06 ตุลาคม 2553

ที่สุดแห่งการตัดสินใจผิด

ทุกคนย่อมเคยตกอยู่ในสภาวะต้องเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากของสองสิ่ง หลายครั้งที่เราตัดสินใจผิดอยากย้อนเวลากลับ
ไปเพื่อตัดสินใจเลือกใหม่แต่มันก็เป็นไปไม่ได้ สำหรับคนทั่วไปการตัดสินใจที่ผิดพลาดไม่ค่อยมีผลเสียหายเท่าไรนัก แต่
สำหรับนักธุรกิจแล้ว การตัดสินใจที่ผิดพลาดเพียงครั้งเดียวอาจหมายถึงเม็ดเงินหลายหมื่นล้านละลายหายไปกับ
สายลมต่อหน้าต่อตา

สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆมักใช้เงินลงทุนสูงและเสี่ยงต่อการยอมรับของตลาดผู้บริโภค นักลงทุนจึงต้องมีความรอบคอบในการตัดสิน
ใจ และแน่นอนว่าสิ่งแรกที่พวกเขาคิดคือสินค้าจะติดตลาดหรือไม่ หากพิจารณาดูแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยงสูง นักลงทุนส่วน
ใหญ่จะปฏิเสธ ทำหมันโครงการเหล่านั้นโดยทันที

ไม่มีใครล่วงรู้อนาคต บางครั้งบางหนพวกเขาก็ตัดสินใจผิดเมื่อปรากฏว่าบริษัทคู่แข่งผลิตสินค้าชนิดเดียวกับที่เขาเพิ่งบอก
ยกเลิกโครงการไปหมาดๆ และขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า สิ่งเดียวที่ทำได้คือนั่งมองตาปริบๆคิดเสียดายโอกาสทองที่ตัว
เองปล่อยให้ลอยหลุดมือไป



ของเล่นเด็ก

ปี 1876 โทรเลขเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยมีบริษัทเวสเทิร์นยูเนี่ยน (Western
Union) ผูกขาดธุรกิจนี้แต่เพียงผู้เดียวในอเมริกา ต่อมาอเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล (Alexander Graham
Bell)
อเล็กซานเดอร์เสนอขายสิทธิบัตรการผลิตโทรศัพท์เป็นมูลค่า 100,000 ดอลลาร์ แต่หลังจากที่พิจารณาอย่างถ้วนถี่
แล้ว วิลเลี่ยมยอมรับว่ามันเป็นอะไรที่แปลกใหม่ ไม่เคยมีมาก่อน หากแต่ว่ามันไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ
ได้ มันเป็นได้อย่างมากก็แค่เพียงของเล่นเด็กเท่านั้น ไม่มีทางมาแทนที่สิ่งประดิษฐ์ล้ำยุคอย่างโทรเลขได้

หลังจากที่ผิดหวังกับบริษัทเวสเทิร์นยูเนี่ยน อเล็กซานเดอร์กลับมาพัฒนาสิ่งประดิษฐ์จนสามารถใช้งานได้จริง เขาเปิดบริษัท
ให้บริการการสื่อสารทางโทรศัพท์และประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามในช่วงเวลาเพียงแค่ 2 ปีเท่านั้น
ทางด้านวิลเลี่ยมรู้ตัวว่าตัดสินใจผิดพลาด พยายามขอซื้อกิจการจากอเล็กซานเดอร์ แต่ถึงตอนนี้อเล็กซานเดอร์ไม่คิดจะขาย
แล้วเพราะรู้ดีว่าอีกไม่กี่ปีข้างหน้าธุรกิจนี้จะทำเงินได้หลายสิบล้านดอลลาร์ วิลเลี่ยมจึงตั้งทีมวิศวกรขึ้นมาวิจัยเพื่อประดิษฐ์
โทรศัพท์แข่งกับอเล็กซานเดอร์ แต่ถูกฟ้องร้องเนื่องจากอเล็กซานเดอร์ได้ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์เอาไว้
บริษัทเวสเทิร์นยูเนี่ยนพลา ดโอกาสทองไปอย่างไม่น่าให้อภัย ส่วนบริษัทเบลของอเล็กซานเดอร์เติบโตจนกลายเป็นบริษัท
ยักษ์ใหญ่ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดบริษัทหนึ่งในอเมริกา และยังคงดำเนินกิจการมาจนถึงปัจจุบัน




