25 สิงหาคม 2556

เส้นทางชีวิตของผู้เริ่มต้นจาก O > วอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลก


“ วอร์เรน บัฟเฟตต์ คนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลก” สำหรับคอลัมน์ มองบุคคลโลก หนังสือพิมพ์โพสต์ ทูเดย์

ประจำวันอาทิตย์ที่  17 กันยายน 2549 โดยวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานมูลนิธิอมตะ

ผมขอนำเรื่องของมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จและสร้างฐานะจากการเล่นหุ้นจนกลายมาเป็นคนเล่นหุ้นที่รวยที่สุดในโลกขณะนี้  เรื่องนี้มีความน่าสนใจอยู่มากเพราะข้อเท็จจริงที่เราต่างทราบกันดีคือไม่ได้หมายความว่าคนที่เล่นหุ้นจะรวยเช่นเขาทุกคน  หลาย ๆท่านที่ลงทุนในตลาดหุ้นต้องลงทุนอย่างมีหลักการและเหตุผล อย่าทำตัวเป็นเหมือนแมงเม่าที่บินเข้ากองไฟหรือทุ่มทุนสร้างเพราะคิดว่ามันเหมือนกับการเล่นการพนันชนิดหนึ่ง เพราะโอกาสเสี่ยงมีสูงมาก  แต่เป็นเพราะเขามีบางสิ่งบางอย่างที่โดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่นจึงทำให้เขาประสบความสำเร็จได้ 

ผมมองว่าสังคมโลกยุคปัจจุบันเราพบว่า หากใครก็ตามที่ดำเนินธุรกิจอยู่และต้องการระดมทุนเพื่อนำมาขยายธุรกิจ  ตลาดหุ้นเป็นเสมือนขุมทรัพย์ที่นักธุรกิจต้องการ ตามการเติบโตและพัฒนาของโลกอย่างไร้ขอบเขต จนทำให้หลาย ๆ ประเทศมีขนาดของตลาดหุ้นเท่ากับขนาดของเศรษฐกิจของประเทศ มีเงินหมุนเวียนจำนวนมหาศาลทุกวัน เมื่อเราดูข่าวไม่ว่าจะผ่านสื่อใด ๆ จะต้องมีการนำเสนอถึงความเป็นไปของตลาดหุ้นไปพร้อม ๆ กันจนสามารถถือได้ว่าตลาดหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปโดยปริยาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้เลย   ผมมองว่าตลาดหุ้นเป็นเสมือนบ่อนการพนันที่ถูกกฎหมายไปและได้รับการยอมรับอย่างสูง  เพราะมีหลายต่อหลายคนกลายเป็นมหาเศรษฐีจากการลงทุนในตลาดหุ้น ในขณะเดียวกันก็มีมหาเศรษฐีหลาย ๆ คน ที่เดินออกมาจากตลาดหุ้นในฐานะยาจก  มีคนจำนวนมากมีชีวิตอยู่กับตลาดหุ้นจนลืมทุกสิ่งทุกอย่าง และอยู่ในตลาดหุ้นทั้งที่รู้ว่าบางครั้งมันเป็นเหมือนสวรรค์และเหวนรกในเวลาเดียวกันสิ่งนี้เป็นสัจธรรม    

สำหรับผมก็เหมือนคนเล่นหุ้นทั่วไป  เพราะโดยส่วนตัวมีหุ้นของบมจ. อมตะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผมเก็บหุ้นของตัวเองไว้ ไม่เคยขายหุ้นของตัวเองออกไปเลยแม้แต่หุ้นหนี่ง บางช่วงที่ผมมีกำไรจากการทำธุรกิจผมกลับนำเงินนั้นมาซื้อหุ้นของอมตะเพิ่มขึ้นเสียอีก  ปัจจุบันนี้ผมมั่นใจจนสามารถบอกกับคนอื่นได้ว่า ผมไม่เคยขายหุ้นอมตะออกจากบัญชีของผมเลย เพราะผมไม่ใช่คนเล่นหุ้น เป็นแต่เพียงคนลงทุนในตลาดหุ้นเท่านั้น  เป็นเรื่องบังเอิญมากเมื่อผมมาได้ทราบวิธีการของวอร์เรน บัฟเฟตต์ที่เขาลงุทนนั้นช่างมีความคล้ายคลึงกับหลักการ วิธีทำของผมเพราะเขาเป็นนักลงทุนที่มีหลักการ  ซึ่งแนวทางการลงทุนที่ว่านี้ผมมองว่า

