าเราเป็นนักลงทุน
from
http://www.bangkokbiznews.com/home/details/business/ceo-blogs/nives/20100921/353930/นักเก็งกำไร-VS-นักลงทุน.html
21 กันยายน 2553
1 ล้านแรกในชีวิต (สำหรับคนที่ยังขาดกำลังใจ)
คำกล่าวจากคนที่สร้างเนื้อสร้างตัวมาเป็นเศรษฐีหลายๆคนว่า "เงิน 1 ล้านบาทแรกนั้นเป็นเงินก้อนที่หามาด้วยความยากลำบากมากที่สุด ยากกว่าการหาเงินอีกหลายสิบหลายร้อยล้านบาทในเวลาต่อมา"
วันนี้ผมตัดสินใจตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะรู้สึกดีใจ ภูมิใจว่าในที่สุด หลังจากทำงานมาเป็นเวลาถึง 10 ปี ก็สามารถมีพอร์ทลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในชีวิต (ถึงแม้ว่าพรุ่งนี้หุ้นจะมีราคาลงไปบ้างก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่ามีเงินล้านแล้วในวันนี้ อิอิ ) และหวังว่าประสบการณ์ชีวิตผมจะเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนมีความพยายามในการไปให้ถึงเป้าหมายในอนาคตต่อไป
บางคนอาจจะรู้สึกว่าเงิน 1 ล้านบาทนั้นหามาได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับผมแล้ว มันช่างเป็นจำนวนเงินที่มากมายเหลือเกิน ผมมาจากฐานะทางบ้านที่ไม่ดีนัก เรียนหนังสือก็อาศัยทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน มาตลอด แม่ก็เข็นรถเข็นขายข้าวแกงมีรายได้ไม่มากนัก ผมได้เงินไปเรียนมหาวิทยาลัยวันละ 50 บาท พอเรียนจบมาได้ไม่นาน แม่ก็หยุดขายข้าวแกงเพราะไม่ไหว ผมกับพี่และน้องชายต้องช่วยกันรวมเงินมาไว้ให้แม่ทุกเดือน ทำงานครั้งแรกเงินเดือน 15,000 บาท ผมให้แม่เดือนละ 10,000 บาททุกเดือน ใช้เอง2-3 พันบาท เหลือเก็บเดือนละ 2 พันบาท และไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าในชีวิตนี้จะมีวันที่มีเงิน 1 ล้านบาทได้
ผมเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว (ปี 2002) ตอนนั้นผมทำงานเป็นวิศวกรได้ประมาณ 2 ปี ตอนนั้นเล่นไปตามบทวิเคราะห์ ได้บ้างเสียบ้าง จนเมื่อผมทำงานมาได้ 5 ปี (ปี 2005) ผมก็ตัดสินใจไปทำงานเป็น มาร์เก็ตติ้ง โดยมีความเชื่อว่าถ้าเป็นคนเคาะซื้อเคาะขายหุ้นด้วยตัวเอง น่าจะสร้างผลตอบแทนได้เป็นกอบเป็นกำ ตอนนั้นมีเงินเก็บอยู่ 5 แสนบาทได้ รวมกับเงินที่พี่ชายฝากมาเล่นหุ้นด้วยอีก 2 แสน รวมเป็นเงิน 7 แสนบาท
หลังจากทำงานมาร์เก็ตติ้งมา 1 ปีเต็ม จนถึงสิ้นปี 2005 ในที่สุดผมก็หมดตัว เนื่องจากเล่นไปตามอารมณ์เหมือนการพนัน เล่นหนักๆเกินตัว ต้องไปขอยืมเงินพี่ชายเพิ่มมาอีกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน พี่ชายผมพอรู้ว่าเงิน 2 แสนของพี่สูญไปหมด ก็โกรธผมอย่างมาก ทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยดีๆในครอบครัวต้องเลวร้ายลงอย่างมาก