เบียร์เห่ย

เบียร์ชลิตซ์ (Schlitz) เป็นเบียร์ยี่ห้อเก่าแก่ของอเมริกา มียอดขายเป็นอันดับหนึ่งและถูกจัดอันดับให้เป็น
บริษัทผลิตเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1902 โดยมีคู่แข่งที่สำคัญคือ บัดไวเซอร์ (Budweiser) จนกระทั่งถึงปี
1957 บัดไวเซอร์สามารถทำยอดขายแซงหน้าชลิตซ์ไปได้ทำให้โรเบิร์ต อีไลน์ (Robert Uihleins) เจ้าของ
เบียร์ชลิตซ์คิดหากลยุทธ์ใหม่มาช่วงชิงตำแหน่งคืน
โรเบิร์ตคิดว่าหากสามารถเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นก็จะทำให้สามารถกระจายเบียร์ชลิตช์ครอบคลุมพื้นที่ได้
มากขึ้น โอกาสที่คนจะซื้อหาเบียร์ชลิตซ์ก็มีมากขึ้น แต่การขยายโรงงานไม่ใช่เรื่องที่ทำกันง่ายๆ อีกทั้งยังต้องใช้
เงินลงทุนสูง

ถ้าหากจะไม่ขยายโรงงานและไม่เพิ่มต้นทุน ทางออกก็คือต้องลดเวลาการบ่มเบียร์เพื่อให้ผลิตเบียร์ได้มากขึ้นในช่วง
เวลาเท่าเดิม ลดคุณภาพของส่วนผสมเพื่อให้ต้นทุนถูกลง ได้ปริมาณที่มากขึ้น คิดได้ดังนั้น โรเบิร์ตสั่งการให้ลดเวลา
การบ่มเบียร์จาก 40 วันเหลือเพียง 15 วัน ลดปริมาณบาร์เลย์และมอลต์ ให้ใช้น้ำเชื่อมจากแป้งข้าวโพดแทน
ลูกเล่นสำคัญที่จะลืมเสียไม่ได้คือเปลี่ยนวิธีบ่มจากวิธีทางธรรมชาติมาเป็นการใช้ความร้อน เพื่อการอาศัยช่องว่างของกฎหมายหลบเลี่ยงการแจ้งสูตรส่วนผสมบนฉลากข้างขวด ในที่สุดโรเบิร์ตก็สามารถผลิตเบียร์คุณภาพต่ำ ราคาถูก ได้สำเร็จ
ตามที่ต้องการ แต่สิ่งที่เขามองข้ามไปคือรสชาติที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ยิ่งไปกว่านั้นวัตถุดิบคุณภาพต่ำทำ
ให้เบียร์เป็นตะกอนและถ้าหากทิ้งไว้หลายวันมันจะบูด ตะกอนจับตัวกันเป็นก้อนนอนกอดกันกลมอยู่ที่ก้นขวด

จากเบียร์ที่มียอดขายอันดับหนึ่งกลับกลายเป็นเหมือนน้ำล้างเท้า เบียร์จำนวน 10 ล้านขวดถูกส่งคืนโรงงาน แต่นั่นยังไม่
แย่เท่ากับชื่อเสียงบริษัทที่สะสมมานานถึง 100 ปี มลายหายไปเพียงชั่วข้ามคืน และไม่มีวันที่จะเรียกกลับคืนมาได้ ชลิตซ์
ถึงกับต้องปิดตัวเองลงในปี 1981 โดยบริษัทสโตรฮ์ (Stroh) มารับช่วงต่อ




ขายความเสี่ยง

ปี 1970 ภาพยนตร์เรื่อง M*A*S*H เนื้อหาเกี่ยวกับทหารเสนารักษ์ปฏิบัติหน้าที่ในเกาหลีใต้ ประสบความ
สำเร็จอย่างท่วมท้น ต่อมาในปี 1972 สถานีโทรทัศน์ฟอกซ์ต้องการใช้ฉากและอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่แล้วให้เป็นประโยชน์
และอาศัยความสำเร็จของภาพยนตร์มาสร้างเป็นซีรี่ส์ต้นทุนต่ำโดยไม่ได้คาดหวังอะไรมากมาย

M*A*S*H ที่นำมาสร้างใหม่ฉายทางโทรทัศน์ก็ได้รับความนิยมอย่างล้นหลามเช่นเดียวกับภาพยนตร์ มันเป็นรายการ
โทรทัศน์ของสถานีฟอกซ์เพียงรายการเดียวที่มียอดคนดูติดอันดับหนึ่ง สามปีต่อมาสถานีโทรทัศน์ฟอกซ์ประสบกับวิกฤต
ทางการเงิน เหตุการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อดารานำ 2 คนที่แสดงเรื่อง M*A*S*H ลาออกกลางคันเพราะได้ข่าวไม่สู้ดีเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเงินของสถานีโทรทัศน์ ส่งผลให้เรทติ้งของรายการตกลง