อันที่จริงแล้วก็ไม่ใช่หลักการที่ยากนัก เพียงแต่เรามองดูผู้บริหารองค์กรนั้น ๆ ว่าบริหารงานอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรมและซื้อสัตย์ดีพอหรือไม่ และองค์กรนั้นจะต้องมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นธุรกิจที่มีความต้องการของตลาดสูง ไม่ใช่ธุรกิจที่ซับซ้อนเข้าใจยาก หรือหวือหวาอย่างธุรกิจสินค้าไฮเทค การลงทุนสำหรับหุ้นตัวนี้ จะเป็นเหมือนการลงทุนระยะยาว เพราะลักษณะนี้เป็นการลงทุนอย่างชญฉลาด เพราะเป็นการพิจารณาจากตัวหุ้นโดยตรง

วอร์เรน บัฟเฟตต์เป็นผู้หนึ่งที่ใช้วิธีการลงทุนแบบที่ผมกล่าวมาข้างต้น และด้วยระยะเวลา 49 ปีนับจากวันแรกที่เขาเริ่มเล่นหุ้น จนถึงปัจจุบันนี้ เขาได้กลายมาเป็นเศรษฐีที่ร่ำรวยจากการเล่นหุ้นมากที่สุดของโลกได้ เป็นเพราะเขามีหลักการในการเล่นหุ้นอย่างเป็นขั้นตอน มีเหตุมีผล และด้วยการตัดสินใจที่ดีของตัวเขาเอง ด้วยวัย 76 ปีในปัจจุบัน ชายคนนี้ได้นำทรัพย์สินกว่า 3,700 ล้านเหรียญของเขาบริจาคให้กับสาธารณะกุศล เพราะเขามั่นใจว่าเงินที่เขาบริจาคนี้ จะเกิดประโยชน์มากกว่าการที่เขาจะมอบให้กับลูก ๆ ของเขา และเขาก็มั่นใจในตัวคนที่เขามอบเงินให้ว่าจะสามารถทำในสิ่งที่เขาปราถนาและตามเจตนารมย์ที่เขาตั้งไว้ เพราะเขาเชื่อว่าเงินที่เขาได้มาก็มาจากสังคม และเมื่อเขาประสบความสำเร็จและมีเงินมากมายมหาศาลก็ควรที่จะคืนให้กับสังคม


วอร์เรน บัฟเฟตต์ คิดเสมอว่าเขาอายุมากแล้ว คงจะใช้เงินไปอีกไม่ได้มาก เขายังมีเงินเหลือเก็บอีกเยอะและพร้อมที่จะนำเงินที่เหลือใช้ไปก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณะชนก่อนที่เขาจะจากโลกนี้ไป เพื่อทำให้เขารู้สึกภูมิใจว่า ในชีวิตนี้ของเขา เขาได้ทำประโยชน์ให้กับโลกใบนี้ นับว่าเป็นมหาเศรษฐีที่เศรษฐีน้อยเศรษฐีใหญ่ที่เหลือในโลกนี้ควรเอาเยี่ยงอย่างนะครับ 



ประวัติ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ มีชื่อเต็มว่า วอร์เรน เอ็ดเวิร์ด บัฟเฟตต์  เขาเกิดเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 1930 (ค.ศ. 1930) ที่เมืองโอแมฮา ในรัฐเนแบรสกา  พ่อของเขาชื่อโฮเวิร์ด บัฟเฟตต์ เป็นวุฒิสมาชิกสังกัดพรรครีพับลิกัน และยังเป็น Stock Broker อีกด้วย ส่วนมารดาของเขามีชื่อว่าไลล่า บัฟเฟตต์ เขามีพี่น้องอยู่ 2 คน คือดอริส และเบอร์ตี้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ชอบหมกมุ่นกับตัวเลขตั้งแต่อายุยังน้อย และมีความจำอันดีเลิศ เขาสามารถจดจำจำนวนประชากรของเมืองใหญ่ในสหรัฐได้อย่างมากมาย 