ผมลาออกจากมาร์เก็ตติ้งมาทำงานเป็นวิศวกรในโรงงานอีกครั้ง และห่างหายไปจากตลาดหุ้นในช่วงปี 2006-2008 แต่ก็เฝ้าดูอยู่ห่างๆ จนถึงช่วงที่ตลาดหุ้นตกหนักในปลายปี 2008 ผมก็เริ่มเอาเงินที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 3 หมื่นบาทมาลงทุนในช่วงมกราคม 2009 แล้วก็เอาเงินเดือนที่เก็บเพิ่มได้ในแต่ละเดือนอีกประมาณเดือนละหมื่นบาทไปลงทุนเพิ่มทุกเดือน เนื่องจากผมรู้สึกเข็ดกับอดีตอันเลวร้ายของผม ผมจึงตั้งใจศึกษาและค้นหาวิธีการลงุทนที่เป็นหลักการจนมาพบเวบไซต์ของคุณโย (yoyo) เมื่อได้อ่านก็ยิ่งรู้สึกว่าใช่แนวทางที่ถูกต้อง แล้วผมก็มารู้จักหนังสือของ ดร.นิเวศน์ และเวปไซต์แห่งนี้ในภายหลัง โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุด ผมได้มารู้จักสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก คือดอกเบี้ยทบต้น ผมนั่งคำนวณด้วย Excel นั่งคำนวณทั้งวันโดยเปลี่ยนตัวเลขไปเรื่อยๆ แล้วก็เหมือนดวงตาเห็นธรรม เพราะเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้รู้และมั่นใจว่าผมเจอหนทางที่จะมีเงินได้ถึงร้อยล้านพันล้านในชีวิตของผมได้
ผมจะเตือนตัวเองเสมอว่าอย่าผิดพลาดอีก อย่าขาดทุนเด็ดขาด ดังนั้นผมจึงค่อยๆพัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ โดยในตอนต้นปี 2009 ผมจะลงทุนในหุ้นที่รู้สึกว่าตกต่ำลงมามาก แต่คาดว่าผลประกอบการไตรมาสถัดไปน่าจะดีอยู่ พอถึงกลางปี 2009 ผมก็เริ่มเปลี่ยนมุมมอง คือมองหาบริษัทที่คิดว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะมั่นใจได้ว่าผลประกอบการจะต้องดีขึ้นอย่างโดดเด่น จนมาถึงตอนนี้ ผมจะเลือกลุงทุนในบริษัทที่ผมคิดว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าผลประกอบการก็จะมั่นใจได้แน่ว่าจะดีขึ้นอย่างแน่นอน อาจจะไม่ได้ก้าวกระโดดมากมาย แต่เติบโตต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อย 15% ต่อปี และผมจะคิดถึคงกรณีที่เลวร้ายสุดไว้เสมอ ว่าหากมีปัญหาการเมือง หรือวิกฤติการเงินจะส่งผลอะไรต่อบริษัทหรือไม่ ผมจะเลือกบริษัทที่มีภูมิต้านทานสูง เสมือนมาอยู่หอพัก หรือคอนโดสูงแล้วมองหาประตูหนีไฟเอาไว้ก่อน
ผมตั้งเป้าระยะยาวไว้กับตัวเองจนถึงอายุ 60 ปี ทำเป็น Grant chart เอาไว้ว่าแต่ละปีจะมีทรัพย์สินมูลค่าเท่าไร ผมคาดหวังไว้ที่ 18% ต่อปี ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่าย ผมจะมีเงินประมาณ 100 ล้านบาทเมื่อมีอายุประมาณ 55 ปี ซึ่งเป็นปีที่ผมตั้งใจว่าจะตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของผมมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัย
จากประสบการณ์ของผม ยามที่ผมโลภ ไม่รู้จักพอ หวังรวยเร็ว ผมจะขาดทุนอย่างหนัก แต่ยามที่ผมรู้จักพอ ไม่หวังรวยเร็ว กลับมีกำไรมากกว่าที่คาด มันเป็นสัจธรรมสำหรับชีวิตผม ผมเรียนรู้ว่าในตลาดหุ้น จิตใจสำคัญกว่าความรู้มากยิ่งนัก
from
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=42375
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9677379/I9677379.html
