14 พฤษภาคม 2554

Dollar Cost Averaging

เจอบทความเรื่อง Dollar Cost Averaging จาก tmbam.com(reference) เลยอยากนำมาแชร์ครับ

ใครๆ ก็คงอยากซื้อหุ้นในราคาที่ต่ำสุดและขายออกไปตอนที่ราคาสูงสุด แต่จะมีซักกี่คนที่จะบอกได้ว่าตอนไหนคือจังหวะที่จะต้องซื้อหรือขายได้อย่างแม่นยำจริงๆ แต่ในความเป็นจริงอาจกลายเป็นว่าซื้อตอนที่แพงและขายออกไปในตอนที่ถูกแทนก็ได้MoneyWise ฉบับนี้ขอแนะนำวิธีการลงทุนที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อผู้ลงทุนทั่วไป และสามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้ง่ายๆ เรียกว่า "Dollar Cost Averaging" หรือการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีที่สามารถบอกว่าจุดที่ราคาต่ำสุดคือเมื่อใด แต่อย่างน้อยก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่คุณจะนำเงินลงทุนทั้งหมดไปซื้อหุ้นที่ราคาสูงสุดได้

หลักการง่ายๆ ของการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging ก็คือ คุณกำหนดวงเงินที่จะลงทุนเป็นงวด งวดละเท่าๆ กัน เช่น ลงทุนเป็นรายเดือนหรือรายไตรมาสโดยไม่สนใจว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง จากการที่คุณลงทุนโดยซื้อหุ้นเป็นจำนวนเงินที่เท่าๆกันทุกครั้งนี้ ทำให้คุณซื้อหุ้น(หรือหน่วยลงทุน)ได้ในจำนวนที่มากขึ้นในช่วงที่ราคาต่ำและจำนวนที่น้อยกว่าในขณะที่หุ้นมีราคาสูง ข้อดีของการกระจายลงทุนแบบนี้ก็คือ ถ้าตลาดมีความผันผวนมาก หรือเป็นตลาดขาลง คุณมีโอกาสที่จะขาดทุนน้อยกว่าการลงทุนด้วยเงินทั้งหมดที่มีไปในคราวเดียว

ตัวอย่างของการลงทุนตามวิธี Dollar Cost Averaging หากคุณตั้งใจจะลงทุนซื้อหน่วยลงทุน 2,000 บาท ทุกๆเดือน เป็นเวลา 1 ปี เปรียบเทียบกับการซื้อหน่วยลงทุน 24,000 บาทในคราวเดียวที่ราคา 10 บาท


เดือน
เงินลงทุน
ราคาซื้อต่อหน่วย
จำนวนหน่วยลงทุน
มกราคม
2,000
10
200.00
กุมภาพันธ์
2,000
11
181.82
มีนาคม
2,000
12
166.67
เมษายน
2,000
14
142.86
พฤษภาคม
2,000
11
181.82
มิถุนายน
2,000
10
200.00
กรกฎาคม
2,000
9
222.22
สิงหาคม
2,000
9
222.22
กันยายน
2,000
8
250.00
ตุลาคม
2,000
6
333.33
พฤศจิกายน
2,000
8
250.00
ธันวาคม
2,000
10
200.00
รวม/เฉลี่ย
24,000
9.41
2,550.94


ด้วยเงินลงทุนทั้งหมด 24,000 บาท เท่ากัน ด้วยวิธีลงทุนในคราวเดียว จะได้หน่วยลงทุนจำนวน 2,400 หน่วย แต่ถ้าลงทุนด้วยวิธี Dollar Cost Averaging จะซื้อหุ้นได้จำนวน 2,550.94 หุ้น ซึ่งมีต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยเพียง 9.41 บาท