ไม่เพียงเท่านั้น ในตอนที่เขาอายุ 6 ขวบ  เขาได้จ่ายเงิน 25 เซนต์ซื้อโค๊กจำนวน 6 แพ็ค และนำมาขาย ในราคา กระป๋องละ หนึ่งเหรียญ  และเมื่ออายุ 11 ขวบ เขาทำหน้าที่เป็นเด็กจดกระดานในบริษัทหุ้นของพ่อของเขา และในปีเดียวกันนั้น เขาเริ่มซื้อหุ้นเป็นครั้งแรก ด้วยเงินอันน้อยนิด เขาสามารถซื้อได้แค่ 3 หุ้น หุ้น Cities Service Preferred ในราคาหุ้นละ 38 เหรียญ เมื่อซื้อแล้วราคาได้ตกมา 27 เหรียญ แต่เมื่อหุ้นกลับขึ้นมาอีกที เขาก็ขายไปที่ 40 เหรียญ นั่นเป็นการทำกำไรครั้งแรกในชีวิต ของเขา ได้มาเน็ต ๆ แค่ 5 เหรียญ หลังจากนั้นต่อมาไม่ทราบว่าใช้เวลานานนานเท่าไร หุ้นนั้นทะยานไปถึงหุ้นละ 200 เหรียญ

นอกจากการเล่นหุ้นแล้ว เขายังทำงานพิเศษอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็น การเร่ขายของเคาะประตูตามบ้าน ส่งหนังสือพิมพ์ จนเมื่อเขาอายุได้ 14 ปี เขาสามารถเก็บหอมรอมริบได้ เงินจำนวนถึง 1200 เหรียญ ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนมากเลยทีเดียวในสมัยนั้น และเขาได้ทำเงินก้อนนี้ไปซื้อที่ดินราว ๆ 100 ไร่ เพื่อให้คนเช่าทำการเกษตร 

ต่อมาเขาได้เข้าเรียนระดับมัธยมที่ Woodrow Wilson High School ในกรุงวอชิงตันดีซี และเรียนระดับมหาวิทยาลัยที่วิทยาลัยการเงินวอร์ตัน ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ระหว่างปี 1947 – 1949 แต่จากนั้นก็ย้ายมาเรียนที่มหาวิทยาลัยเนแบรสกา ซึ่งที่นี่เองที่เขาได้มีความสนใจด้านการลงทุนเพราะได้แรงบันดาลใจจากการอ่านหนังสือของ Benjamin Graham ที่มีชื่อว่า The Intelligent Investor หนังสือเล่มนี้เปรียบเสมือนคัมภีร์ของ value investors และเขาก็ได้รับความรู้มากมายจากหนังสือเล่มนี้

เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรี  เขาได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และได้เรียนหนังสือกับปรมาจารย์ในใจเขาคือ Benjamin Graham และเขาได้รับปริญญาโททางด้านเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 1951

หลังจากเรียนจบ เขาก็กลับบ้านเกิดและเข้าทำงานเป็นเซลล์แมนในบริษัทของพ่อตัวเอง ระหว่างปี 1951 – 1954 พอมาปี 1954 – 1956 เขาก็ทำงานเป็นนักวิเคราะห์ความเสี่ยงของบริษัท Graham-Newman Corp. ที่กรุงนิวยอร์ก