วันนี้ผมตัดสินใจตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพราะรู้สึกดีใจ ภูมิใจว่าในที่สุด หลังจากทำงานมาเป็นเวลาถึง 10 ปี ก็สามารถมีพอร์ทลงทุนในหุ้นที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในชีวิต (ถึงแม้ว่าพรุ่งนี้หุ้นจะมีราคาลงไปบ้างก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็ได้ชื่อว่ามีเงินล้านแล้วในวันนี้ อิอิ ) และหวังว่าประสบการณ์ชีวิตผมจะเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆคนมีความพยายามในการไปให้ถึงเป้าหมายในอนาคตต่อไป
บางคนอาจจะรู้สึกว่าเงิน 1 ล้านบาทนั้นหามาได้ไม่ยากนัก แต่สำหรับผมแล้ว มันช่างเป็นจำนวนเงินที่มากมายเหลือเกิน ผมมาจากฐานะทางบ้านที่ไม่ดีนัก เรียนหนังสือก็อาศัยทุนการศึกษา ทุนอาหารกลางวัน มาตลอด แม่ก็เข็นรถเข็นขายข้าวแกงมีรายได้ไม่มากนัก ผมได้เงินไปเรียนมหาวิทยาลัยวันละ 50 บาท พอเรียนจบมาได้ไม่นาน แม่ก็หยุดขายข้าวแกงเพราะไม่ไหว ผมกับพี่และน้องชายต้องช่วยกันรวมเงินมาไว้ให้แม่ทุกเดือน ทำงานครั้งแรกเงินเดือน 15,000 บาท ผมให้แม่เดือนละ 10,000 บาททุกเดือน ใช้เอง2-3 พันบาท เหลือเก็บเดือนละ 2 พันบาท และไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่าในชีวิตนี้จะมีวันที่มีเงิน 1 ล้านบาทได้
ผมเริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกเมื่อประมาณ 8 ปีที่แล้ว (ปี 2002) ตอนนั้นผมทำงานเป็นวิศวกรได้ประมาณ 2 ปี ตอนนั้นเล่นไปตามบทวิเคราะห์ ได้บ้างเสียบ้าง จนเมื่อผมทำงานมาได้ 5 ปี (ปี 2005) ผมก็ตัดสินใจไปทำงานเป็น มาร์เก็ตติ้ง โดยมีความเชื่อว่าถ้าเป็นคนเคาะซื้อเคาะขายหุ้นด้วยตัวเอง น่าจะสร้างผลตอบแทนได้เป็นกอบเป็นกำ ตอนนั้นมีเงินเก็บอยู่ 5 แสนบาทได้ รวมกับเงินที่พี่ชายฝากมาเล่นหุ้นด้วยอีก 2 แสน รวมเป็นเงิน 7 แสนบาท
หลังจากทำงานมาร์เก็ตติ้งมา 1 ปีเต็ม จนถึงสิ้นปี 2005 ในที่สุดผมก็หมดตัว เนื่องจากเล่นไปตามอารมณ์เหมือนการพนัน เล่นหนักๆเกินตัว ต้องไปขอยืมเงินพี่ชายเพิ่มมาอีกเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน พี่ชายผมพอรู้ว่าเงิน 2 แสนของพี่สูญไปหมด ก็โกรธผมอย่างมาก ทำให้ความสัมพันธ์ที่เคยดีๆในครอบครัวต้องเลวร้ายลงอย่างมาก
ผมลาออกจากมาร์เก็ตติ้งมาทำงานเป็นวิศวกรในโรงงานอีกครั้ง และห่างหายไปจากตลาดหุ้นในช่วงปี 2006-2008 แต่ก็เฝ้าดูอยู่ห่างๆ จนถึงช่วงที่ตลาดหุ้นตกหนักในปลายปี 2008 ผมก็เริ่มเอาเงินที่มีอยู่ทั้งหมดประมาณ 3 หมื่นบาทมาลงทุนในช่วงมกราคม 2009 แล้วก็เอาเงินเดือนที่เก็บเพิ่มได้ในแต่ละเดือนอีกประมาณเดือนละหมื่นบาทไปลงทุนเพิ่มทุกเดือน เนื่องจากผมรู้สึกเข็ดกับอดีตอันเลวร้ายของผม ผมจึงตั้งใจศึกษาและค้นหาวิธีการลงุทนที่เป็นหลักการจนมาพบเวบไซต์ของคุณโย (yoyo) เมื่อได้อ่านก็ยิ่งรู้สึกว่าใช่แนวทางที่ถูกต้อง แล้วผมก็มารู้จักหนังสือของ ดร.นิเวศน์ และเวปไซต์แห่งนี้ในภายหลัง โดยเฉพาะที่สำคัญที่สุด ผมได้มารู้จักสิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก คือดอกเบี้ยทบต้น ผมนั่งคำนวณด้วย Excel นั่งคำนวณทั้งวันโดยเปลี่ยนตัวเลขไปเรื่อยๆ แล้วก็เหมือนดวงตาเห็นธรรม เพราะเป็นครั้งแรกในชีวิตที่ผมได้รู้และมั่นใจว่าผมเจอหนทางที่จะมีเงินได้ถึงร้อยล้านพันล้านในชีวิตของผมได้
