28 เมษายน 2563

gitlab public IP range

These are the list of public IP addresses of gitlab, gitlab ci, gitlab runner, gitlab webhook.

184.22.242.115
8.34.208.0/20
8.35.192.0/21
8.35.200.0/23
108.59.80.0/20
108.170.192.0/20
108.170.208.0/21
162.216.148.0/22
23.236.48.0/20
199.223.236.0/23
199.223.232.0/22
199.192.112.0/22
192.158.28.0/22
162.222.176.0/21
173.255.112.0/20
130.211.8.0/21
35.203.240.0/20
35.203.192.0/19
35.203.128.0/18
35.203.0.0/17
23.251.128.0/19
146.148.64.0/18
146.148.32.0/19
146.148.16.0/20
146.148.8.0/21
146.148.4.0/22
146.148.2.0/23
107.178.192.0/18
107.167.160.0/19
35.208.0.0/13
35.204.0.0/14
40.79.75.98
13.68.20.218
40.84.58.110
40.84.59.249
13.68.21.26
40.84.62.218
40.84.58.172
40.84.0.225
40.84.6.191
40.84.3.129
40.84.31.149
104.208.241.47
130.211.16.0/20
130.211.32.0/19
130.211.64.0/18
104.208.242.23
130.211.128.0/17
104.208.241.215
58.221.55.205
192.241.155.107
104.154.0.0/15
67.205.157.233
104.210.2.228
35.235.216.0/21
35.200.0.0/15
35.199.128.0/18
35.199.0.0/17
35.198.0.0/16
35.196.0.0/15
35.192.0.0/14
35.235.224.0/20
35.190.192.0/19
35.190.128.0/18
35.190.0.0/17
35.216.0.0/15
35.188.0.0/15
35.184.0.0/14
104.196.0.0/14
208.68.108.0/23
35.128.0.0/9
198.211.96.0/19
167.99.0.0/16
165.227.0.0/16
162.243.160.0/20
159.89.0.0/16
67.207.80.0/20
35.240.0.0/13
35.224.0.0/12
35.208.0.0/12
35.192.0.0/12
35.184.0.0/13
35.229.73.26
35.229.57.66
35.227.30.36
35.227.29.7
35.196.84.160
35.196.52.77
35.196.49.122
35.196.157.59
35.190.135.156
198.211.104.29
167.99.4.32
167.99.14.148
167.99.1.123
104.196.13.25
52.184.198.203
52.184.196.138
52.184.195.57
52.184.195.32
52.184.195.9
52.184.194.155
52.184.189.123
40.79.45.48
40.79.46.26
40.79.46.123
40.84.62.244
40.84.63.177
40.79.42.83

from https://gitlab.com/gitlab-com/gl-infra/infrastructure/-/issues/434

20 เมษายน 2563

เด็กบ้านนอกขอเล่า part 3

เนื้อหาตอนที่แล้ว Link


ยิ่งให้ ยิ่งได้

มีคนเคยกล่าวไว้ว่าการให้คือสิ่งที่ดี "ยิ่งให้ ยิ่งได้" ซึ่งสมัยก่อนนั้น ผมก็ไม่ค่อยเข้าใจว่าทำไมยิ่งให้ ถึงยิ่งได้ ในเมื่อคนที่เป็นฝ่ายให้นั้นน่าจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ

และผมยังเคยได้ยินหลักการ หลักการนึงที่บอกว่า ชีวิตของเรานั้นตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน มีคนที่มีบุญคุณกับเราเยอะมาก นับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสำคัญ หรือเรื่องเล็กน้อย ซึ่งหลายๆ คน เราอาจจะไม่มีโอกาสได้เจอ หรือบางคนอาจจะเสียชีวิตไปแล้ว แต่เราก็สามารถตอบแทนคนเหล่านั้นได้โดยการให้ที่เรียกว่า Give forward หรือ การทำความดี การให้ กับคนอื่นๆ ในปัจจุบันและอนาคต

นอกจากนั้น ตั้งแต่เราเกิดมาจนถึงปัจจุบัน เราอาจจะได้ทำในสิ่งที่ผิดพลาด เบียดเบียน ทำไม่ดีกับคนอื่นๆ หลากหลายคน โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่ง ถ้าเป็นไปได้ เราก็ควรขอโทษ ขอขมากับคนเหล่านั้น นอกจากนั้น เราก็ควรเก็บความผิดพลาดในอดีต มาเป็นบทเรียนเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดอีกในอนาคต และพยายามทำความดี กับคนอื่นๆ ในปัจจุบันและอนาคตให้มากๆ