ในปี 1957 เขากลับมาถิ่นเกิดอีกครั้ง และเริ่มก่อตั้งบริษัทลงทุนที่มีชื่อว่า Buffett Partnership, Ltd. มีนักธุรกิจมากมายใส่เงินร่วมทุน จุดประสงค์ของเขาก็คือต้องการเอาชนะดัชนีดาวโจนส์ ซึ่งเขาก็ทำได้ผลในปี 1969 อัตรากำไรที่บริษัทเขาทำได้นั้นสูงถึง  29.5 % เปรียบเทียบกับดัชนีดาวโจนส์ แค่ 7.4 % เท่านั้น 


ในปี1962เขาได้เข้าไปซื้อกิจการของบริษัทสิ่งทอBerkshireHathawayในราคาไม่ถึง8เหรียญต่อหุ้นเขาได้ขายโรงทอผ้าทิ้งไปแปลงโฉมบริษัทเป็นHoldingCompanyและนี่เองที่เป็นเหมือนจุดเริ่มต้นของบริษัทที่ต่อมายิ่งใหญ่ที่สุดในโลกและในขณะเดียวกันเขาก็ได้แต่งงานกับซูซานทอมป์สันในปีค.ศ.1952และมีลูก3คนคือซูซี่โฮเวิร์ดและปีเตอร์แต่ชีวิตสมรสของทั้งคู่ก็ต้องแยกกันอยู่ตั้งแต่ปี1977โดยที่ไม่มีการหย่าร้างและภรรยาของเขาก็เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อปี2004

ชีวิตส่วนตัวของเขาเรียบง่ายและสมถะมากเขายังคงขับรถเก่าๆไปทำงานบ้านที่อยู่ก็บ้านเก่าและเขาก็ยังอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมในเมืองโอมาฮาเนบราสกาซึ่งเป็นบ้านที่เขาซื้อมาด้วยราคา31,500เหรียญเมื่อปีค.ศ.1958หรือตั้งแต่49ปีที่แล้วอาหารที่กินประจำยังเป็นแมคโดนัลด์กับโค้กซึ่งเขากินวันละหลายๆกระป๋องประมาณ15กระป๋องต่อวันเนื่องจากเป็นสินค้าของกิจการที่เขาลงทุนอยู่มูลค่าหุ้นของเขาเป็นล้านล้านบาทแต่เขากลับจ่ายเงินเดือนให้กับตัวเองเพียงปีละ1-2แสนดอลลาร์เท่านั้นเองและไม่เคยขายหุ้นของตัวเองเลยตลอดชีวิตเขาขับรถเก่ายี่ห้อLincolnTownไปทำงานเองไม่มีเลขาหน้าห้องบนโต๊ะทำงานไม่เคยมีเครื่องคอมพิวเตอร์ดูราคาหุ้นชอบใช้ชีวิตในแบบเดิมๆและคิดถึงผู้ถือหุ้นเป็นอันดับแรกและยังชอบเล่นไพ่บริดจ์กับบิลล์เกตส์อยู่เสมอๆ

เงินที่เขาหาได้เขาเอามาใช้น้อยมากความสุขของเขาอยู่ที่การลงทุนเขาไม่ต้องการเอาเงินไปทำอย่างอื่นที่ไม่ให้ผลตอบแทนหรือให้ผลตอบแทนน้อยเขาคิดว่าเงินถ้าอยู่กับเขาแล้วจะโตเร็วมากและมีประโยชน์กว่าเพราะฉะนั้นเขาจึงไม่ได้บริจาคเงินเพื่อการกุศลมากนักแต่ในที่สุดเขาก็บริจาคเงินให้กับมูลนิธิบิล–มิรินดาเกตส์เพื่อนของเขาเขาถือเป็นแบบอย่างของคนที่รู้จักความพอดีในการใช้ชีวิตรู้และสำนึกได้ด้วยตัวเองว่าจุดความพอดีของตัวเองนั้นอยู่ที่ไหนและเมื่อไหร่ที่จะปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง

ความร่ำรวยส่วนใหญ่ของเขานั้นสั่งสมในบริษัทเบิร์กเชียร์แฮทเวย์ซึ่งมีผลกำไรหลากหลายนับจากธุรกิจการประกันภัยอสังหาริมทรัพย์พลังงานและการเช่าเครื่องบินและบริษัทเบอร์กไชร์ฮาธาเวย์ของเขาไม่มีสินค้าอะไรเลยไม่มีการขายสินค้าไม่มีการผลิตการบริการใดๆรายได้จำนวนมากมายมหาศาลทั้งหมดมาจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้รับฉายาว่าเป็นนักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลกเขาสามารถเพิ่มราคาหุ้นกองทุนBerkshireของเขาถึง3600เท่าและเน้นย้ำเฉพาะการลงทุนแบบValueInvestorเท่านั้น

หุ้นของเบอร์กไชร์นั้นจดทะเบียนอยู่ในตลาดหุ้นนิวยอร์กและเป็นหุ้นตัวใหญ่ที่แปลกประหลาดนอกจากไม่มีการผลิตสินค้าและบริการใดๆเลยซื้อขายหุ้นอย่างเดียวยังเป็นหุ้นที่ไม่เคยมีการจ่ายปันผลมาหลายสิบปีทั้งๆที่มีกำไรมหาศาลทุกปีทำให้บริษัทมีสินทรัพย์มากขึ้นเรื่อยๆราคาหุ้นของเบอร์กไชร์ทะลุหลักล้านบาทไปแล้วคนที่ถือหุ้นบริษัทเขาตั้งแต่วันแรกก็ยังถือมาจนถึงปัจจุบันพวกเขาเชื่อในตัวบัฟเฟตต์มากๆหุ้นบริษัทเขาจึงมีสภาพคล่องต่ำมากซึ่งเป็นผลดีกับกิจการเนื่องจากจะไม่มีคนที่เล่นหุ้นวันต่อวันมาป่วนราคาบริษัทของเขาจะเลือกลงทุนในหุ้นในกิจการที่เยี่ยมยอดเพียงไม่กี่ตัวโดยซื้อเมื่อตอนราคาถูกและยุติธรรมแล้วเก็บไว้ให้นานที่สุดหรือเก็บไปตลอดชีวิตเลย

สำหรับพอร์ทการลงทุนของเขาจะมีแต่กิจการที่ดีของโลกเช่นบริษัทโค้กยิลเลทดิสนีย์แลนด์เป็นต้นหุ้นที่เขาจะซื้อจะต้องมีพื้นฐานกิจการที่ดีและเขาจะต้องรู้จักและเข้าใจว่ากิจการสามารถสร้างรายได้มาได้อย่างไรเพราะฉะนั้นหุ้นกลุ่มไฮเทคจะไม่ได้รับความสนใจจากเขาเลยแม้แต่ไมโครซอฟต์เพราะเขาบอกว่าถ้าเขาไม่รู้ว่าอีก5-10ปีข้างหน้าบริษัทนั้นจะเป็นอย่างไรเขาก็จะไม่ซื้อหุ้นบริษัทนั้นซึ่งหุ้นไฮเทคจะมีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมากจึงไม่อยู่ในข่ายลงทุน

สิ่งที่บัฟเฟตต์ยึดถือในการลงทุนนอกจากคุณค่าของกิจการแล้วคือผู้บริหารต้องมีความซื่อสัตย์ยึดผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อยเป็นหลักฉะนั้นการบริหารงานของบัฟเฟตต์จึงทำอย่างโปร่งใสและยึดถือประโยชน์ของทุกคนเป็นที่ตั้งเขาไม่เคยเอาเปรียบผู้ถือหุ้นรายย่อยแม้แต่เรื่องเล็กๆน้อยๆเช่นการบริจาคเงินของบริษัท



หลักการเลือกลงทุนของวอร์เรนบัฟเฟตต์:


1.เป็นธุรกิจหรือบริษัทที่ไม่ซับซ้อนกิจการประเภทง่ายๆไม่วุ่นวายนี้จะสามารถบริหารจัดการได้อย่างง่ายๆไม่ต้องใช้เทคนิคบุคคลากรพิเศษมากมายนัก