ผมจะเตือนตัวเองเสมอว่าอย่าผิดพลาดอีก อย่าขาดทุนเด็ดขาด ดังนั้นผมจึงค่อยๆพัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ โดยในตอนต้นปี 2009 ผมจะลงทุนในหุ้นที่รู้สึกว่าตกต่ำลงมามาก แต่คาดว่าผลประกอบการไตรมาสถัดไปน่าจะดีอยู่ พอถึงกลางปี 2009 ผมก็เริ่มเปลี่ยนมุมมอง คือมองหาบริษัทที่คิดว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้าจะมั่นใจได้ว่าผลประกอบการจะต้องดีขึ้นอย่างโดดเด่น จนมาถึงตอนนี้ ผมจะเลือกลุงทุนในบริษัทที่ผมคิดว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้าผลประกอบการก็จะมั่นใจได้แน่ว่าจะดีขึ้นอย่างแน่นอน อาจจะไม่ได้ก้าวกระโดดมากมาย แต่เติบโตต่อเนื่องทุกปี อย่างน้อย 15% ต่อปี และผมจะคิดถึคงกรณีที่เลวร้ายสุดไว้เสมอ ว่าหากมีปัญหาการเมือง หรือวิกฤติการเงินจะส่งผลอะไรต่อบริษัทหรือไม่ ผมจะเลือกบริษัทที่มีภูมิต้านทานสูง เสมือนมาอยู่หอพัก หรือคอนโดสูงแล้วมองหาประตูหนีไฟเอาไว้ก่อน
ผมตั้งเป้าระยะยาวไว้กับตัวเองจนถึงอายุ 60 ปี ทำเป็น Grant chart เอาไว้ว่าแต่ละปีจะมีทรัพย์สินมูลค่าเท่าไร ผมคาดหวังไว้ที่ 18% ต่อปี ซึ่งเมื่อหักค่าใช้จ่าย ผมจะมีเงินประมาณ 100 ล้านบาทเมื่อมีอายุประมาณ 55 ปี ซึ่งเป็นปีที่ผมตั้งใจว่าจะตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อช่วยเหลือสังคมซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของผมมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียนอยู่มหาวิทยาลัย
จากประสบการณ์ของผม ยามที่ผมโลภ ไม่รู้จักพอ หวังรวยเร็ว ผมจะขาดทุนอย่างหนัก แต่ยามที่ผมรู้จักพอ ไม่หวังรวยเร็ว กลับมีกำไรมากกว่าที่คาด มันเป็นสัจธรรมสำหรับชีวิตผม ผมเรียนรู้ว่าในตลาดหุ้น จิตใจสำคัญกว่าความรู้มากยิ่งนัก
from
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=42375
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9677379/I9677379.html
19 กันยายน 2553
ความรักออกแบบได้ Sex in the Museum
โดย : หนุ่มลูกทุ่ง | ||||
นี่คือหนึ่งในหลายๆข้อความในหัวข้อ What is Love? ที่ทางนิทรรศการสุขภาวะทางเพศ ภายในองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) นำมาจัดแสดงไว้ให้ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหนุ่มสาวได้เรียนรู้เรื่องสุขภาวะทางเพศผ่านการนำเสนอในรูปแบบนิทรรศการจากพิพิธภัณฑ์อย่างถูกต้องเหมาะสม | ||||
การทำความเข้าใจ และการให้คำตอบกับวัยรุ่นในเรื่องดังกล่าวนี้ ในประเทศของเรายังมีข้อจำกัดอยู่มากทั้งทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้งความเชื่อบางอย่างในการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา ที่นำไปสู่การกระตุ้นให้มีเพศสัมพันธ์ ทำให้วัยรุ่นส่วนหนึ่งหาความรู้ด้วยตัวเองหรือจากกลุ่มเพื่อน โดยวิธีนี้จะทำให้เขาได้รับความรู้และวิธีคิดที่ไม่รอบด้าน อาจเกิดความเข้าใจที่ผิด ซึ่งจะมีผลต่ออนาคตของตัวเขาเอง ครอบครัว และสังคมรอบข้าง | ||||