จะเห็นว่าการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging นี้ แม้จะไม่ได้ทำให้คุณลงทุนที่จุดต่ำสุดที่ 6 บาท/หน่วยทั้งหมด แต่ก็สามารถป้องกันไม่ให้คุณนำเงินลงทุนทั้งหมดที่มีไปซื้อที่ราคา 14 บาท/หน่วยไว้ด้วย ประเด็นสำคัญของการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging นี้คือหากคุณลงทุนด้วยเงินจำนวนเท่าๆกันแล้ว เมื่อหุ้นลงจะทำให้คุณซื้อหุ้นได้จำนวนมากขึ้น และเมื่อหุ้นขึ้นจะทำให้คุณซื้อหุ้นได้น้อยลง พอเฉลี่ยกันแล้วทำให้ต้นทุนการลงทุนของคุณไม่สูงจนเกินไป

ข้อดีของการลงทุนแบบ Dollar Cost Averaging นอกจากจะช่วยกระจายความเสี่ยงของการลงทุนไปในช่วงเวลาต่างๆ แล้ว ยังเป็นการสร้างวินัยในการลงทุน ช่วยให้ไม่หวั่นไหวไปกับความผันผวนของตลาด (ซึ่งก็ผันผวนเป็นปกติอยู่แล้ว) เช่น ซื้อเพิ่มมากๆ ในช่วงที่ราคาขึ้นสูง หรือขายออกในช่วงที่ราคาตกต่ำ

อย่างไรก็ตามการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนนี้ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะกำไรเสมอไป หรือ ไม่มีทางขาดทุน แต่คุณก็มั่นใจได้ว่าคุณไม่ได้มีต้นทุนที่ราคาสูงสุด และไม่ได้ถูกล่อลวงให้ขายในราคาต่ำสุด แต่หากคุณลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุนนี้คุณจะเข้าไปซื้อหุ้นเรื่อยๆแม้ว่าราคาหุ้นจะลดลงก็ตาม คุณก็ยังมีโอกาสที่ดีกว่าในการที่จะทำกำไรเมื่อตลาดกลับเป็นขาขึ้น

อีกตัวอย่างหนึ่ง คัดลอกมาจาก moneychannel.co.th(link) ซึ่งลงทุนแบบ dollar cost averaging ทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาท


มูลค่าเงินลงทุนจากการทยอยลงทุนทุกเดือน เดือนละ 1,000 บาท
จำนวนปีที่ออม
ผลตอบแทนที่คาดหวัง
2%
6%
10%
5
63,123
69,824
77,172
10
132,816
163,264
201,458
20
294,718
455,646
723,987
30
492,075
979,256
2,079,293


จากตารางข้างต้นจะเห็นได้ถึงมหัศจรรย์แห่งดอกเบี้ยทบต้น โดยถ้ายิ่งเริ่มต้นออมได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งทวีค่าเงินออมได้เร็วขึ้นเท่านั้น แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของการออมอย่างมีวินัย

- ในอัตราผลตอบแทนเท่ากันที่ 2% ผู้ที่เริ่มต้นออมก่อนจะได้เงินถึง 132,816 บาท เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปี แต่ถ้าเริ่มต้นช้าสัดส่วนของเงินออมที่จะทวีค่าเพิ่มขึ้นก็จะน้อยลงด้วยเช่นกัน

- การออมเงินเพียงเดือนละ 1,000 บาท จะสามารถกลายเป็นเกือบ 1 ล้านบาทได้ภายในเวลา 30 ปี ที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 6%

- ผลตอบแทนที่สูงก็จะต้องมีความเสี่ยงที่สูงตามมาด้วย แต่ถ้าไม่อยากเสี่ยงและหวังผลตอบแทนเพียงแค่ 2% ก็อาจไม่ครอบคลุมกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นได้

Dollar Cost Averaging in the real world
ตัวอย่างการทำ dollar cost averaging กับกองทุนรวม scbdv แต่จำนวนเงินอาจจะไม่เท่ากันทุกเดือน (เน้นเฉพาะหลักการการทะยอยซื้อเรื่อยๆ ด้วยจำนวนเงินน้อยๆ)

ข้อมูลจนถึงวันที่ 12 พ.ค. 2554




บวกด้วยเงินปันผล



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)