2.เป็นธุรกิจที่ได้รับความนิยมแข็งแกร่งเช่นมียี่ห้อหรือตราสินค้าที่แข็งแกร่งมีการบริการเป็นพิเศษที่หาจากที่อื่นไม่ได้


3.สามารถคาดเดาได้คือสามารถคาดเดาผลการดำเนินงานได้ค่อนข้างแน่นอนเนื่องจากการที่ไม่ซับซ้อนของธุรกิจนี่เอง


4.ผลตอบแทนจากส่วนของเงินลงทุนสูง(ROE)อย่างน้อย12%


5.มีกระแสเงินสดที่ดี


6.มีผู้บริหารที่ดีเห็นแก่ผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นเป็นสำคัญธุรกิจที่ดีมีธรรมชาติของธุรกิจที่ดี



จากการศึกษาวอร์เรนบัฟเฟตต์เขาให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจ5กลุ่มด้วยกันคือ


1)ธุรกิจเครื่องดื่มเช่นโค้ก


2)กลุ่มการเงินที่เกี่ยวกับรายย่อยเช่นบริษัทอเมริกันเอ็กเพรส


3)กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค


4)กลุ่มธนาคารพาณิชย์เช่นธนาคารของแคลิฟอร์เนีย


5)หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์



กรณีหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์วอร์เรนบัฟเฟตเข้าลงทุนเมื่อ1974จำนวน11ล้านเหรียญสหรัฐ30ปีผ่านไปได้ผลตอบแทน1.7พันล้านเหรียญสหรัฐและเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่จำนวน15%ที่ผ่านมาเขามีหนังสือออกมาสามเล่มด้วยกันคือ101เหตุผลที่คุณจะเป็นเจ้าของกิจการเล่มที่2ชื่อบัฟเฟตต์ซีอีโอแต่ด้วยเนื้อหาที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มขึ้นทำให้ต้องมีเล่มที่สามซึ่งใช้ชื่อว่า“WARRENBUFFETTWEALTH”หรือวอร์เรนบัฟเฟตผู้มั่งคั่งสำหรับหนังสือเล่มที่3นี้จะใช้ภาษาเขียนที่เข้าใจง่ายยิ่งขึ้นมีการยกตัวอย่างประกอบซึ่งเนื้อหาได้มาจากการศึกษาเกี่ยวกับนายวอร์เรนบัฟเฟตและบริษัทของเขาตลอดจนได้มีการสอบถามจากผู้ใกล้ชิดของเขาและล่าสุดชื่อTheNewBuffetologyซึ่งมีชื่อเป็นไทยว่าลงทุนอย่าง...วอร์เรนบัฟเฟตต์ซึ่งรายละเอียดในหนังสือนั้นที่สำคัญคือTheWarrenBuffettWayที่เป็นเหมือนกลยุทธ์การลงทุนพื้นฐานสไตล์บัฟเฟตต์

อย่างไรก็ตามข่าวคราวที่สร้างความโด่งดังให้แก่วอร์เรนบัฟเฟตต์มากที่สุดในชีวิตของเขาก็คือการที่เขายกทรัพย์สินถึง85เปอร์เซ็นต์หรือประมาณสามหมื่นเจ็ดพันล้านเหรียญให้แก่มูลนิธิบิลล์และเมลินดาเกตส์ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาโดยสองสามีภรรยาเกตส์เพื่อนเก่าแก่ของวอร์เรนบัฟเฟตต์ยังผลให้มูลนิธินี้กลายเป็นมูลนิธิที่ร่ำรวยที่สุดในโลกนับว่าเป็นการรวมตัวทางการเงินเพื่อทำการกุศลยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์บิลเกตส์และเมอลินดาภริยาบอกว่ามูลนิธิหวังจะใช้ของขวัญล้ำค่าชิ้นนี้ไปใช้วิจัยหาวัคซีนสยบโรคเอดส์ร่วมกับอีก20โรคร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกปีละไม่รู้กี่ล้านซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่มียารักษา