การให้ความรู้เรื่องเพศ หรือเพศศึกษาจึงเป็นเรื่องจำเป็นต่อการเรียนรู้โดยเฉพาะของกลุ่มวัยรุ่น ให้ได้รู้เท่าทันและเข้าใจถึงอารมณ์ความรู้สึก วิธีคิด ความคิดที่แตกต่าง เข้าใจถึงความรัก การรักษาความสัมพันธ์ และการดูแลตัวเอง ทาง อพวช. จึงได้ร่วมกับ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) จัดสร้าง “นิทรรศการสุขภาวะทางเพศ” ซึ่งให้การเรียนรู้เรื่องเพศในทุกด้าน | ||||
| ||||
ต่อมาจะเข้าสู่ส่วน “ความรักและความปรารถนา” โดยจะแสดงในเรื่องของการเรียนรู้ธรรมชาติของมนุษย์เมื่อเกิดความรัก พิจารราว่าความรักของตนเองเป็นแบบใดในรูปแบบของความรัก 7 แบบ อีกทั้งยังช่วยให้เรารู้จักพฤติกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างมีความรักในรูปแบบต่างๆ และบททดสอบความรักของตัวเอง ซึ่งสามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ | ||||
และการปฏิบัติตนเมื่อไม่มีความรักต่อกันหรือเมื่อความสัมพันธ์นั้นสิ้นสุดลงก็สำคัญเช่นกัน เพราะหลายคนเมื่อพบเจอกับความผิดหวังจากความสัมพันธ์ ไม่อาจจะหาทางออกให้กับความรู้สึกนี้ได้ จึงมักทำร้ายตนเอง และอาจถึงขั้นฆ่าตัวตายเลยก็เป็นได้ ดังนั้นเมื่อรู้จักรักแล้วก็ต้องรู้จักวิธีการเลิกรักให้เป็นด้วย | ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * นิทรรศการสุขภาวะทางเพศ (Healthy Sexuality-Story of Love) ตั้งอยู่ภายในอาคารองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดทุกวันเว้นวันจันทร์ เวลา 09.30-16.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-17.00 น. โดยนิทรรศการจะมีจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0-2577-9999 |
from http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9530000129161
ทับทิม’ ป้องกันสมองเสื่อม
‘มุมสุขภาพ-กินดี’ สรรหาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมาปิดท้ายให้เข้าธีมของสัปดาห์ที่ว่ากันถึง ‘อาการสมองเสื่อม’ ซึ่งสามารถป้องกันด้วย ‘ทับทิม’ ผลไม้มากคุณค่า สีสันสวยงาม โดยคุณพล ตัณฑเสถียร ฟู้ดสไตลิสต์คนดัง สร้างสรรค์เป็นเครื่องดื่มแก้วเก๋ ชื่อ ‘Red Shooter’…
ทับทิม เป็นผลไม้ที่มีสรรพคุณป้องกันอาการหลง ๆ ลืม ๆ ทั้งยังช่วยบำรุงผิวพรรณ ในส่วนของเมล็ดยังอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระตัวการก่อมะเร็ง
นอกจากทับทิมแล้ว เครื่องดื่มแก้วนี้ยังต้องการส่วนผสมเพื่อเพิ่มคุณค่าเข้าไปอีก มีทั้งแตงโม มะนาว ส้ม และสับปะรด ที่เปี่ยมไปด้วยวิตามินซี ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ และทำให้แผลหายเร็วอีกด้วย
สรุปส่วนผสมที่ต้องเตรียม คือ....
ทับทิม
แตงโม
มะนาว
ส้ม
สับปะรด
ขั้นตอนในการทำ เริ่มจากการแกะเมล็ดทับทิมออกจากผล แล้วใส่รวมกันในผ้าขาวบาง บีบคั้นเอาแต่น้ำ ส่วนผลไม้ชนิดอื่นๆ นำไปคั้นเอาแต่น้ำเช่นกัน เมื่อได้ส่วนผสมทั้งหมดแล้วให้นำไปผสมรวมกัน จากนั้นนำไปเขย่ารวมกับน้ำแข็งก้อนใหญ่เพียงชั่วครู่ ก็จะได้เครื่องดื่มรสเปรี้ยวอมหวานที่เย็นจับใจ ดื่มได้ทันที.