ผู้บริหารตัดสินใจแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยการบอกขายลิขสิทธิ์การออกอากาศล่วงหน้าภาพยนตร์ซีรี่ส์ M*A*S*H
จำนวน 7 ซีซั่น โดยมีเงื่อนไขว่าสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นจะต้องชำระเป็นเงินสดทั้งหมดในคราวเดียว แต่จะไม่
สามารถนำ M*A*S*H ไปออกอากาศได้จนกว่าจะถึงปี 1979 (หลังจากที่สถานีโทรทัศน์ฟอกซ์ออกอากาศ
ไปแล้วจนครบทั้ง 7 ซีซั่น) ไม่รับประกันว่า M*A*S*H จะยังคงได้รับความนิยมเมื่อถึงปี 1979 และไม่มีการ
ยกเลิกสัญญาไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

ราคาขายนั้นถูกมาก เพราะสถานีโทรทัศน์ฟอกซ์ต้องการเงินสดหมุนเวียนโดยด่วน ราคาต่อตอนอยู่ที่เพียง 13,000
ดอลลาร์ สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นหลายแห่งยอมจ่ายเงินลงทุนล่วงหน้า สถานีโทรทัศน์ฟอกซ์ได้เงินสดไป 25 ล้านดอลลาร์
ไม่น่าเชื่อว่า M*A*S*H ยังคงได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เมื่อถึงปี 1979 มันยังคงติดอันดับ 3 รายการโทรทัศน์ที่มีผู้ชมมากที่สุดในอเมริกา สถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นหลายแห่งที่จ่ายเงินซื้อลิขสิทธิ์ล่วงหน้าเหมือนถูกหวย เพราะถ้าหากสถานี
โทรทัศน์ฟอกซ์ขายลิขสิทธิ์ในปี 1979 ราคาจะอยู่ที่หลักหลายแสนดอลลาร์ต่อตอนเลยทีเดียว หรือจะพูดอีกอย่างก็คือ
สถานีโทรทัศน์ฟอกซ์เสียโอกาสที่จะได้เงินค่าลิขสิทธิ์หลายร้อยล้านดอลลาร์




ของโปรดมนุษย์ต่างดาว

หลายคนคงทราบดีว่ามีโฆษณาแฝงอยู่ในภาพยนตร์ทุกเรื่อง สินค้าแทบจะทุกชนิดที่ปรากฏอยู่บนแผ่นฟิล์มล้วนแล้ว
แต่ถูกคัดเลือกให้เข้าฉากด้วยความจงใจของผู้กำกับฯโดยเฉพาะสินค้าที่เกี่ยวข้องกับตัวแสดงนำในเรื่อง ถ้าใครไม่เคย
สังเกตก็ขอให้ไปหาภาพยนตร์เรื่อง Truman Man Show มาดูเป็นตัวอย่าง เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ล้อเลียนการทำ
โฆษณาแฝงในภาพยนตร์ได้เป็นอย่างดี

ภาพยนตร์ยอดนิยมตลอดกาลเรื่อง E.T. หรือ Extra Terrestrial ของสตีเวน สปีลเบิร์ก ก็เช่นเดียวกัน ฉากหนึ่งในภาพยนตร์ผู้แสดงจะใช้ขนมล่อ E.T. ให้เดินตาม สตีเวนติดต่อบริษัท Mars ขออนุญาตนำลูกอมช็อกโกแลต M&M มาเข้าฉาก ทั่วๆไปที่ทำกันก็คือ เจ้าของสินค้าได้โฆษณา (แฝง) ผลิตภัณฑ์ของตนในภาพยนตร์ แลกเปลี่ยนกับการช่วยโปรโมตภาพยนตร์เรื่องนั้น จะเป็นการให้เงินทุนสนับสนุนหรือแทรกข้อความโปรโมตภาพยนตร์ลงในโฆษณาผลิตภัณฑ์ช่วงที่ ภาพยนตร์เข้าฉายก็ตามแต่จะตกลงกัน

จะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม บริษัท Mars มองว่าภาพยนตร์เรื่อง E.T. ไม่เหมาะกับลูกอมช็อกโกแลต M&M จึง
ปฏิเสธข้อเสนออย่างไม่มีเยื่อใย สตีเวนจึงเบนเข็มไปหาบริษัท Hershey Foods เจ้าของผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลต
Hershey ซึ่ง Hershey Foods รีบคว้าข้อเสนอโดยทันทีและยอมควักกระเป๋า 1 ล้านดอลลาร์ช่วยค่าโปรโม
ตภาพยนตร์แลกกับการนำภาพ E.T. มาโปรโมตสินค้าตัวใหม่ Reese s Pieces
เพียงแค่ 2 สัปดาห์หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่อง E.T. ออกฉาย ยอดขาย Reese s Pieces เพิ่มสูงขึ้นถึง 3 เท่าตัว แจ๊ก ดาวด์ (Jack Dowd) ผู้บริหาร Hershey Foods กล่าวว่า ในสถานการณ์ปรกติ หากจะเร่งยอดขาย

ขนาดนี้จะต้องใช้งบทำโฆษณาสูงถึง 15-20 ล้านดอลลาร์ แต่ Hershey Foods จ่ายไปเพียง 1 ล้านดอลลาร์
เท่านั้น ได้ยินแล้วเสียดายแทนบริษัท Mars จริงๆ




ดนตรีตกยุค

วันที่ 13 ธันวาคม 1961 ไมค์ สมิท (Mike Smith) ผู้บริหารบริษัทแผ่นเสียง Decca Records
ได้ชมการแสดงดนตรีของวัยรุ่นหน้าใหม่ 4 คนในเมืองลิเวอร์พูล ประเทศอังกฤษ เขาเห็นว่าเด็กทั้ง 4 คนมีฝีไม้ลายมือใช้ได้ทีเดียว จึงชวนให้ไปทดสอบที่สตูดิโอในกรุงลอนดอน
การได้บันทึกแผ่นเสียงเป็นความฝันของนักดนตรีทุกคน วัยรุ่นทั้ง 4 คนวาดลวดลายเต็มที่ในบทเพลงท่วงทำนองต่างๆให้ผู้บริหาร Decca Records ได้ฟังตลอดเวลา 2 ชั่วโมงเต็ม โดยหวังว่าจะถูกใจผู้บริหารแล้วเซ็นสัญญาให้เป็นศิลปินในสังกัด

หลายสัปดาห์ผ่านไป ดิ๊ก โรว์ (Dick Rowe) หนึ่งในคณะกรรมการของ Decca Records ส่งข่าวกลับมาว่าลักษณะดนตรีของเด็กหนุ่มทั้ง 4 คนนั้นใกล้เคียงกับ The Shadows วงดนตรีที่โด่งดังมากในช่วงเวลานั้น หากแต่ว่ามันกำลังจะหมดยุคสมัยของวงดนตรี 4 ชิ้นที่ประกอบด้วยกีตาร์และกลอง ที่สำคัญที่สุดคือ คณะกรรมการไม่ชอบสียงร้องของพวกเขา

หลังจากผิดหวังกับ Decca Records ผู้จัดการวงดนตรีหน้าใหม่ก็ไปติดต่อบริษัท EMI เซ็นสัญญาออกอัลบั้มชุดแรกกลางปี 1962 ซึ่งเพลงของพวกเขาได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจนติดอันดับท็อป 20 ของอังกฤษ หลังจากนั้นนักดนตรีหน้าใหม่ที่ไม่มีใครรู้จักก็กลายเป็นขวัญใจวัยรุ่นและสร้างปรากฏการณ์ที่รู้จักในชื่อ Beatlemania หรือโรคคลั่งไคล้คณะสี่เต่าทอง

ใช่แล้วครับพวกเขาคือ The Beatles วงดนตรีที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลก หลังจากเซ็นสัญญากับ EMI ได้เพียง 2 ปี ความต้องการซื้อแผ่นเสียงของคณะ The Beatles มีมากจน EMI ผลิตไม่ทันขาย ต้องไปจ้าง Decca Records ให้ช่วยผลิต ถึงตอนนั้นอีตา ดิ๊ก โรว์ คงได้แต่นั่งทึ้งผมตัวเองบ่นเสียดายปล่อยให้ของดีหลุดมือไป

The Beatles แยกวงไปตั้งแต่ปี 1970 แต่เทป แผ่นเสียง และ CD เพลงของพวกเขายังคงมีการผลิตออกจำหน่ายอย่างต่อเนื่องจวบจนถึงปัจจุบัน และถ้าจะให้บอกว่าพวกเขาประสบความสำเร็จมากขนาดไหนก็คิดเอาเองว่ามหาวิทยาลัย Liverpool Hope University เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท สาขา The Beatles โดยเฉพาะ

from
นิตยสารโลกวันนี้วันสุข ปีที่ 6 ฉบับ 268 วันที่ 17-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I9773578/I9773578.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)