เงินจำนวนนี้ถือเป็นเงินบริจาคที่มีมูลค่ามากที่สุดในโลกที่เคยมีมาเงินนี้วอร์เรนบัฟเฟตต์หามาเองเกือบทั้งสิ้นตลอดชีวิตการลงทุนที่ประสบความสำเร็จที่สุดในโลกและได้รับการยกย่องว่าเป็นนักธุรกิจตัวอย่างที่เปี่ยมด้วยคุณธรรมและไม่ฟุ้งเฟ้อเขาเชื่อว่าเงินที่เขาได้มานั้นเขาต้องการที่จะทำในสิ่งที่มีประโยชน์และทำให้เขารู้สึกภูมิใจและเขายังคาดหวังว่าการตัดสินใจบริจาคทรัพย์สมบัติครั้งนี้จะเป็นแบบอย่างแก่บรรดาเศรษฐีทั้งหลายให้ทำบุญสร้างกุศลโดยการบริจาคให้มูลนิธิต่างๆที่มีอยู่โดยไม่ต้องแข่งกันตั้งมูลนิธิขึ้นมาใหม่ส่วนการที่เขาบริจาคให้กับมูลนิธิของบิลเกตส์เพราะเชื่อมั่นในนโยบายช่วยเหลือคนด้อยโอกาสจริงๆ

บัฟเฟตต์พูดอยู่เสมอว่าเขาเป็นคนที่โชคดีมากเขากล่าวไว้ว่า“ผมรู้สึกอยู่เสมอว่าควรจะตอบแทนสังคมและครอบครัวของผมก็เห็นด้วยกับผมคำถามก็คือว่าจะตอบแทนอย่างไร”และ“ผมไม่ใช่คนที่ปรารถนาในความมั่นคั่งอย่างราชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทางเลือกหนึ่งยังมีคนอีกจำนวน6,000ล้านคนยังจนกว่าที่เรามีอยู่มาก”




กฎทอง 10 ข้อ ของมหาเศรษฐีโลก...สู่ความสำเร็จ ได้แก่

1. ต้องทำงานหนัก สำหรับวอร์เรนแล้ว เขาฟันธงเลยว่า ส่วนใหญ่แล้วการทำงานหนักจะนำผลกำไรมาให้ ในขณะที่การพูดมากแต่ไม่ทำ กลับจะนำความยากจนมาให้แทน แบบนี้เข้าตำราว่า “อย่ามัวแต่ตั้งท่าชก ให้ชกเลย” จึงจะได้คะแนนชนะการต่อสู้

2. อย่าขี้เกียจ เขาได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจมาก ว่า “ขนาดกุ้งมังกรตัวโตๆ ถ้ามัวแต่นอนหลับ ยังสามารถถูกกระแสน้ำพัดลอยไปได้” หมายความว่าถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย มัวแต่รอคอยความหวัง คุณจะต้องตกอยู่ในวังวนวิกฤตการณ์ทางการเงินนี้ต่อไปอย่างแน่นอน

3. รายรับจากหลายแหล่ง ข้อนี้เป็นเคล็ดลับของมหาเศรษฐีหลายคน ไม่ใช่เฉพาะวอร์เรน เพราะการหวังพึ่งรายได้จากแหล่งเดียว ทำให้ต้องตกอยู่ในความเสี่ยงของภาวะที่ไม่แน่นอน เขาแนะนำให้ทำการลงทุนที่ฉลาดเพื่อสร้างรายได้เพิ่ม เช่นถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน คุณควรมีรายได้ส่วนอื่นจากการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ ที่สามารถสร้างรายรับเข้ามาในแต่ละเดือนได้ด้วย
 

4. ควบคุมรายจ่าย เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มจ่ายเงินซื้อสิ่งที่คุณไม่มีความต้องการจริงๆ คุณก็กำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องขายสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุดแทน ดังนั้นคิดและตั้งสติก่อนที่จะจ่ายเงินซื้ออะไรในชีวิตเสมอ