from http://variety.teenee.com/foodforbrain/28517.html
ภาพ 3 มิติ ชุดที่ 7
from http://variety.teenee.com/foodforbrain/28765.html
ภาพ 3 มิติ ชุดที่ 6
from http://variety.teenee.com/foodforbrain/28766.html
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
บทความยอดนิยม (ล่าสุด)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
*คนที่อายุครบ 55 ปี ต้องไปแจ้งรับสิทธิ์ที่สำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน ภายใน 1 ปี ไม่งั้นถือว่าสละสิทธิ์ ที่มา SSO https://www.kwilife.com...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
To replace each new line with enter ( \n) in Visual Studio Code ( vscode ) do the steps from images below and click "Replace All&qu...
-
โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) “To invent, you need a good imagination and a pile of junk.” ในการประดิษฐ์คิดค้น คุณจะ...
-
กองทุนรวมดัชนี S&P500 นั้นเป็นกองทุนรวมที่อิงกับดัชนี S&P 500 ของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหุ้นของบริษัทที่มี Market Cap ใหญ่สุด 5...
-
ปีชวด (ปีหนู): http://goo.gl/fA8bYu ปีฉลู (ปีวัว): http://goo.gl/C6RCgS ปีขาล (ปีเสือ): http://goo.gl/7Yy91f ปีเถาะ (ปีกระต่าย): http://g...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
รวม Super App และ Website เกี่ยวกับการท่องเที่ยว จองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรม แพ็คเกจทัวร์ท่องเที่ยว และตั๋วกิจกรรมท่องเที่ยวต่างๆ เช่น บัต...
บทความยอดนิยม (1 ปีย้อนหลัง)
-
หมากฮอส เป็นกีฬาหมากกระดานประเภทหนึ่ง ประกอบด้วยผู้เล่น 2 ฝ่าย อุปกรณ์การเล่น ได้แก่ กระดานและตัวหมาก ...
-
รวมโปรโมชั่นซื้อกองทุนรวม SSF RMF 2566 ของแต่ละ บลจ (ข้อมูลล่าสุด กันยายน 2566) บลจ. บัวหลวง ลงทุนกองมทุน RMF / SSF ปี 66 รับฟรี Starbuc...
-
หลายคนที่กำลังลังเลว่าจะทำงานอะไร มักจะมีคำถามว่า ทำงานข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ พนักงานบริษัทเอกชน ทำงานอะไรดี? ซึ่งกลุ่มงานทั้ง ...
-
REIT คืออะไร สมัยก่อน เรามักจะเห็นคนรวยชอบซื้อ ชอบสะสมอสังหาริมทรัพย์ ที่มีทำเลดีๆ และราคาไม่สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน ทาวน์เฮ้าส์ เพ...
-
เมตตาทุนนิยม - ปรีชา ประกอบกิจ เคยได้ยินคำว่า “เมตตาทุนนิยม” ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Com passionate Capitalism กันบ้างไหมครับ ก่อนอื่นต...
-
https://www.youtube.com/watch?v=728hIrzcXqw ที่มา https://www.facebook.com/ZipmexThailand https://www.youtube.com/@Zipmex/videos LINE กลุ...
-
โธมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) “To invent, you need a good imagination and a pile of junk.” ในการประดิษฐ์คิดค้น คุณจะ...
-
ปีชวด (ปีหนู): http://goo.gl/fA8bYu ปีฉลู (ปีวัว): http://goo.gl/C6RCgS ปีขาล (ปีเสือ): http://goo.gl/7Yy91f ปีเถาะ (ปีกระต่าย): http://g...
-
*ดูรีวิว ประกันออมทรัพย์ 10/1 ปีล่าสุดได้ที่ Link ประกันออมทรัพย์ ประกันออมทรัพย์นั้น เป็นสิ่งที่ค่อนข้างน่าสนใจเนื่องจาก 1. สามารถลดหย่อน...
-
[แจกฟรี] ตารางการออมเงินแบบ DCA ให้ครบ 1 ล้านบาท แบ่งตามจำนวนเงินที่จะ DCA แต่ละเดือน และผลตอบแทนต่อปี เช่น ถ้าเราฝากออมทรัพย์ได้ดอกเบี้ยปีล...