จากการผ่านชีวิตมาหลายปี ตอนนี้ผมเห็นด้วยมากๆ กับหลักการข้างต้น ผมคิดว่า การทำความดี การให้นั้น ทำได้หลากหลายรูปแบบมาก บางอย่างก็ใช้เงิน แต่บางอย่างก็ไม่ต้องใช้เงินเลย หรือใช้เงินน้อยมากๆ เช่น

1. การให้ทาน การบริจาคเงิน การช่วยเหลือ คนยากคนจน วัดวาอาราม สัตว์ ต้นไม้ หรือมูลนิธิต่างๆ

2. การทำกิจกรรม CSR ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โรงเรียน หรือบริษัทที่เราเรียนหรือทำงานอยู่

3. การทำจิตอาสา กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กับมูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ

4. การตอบแทนบุญคุณคนที่มีบุญคุณแก่เรา เช่นการให้เงิน พาไปทำบุญ พาไปเที่ยว ทานข้าวนอกบ้าน

5. การช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน หรือคนอื่นๆ ที่รู้จักและไม่รู้จัก

6. การบริจาคเลือด บริจาคอวัยวะ บริจาคร่างกาย

7. การคัดแยกขยะ ทิ้งขยะให้ถูกที่ เก็บขยะ

8. การถือศีล กินเจ อาจจะทำเท่าที่ทำได้และทำไหว

9. การปลูกป่า เพิ่มพื้นที่สีเขียว

10. อื่นๆ อีกมากมาย

ซึ่งการให้นั้น ควรจะเป็นการให้ด้วยความจริงใจ ไม่หวังผลตอบแทน และไม่เกินกำลังตัวเอง ไม่ทำให้ตัวเราเองเดือดร้อน

อานิสงค์ของการให้นั้น จะทำให้เราลดความเห็นแก่ตัว ลดการอิจฉาริษยา ลดการเอารัดเอาเปรียบ ลด negative thinking ต่างๆ ทำให้เรามีความสุข มี positive thinking ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้รับประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆ ได้รู้จักคนมากขึ้น ทำให้เราเจริญก้าวหน้า มีฐานะที่ดี และมีสุขภาพที่ดีครับ

ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรงมาก ผมอยากจะเชิญชวนผู้อ่านทุกท่าน มาเป็นผู้ให้กัน อาจจะเริ่มต้นจากคนละเล็กละน้อยตามกำลัง น่าจะทำให้โลกใบนี้น่าอยู่มากขึ้น

ลิ้งค์ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างเว็บที่ ผมมักจะเข้าไปบริจาคเงิน หรือทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ หรือวิ่งมาราธอนต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านครับ

  • เทใจดอทคอม เว็บบริจาคเงิน Link
  • ธนาคารจิตอาสา เว็บทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ Link
  • เฟสบุ๊คเพจวิ่งไหนดี รวมงานวิ่ง Link

เด็กบ้านนอกขอเล่า part 2

 เนื้อหาตอนที่แล้ว Link


Critical Thinking

"Critical Thinking หรือ การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นความสามารถในการคิด วิเคราะห์ พิจารณา ประเมินและตัดสินใจข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นเหตุเป็นผล โดยมีพื้นฐานมาจากผลงานของ Benjamin Bloom (1956) โดยเป็นการจัดหมวดหมูพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านสติปัญญา โดยแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจ การประยุกต์ใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ และการประเมิน โดยรวมแล้วทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ หรือ Critical Thinking คือกระบวนการคิดวิเคราะห์และแยกแยะข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยไม่เอาความรู้สึกหรือความเชื่อส่วนตัวมาปะปน ทำให้เป็นทักษะที่สำคัญในด้านการตัดสินใจ โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูลมากมาย ถูกลำเลียงมาสู่สายตาเราอย่างง่ายดาย" ที่มา https://www.terrabkk.com/articles/197784

ปัจจุบัน คำว่า Critical Thinking นั้น เป็นคำที่ฮิตมากๆ ซึ่งในสมัยก่อนนั้นไม่มีคำๆ นี้ ผมได้มีโอกาสศึกษารายละเอียดทฤษฎี Critical Thinking อย่างคร่าวๆแล้ว ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงสมัยเรียนปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัย

ซึ่งสมัยเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้น ผมได้มีโอกาสเรียนวิชาคณิตศาตร์ ซึ่งเนื้อหาของวิชานั้นค่อนข้างน่าสนใจ โดยจะเน้นไปที่การ proof, ตรรกะการหาเหตุและผล มีการยก scenario ต่างๆ หลายอย่างขึ้นมา และให้เราทำการพิสูจน์เพื่อหาเหตุและผลก่อนที่จะสรุป และอาจารย์ที่สอนก็มักจะย้ำกับนักศึกษาบ่อยๆ ว่าอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ ต้องพิสูจน์ ต้องหาเหตุและผลก่อนค่อยเชื่อ ซึ่งน่าจะคล้ายๆ กับหลักการ Critical Thinking เหมือนกัน

นอกจากนั้น ถ้าใครได้ศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็น่าจะเคยได้ยินเรื่อง "กาลามสูตร" ที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้เมื่อ 2 พันกว่าปีที่แล้ว ซึ่งหลักการต่างๆ นั้นแทบจะเรียกได้ว่านี่คือ Critical Thinking เลยครับ

"กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
1. มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟัง ๆ ตามกันมาหรือเพียงใครพูดให้ฟัง
2. มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบ ๆ กันมาอย่างยาวนาน
3. มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือหรือคนส่วนใหญ่เชื่อกัน
4. มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือมีในคัมภีร์
5. มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล
6. มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน (คาดคะเน) และการเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้มาปะติดปะต่อกัน
7. มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อเพราะการเห็นด้วยตา หรือตามลักษณะอาการที่แสดงออกมาน่าจะเป็นไปได้
8. มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีหรือทิฏฐิของตนหรือตามอคติในใจ
9. มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อเพราะผู้พูดน่าเชื่อถือ หรือเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ หรือเพราะเป็นผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
10. มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อเพราะเคารพนับถือว่าคนพูดเป็นสมณะผู้นำทางจิตวิญญาณของเรา เป็นครูของเรา เป็นศาสดาของเรา"

ผมคิดว่า concept เหล่านี้ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก และใช้ได้กับชีวิตประจำวัน เพราะในโลกปัจจุบันนั้น มีข้อมูลข่าวสารต่างๆ มากมาย หลากหลายรูปแบบ หลากหลายช่องทาง เช่น ข่าว วิทยุ วิดีโอ โฆษณา การบอกเล่าปากต่อปาก การได้ยิน ได้เห็น จากคนอื่นๆ ซึ่งถ้าเราเป็นคนที่เชื่อคนง่าย หรือไม่มีเหตุและผลนั้น อาจจะทำให้ตัดสินใจผิดพลาดได้ครับ


อ่านตอน 3 ได้ที่ Link

เด็กบ้านนอกขอเล่า part 1

จากสถานการณ์โควิด19 ทำให้มีผมได้มีเวลาอยู่กับตัวเองมากขึ้น มีโอกาสทบทวนชีวิต ทบทวนอดีต และเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมามากมาย เลยคิดว่าอยากจะนำประสบการณ์มาเขียนเป็นบทความ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย

*บทความนี้ ผมจะไม่ขอเอ่ยชื่อบุคคลหรือสถานที่นะครับ ผมไม่อยากให้เกิดการวิพากวิจารณ์ในทางไม่ดีครับ

*บทความนี้ผมไม่ได้มีเจตนาจะโอ้อวดตัวเองนะครับ และผมก็ไม่ได้เป็นคนประสบความสำเร็จหรือร่ำรวยอะไรเลย ผมเป็นพนักงานออฟฟิศ มนุษย์เงินเดือนทั่วไป ที่ต้องการแชร์ประสบการณ์ตัวเองเฉยๆครับ


แนะนำตัวคร่าวๆ

ผมเป็นเด็กบ้านนอกจากภาคอีสาน ที่ไม่ได้เรียนเก่งอะไร จบชั้นมัธยมจากโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์

สมัยนั้นจะเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐ ต้องสอบเอนทรานซ์ให้ได้คะแนนสูงๆ เพื่อแข่งขันกับนักเรียนทั่วประเทศ

ผมจำได้ว่าตอนสอบแต่ละวิชานั้น เดาเกือบหมดทุกวิชา ทำข้อสอบแทบจะไม่ได้เลย แต่บังเอิญโชคดีสอบเอนทรานซ์ติดวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยของรัฐในภาคอีสาน ซึ่งติดในอันดับท้ายๆ ทำให้ได้รับโอกาสที่ดีๆ ต่างๆ มากมาย


ภาษาอังกฤษนั้นสำคัญมาก

ผมเป็นคนที่อ่อนภาษาอังกฤษมาก สอบเอนทรานซ์ก็เดาข้อสอบทั้ง 100 ข้อเลย และได้คะแนน 30 กว่าๆ สมัยเรียนมหาวิทยาลัยก็เคยสอบ TOEIC 1 ครั้ง ได้คะแนน 300 กว่าเต็ม 1,000 คะแนน

การเรียนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยนั้น ทางมหาวิทยาลัยจะแบ่งกลุ่มนักศึกษาโดยใช้คะแนนสอบเอนทรานซ์เป็นเกณฑ์ ใครได้คะแนนสูงสุดก็ได้อยู่ห้อง 11 ใครได้คะแนนต่ำสุดก็อยู่ห้อง 21 ส่วนผมได้อยู่ห้อง 20

ตั้งแต่เด็กจนถึงตอนเรียนมหาวิทยาลัย ผมไม่ได้เห็นความสำคัญและไม่เห็นประโยชน์ของภาษาอังกฤษเลย ดูทีวีก็ดูแต่ช่องภาษาไทย อ่านหนังสือก็อ่านภาษาไทย หรือหนังสือแปลไทย อินเตอร์เน็ตสมัยนั้นก็ยังไม่มี คนรู้จักที่เป็นชาวต่างชาติก็ไม่มี และไม่เคยได้คุยกับชาวต่างชาติเลย ความรู้ภาษาอังกฤษก็ไม่มี รู้แค่ศัพท์พื้นฐาน ทักษะฟังพูดอ่านเขียนภาษาอังกฤษนั้นแทบจะเป็นศูนย์

ผมได้มีโอกาสเรียนวิชาคณิตศาตร์ กับอาจารย์ท่านนึง ซึ่งอาจารย์ท่านนี้ มักจะพูดกับลูกศิษย์บ่อยๆ เกี่ยวกับความสำคัญของภาษาอังกฤษ

"ความรู้ทั่วทุกมุมโลกไม่ว่าจะอยู่ในหนังสือ หรืออยู่บนอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่นั้นจะเป็นภาษาอังกฤษ"

"ถ้าเรารู้ภาษาอังกฤษ เราจะหาความรู้ได้มากมาย เราจะเก่งได้อีกเยอะ โลกของเราจะกว้างขึ้น ใหญ่ขึ้น"

"ถ้าเราอ่านหนังสือที่เป็นภาษาอังกฤษ เราจะได้ความรู้แบบ first hand เนื่องจากเราได้อ่านสิ่งที่คนแต่งหนังสือนั้นต้องการจะสื่อ แต่ถ้าเราอ่านหนังสือแปล เราจะได้ความรู้แบบ second hand เนื่องจากเราต้องพึ่งพาคนแปล "

ซึ่งผมเห็นด้วยกับที่อาจารย์บอก และเริ่มจะมองเห็นความสำคัญของภาษาอังกฤษ

การเรียนที่มหาวิทยาลัยนั้น ในแต่ละเทอมจะเรียนอยู่ประมาณ 4-5 วิชา ซึ่งอาจารย์จะสอนโดยใช้หนังสือ text book ภาษาอังกฤษเป็นหลัก เล่มนึงก็น่าจะมีประมาณ 500-1,000 หน้า

การอ่านหนังสือ text book นั้น ทำให้ผมได้มีโอกาสฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ และได้เรียนรู้ศัพท์ภาษาอังกฤษต่างๆ มากมาย แต่ก็เป็นอุปสรรคที่ค่อนข้างลำบากมาก

การอ่าน text book โดยไม่มีความรู้ grammar และคำศัพท์นั้น ผมจะทำการแปลแต่ละประโยคโดยเปิด dictionary ในทุกคำที่ไม่รู้ แล้วพยายามสรุปเอาว่าคนแต่งหนังสือเขาจะบอกอะไรกับเรา ซึ่งใช้เวลานานมาก กว่าจะทำความเข้าใจได้แต่ละหน้า ถ้าประโยคไหน ผมไม่เข้าใจ ผมก็จะ highlight ไว้ แล้วค่อยไปถามอาจารย์ทีหลัง ซึ่งผมโชคดีมากๆ ที่อาจารย์ท่านเมตตาและใจดี ที่ช่วยแปลประโยคและอธิบายเพิ่มเติมให้

ปัจจุบัน ผมได้ทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ที่บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ได้มีโอกาสทำงานและพูดคุยกับชาวต่างชาติหลายคน ได้มีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ้าง เวลาจะศึกษาหาความรู้หรือค้นหาข้อมูล ข้อมูลทุกอย่างก็จะเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผมโชคดีมากๆ ที่ได้เห็นความสำคัญและได้เริ่มศึกษาภาษาอังกฤษเมื่อหลายปีก่อน



อ่านตอน 2 ได้ที่ Link

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)