5.ตั้งใจออม เขาเน้นว่าเราอย่ารอเก็บออมเงินที่เหลือหลังจากที่ได้ใช้จ่ายจนพอใจ แต่เราต้องกันเงินส่วนหนึ่งของรายได้มาเพื่อเก็บสะสมก่อน แล้วจึงนำส่วนที่เหลือไปใช้จ่าย ข้อนี้ลึกมากนะคะ หลายคนมักจะเข้าใจผิด ใช้จ่ายแล้วเหลือจึงนำเข้าแบงก์ ที่จริงต้องกันออกมาออมก่อนจะไปทำอย่างอื่น

6. งดกู้ยืม คนที่กู้หนี้ยืมสินจากคนอื่น มักจะตกเป็นทาสของคนที่คุณไปกู้ยืม ดังนั้นต้องยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง พยายามมีชีวิตอยู่ตามอัตภาพเท่าที่เราหามาได้ อย่าไปสร้างหนี้สร้างสิน เพียงแค่ต้องการมีทรัพย์สินให้เหมือนกับคนอื่น พยายามดำรงชีวิตอยู่ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระเจ้าอยู่หัว

7. จัดระบบบัญชี เขาใช้คำคมมาเปรียบเทียบว่า “ไม่มีประโยชน์ที่จะถือร่มกันฝน ตราบใดที่รองเท้าที่คุณสวมใส่นั้นยังมีรูอยู่ เพราะมันทำให้เปียกเหมือนกัน” นั่นคือต้องอย่าทำให้มีจุดรั่วไหลของบัญชี

8. หมั่นตรวจสอบ เขาให้ความสำคัญกับการตรวจสอบมาก เพราะว่าค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ  จะเปรียบเสมือนรูรั่วของเรือ รูรั่วเพียงเล็กๆ แต่นานไปก็สามารถจมเรือใหญ่ทั้งลำได้ ดังนั้นอย่ามองข้ามค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ ต้องให้ความสำคัญกับค่าใช้จ่ายทุกชนิดเสมอ

9. จัดการความเสี่ยง ความเสี่ยงเป็นสิ่งที่นักธุรกิจไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ ตราบเท่าที่ยังโลดแล่นอยู่ในธุรกิจ เขากล่าวว่าเราไม่ควรจะทดสอบความลึกของแม่น้ำที่จะข้าม ด้วยขาสองข้างพร้อมๆ กัน เพราะเราอาจจมน้ำตายได้ ในการจัดการความเสี่ยงเราต้องมีแผนสำรองเสมอ ไม่มีใครสามารถทำนายอนาคตได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราต้องบริหารความเสี่ยงที่กำลังเผชิญอยู่อย่างชาญฉลาดที่สุด

10. บริหารการลงทุน อย่าเอาเงินทั้งหมดไปทุ่มลงทุนในสิ่งเดียวกัน เปรียบเหมือนอย่าวางไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าเดียวกัน เพราะถ้าตะกร้าหล่นจะทำให้ไข่แตกหมดทุกใบ ดังนั้นเราต้องกระจายความเสี่ยง เพราะธุรกิจหนึ่งอาจจะอยู่ในช่วงขาลง แต่อีกธุรกิจหนึ่งอาจจะอยู่ในขาขึ้น ทำให้ผลประโยชน์โดยรวมยังอยู่ได้

ข้อคิดเหล่านี้ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นประโยชน์มากสำหรับการดำเนินชีวิตของนักธุรกิจ นักการตลาด หรือแม้กระทั่งมนุษย์เงินเดือนทั่วไป เพราะสิ่งที่เขาพูดหลายข้อก็คล้ายกับสิ่งที่ พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย หรือครูบาอาจารย์ ของเราเคยสั่งสอนกันต่อๆ มา ดังนั้นดิฉันหวังว่ากฎทองแห่งความสำเร็จสิบข้อของวอร์เรน บัฟเฟตต์ นี้คงจะมีประโยชน์กับพวกเราทุกคนไม่มากก็น้อย ไม่ต้องเป็นมหาเศรษฐีโลกอย่างเขาหรอก แค่เพียงเอาตัวรอดจากวิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)