10 พฤศจิกายน 2566

ทำไมคนถึงจน?

จากงานวิจัยรางวัลโนเบลรายงานว่า มีผู้คนกว่า 700 ล้านคน ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ด้วยรายได้ที่ต่ำมาก ๆ และพบว่า เด็กอายุไม่ถึง 5 ขวบต้องตายไปราว ๆ 5 ล้านคน สุขภาพของเด็กและการศึกษาที่ไม่ได้รับเหล่านี้ คำถามคือต้นต่อมันเกิดอะไรขึ้น? แล้วจะทำอย่างไรจะช่วยให้คนจนน้อยลงได้ดีที่สุด?

อภิจิต บาเนอร์จี (Abhijit Banerjee) , เอสเทอร์ ดูโฟล (Esther Duflo) และไมเคิล เครเมอร์ (Michael Kremer) 3 นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ปี 2019 ได้ทำการศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง พวกเขาพบว่า ที่คนจนไม่ใช่เพราะพวกเขาขี้เกียจ

แต่มันเป็นระบบการจัดการที่ฝังรากลึก จนทำให้คนจนไม่มีโอกาสมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ถือว่าฉีกวงการเศรษฐศาสตร์ด้านนี้พอสมควร เพราะการค้นพบครั้งนี้ คือการชี้ชัดถึงการเข้าใจ ความคิดและความรู้สึกของคนจนจริง ๆ ไม่ใช่ภาครัฐ หรือนักวิชาการ ที่คิดเองเออเองว่าต้องช่วยคนจนอย่างไร

เขาพบว่าสาเหตุหลัก มี 5 อย่าง ซึ่งถ้าแก้ได้ จะช่วยคนจนทั่วโลกได้เยอะมากนั่นคือ…



1. ปัญหาการศึกษา (การศึกษาฟรี แต่เด็กไม่มีเสรีในการเลือก)

รัฐมักเข้าใจผิดว่า หากให้สวัสดิการการเรียนฟรี เช่น อาหารกลางวัน หรือ หนังสือฟรี จะช่วยคนจนอยากเรียนหนังสือมากขึ้น แต่จริง ๆ การออกแบบหลักสูตรให้ตรงกับกลุ่มผู้เรียนที่เขาอยากเรียนจริงๆ ต่างหาก ที่ช่วยให้เด็กยากจนอยากเรียนมากขึ้น ซึ่งได้ผลดีกว่า (หรือต้องใช้งบมากว่าการให้ฟรี) ดังนั้นภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาให้ตรงจุดอย่างตรงไปตรงมา เพื่อให้ประชากร มีคุณภาพเมื่อคนจนได้เรียนในสิ่งที่รัก เขาจะต่อยอดเป็นอาชีพและพัฒนาประเทศได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า การสร้างคนให้คิดเป็นจะทำให้ประเทศขาดทุนได้อย่างไร



2. สาธารณสุขดีกับคนรวยแต่กลับซวยที่คนจน

คงเดาไม่ยากสำหรับปัญหาเรื่องสาธาณสุขที่ทำลายชีวิตคนจน จากการทดลองพบว่า ผู้คนจะนำลูกหลานมาฉีดวัคซีนฟรีมากกว่าการที่ต้องจ่ายเงินค่าวัคซีน แม้จะถูกมากก็ตาม ปัญหานี้ทำให้เด็กที่ได้รับวัคซีนตายน้อยลง ดังนั้น เมื่อค่าใช้จ่ายวัคซีนไม่ถูกผลักภาระให้กับกลุ่มคนจน เขาจะมีเด็กที่เติบโตเป็นมันสมองของชาติได้ รัฐบาลควรแจกวัคซีนฟรีไปเลย ถือเป็นการลงทุนในระยาว เพื่อรักษาชีวิตเด็ก ๆ เพื่อพัฒนาประเทศต่อไป



3. คนจนมักยึดมั่นกับความเชื่อผิด ๆ เนื่องจากขาดองค์ความรู้สำคัญ

คนจนมักจะเข้าใจผิด หรือมีข้อมูลผิด ๆ เพราะขาดข้อเท็จจริงไป เช่น การทำเกษตรที่ใส่ปุ๋ยมากจนเกินไป จนผลผลิตต่ำเกิดรายได้น้อย หรือไม่รู้ว่าต้องไปเลือกตั้ง สส.ทำไม เลือกแล้วเขาจะได้ประโยชน์อะไร ดังนั้นรัฐควรให้ข้อมูลข้อเท็จจริงอย่างเรียบง่ายและสร้างความน่าสนใจแล้วเร่งให้เขาลงมือทำทันทีตามหลักวิทยาศาสตร์ จะให้ผลลัพธ์และผลผลิตที่ดีและช่วยให้เขามีเงินมากขึ้นได้ รัฐต้องพิสูจน์ข้อนี้ให้ได้ เมื่อเกิดความเชื่อตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เขาจะเปิดใจที่จะศึกษาความรู้ที่เป็นข้อเท็จจริงมากขึ้น



4. ปัญหาเพศสภาพและการเมือง

หลายคนอาจสงสัยว่าข้อนี้เป็นปัญหาหลักยังไง? ลองนึกภาพว่าบนโลกมีผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สังคมในอดีตมักสร้างผู้ชายให้เป็นใหญ่กว่า และกีดกันความสามารถของผู้หญิง เป็นสาเหตุที่ทำให้คนจนฝังรากลึก เพราะผู้หญิงไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้ การปกครองจึงมีขีดจำกัด ผู้หญิงไม่สามารถดิ้นรนที่จะมีชีวิตที่ดีได้ แม้จะมีจำนวนมากกว่า คนจนถึงมากนั่นเอง จากการวิจัยพบว่า ผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำชุมชนได้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาชีวิตและความเป็นอยู่ได้ดี เช่น จะกังวลเรื่องน้ำและถนนมากว่าผู้ชาย และจะหาทางให้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีให้ได้ ดังนั้นรัฐบาลควรเสริมอำนาจให้ผู้หญิงมีบทบาท ในการแก้ปัญหากลุ่มคนจนด้วย



5. ระบบการเงินของรัฐทิ้งคนจน

การลงทุนของคนจนในแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายเช่น ค่าเดือนทางไปฝากเงิน หรือ ภาษีในการทำธุรกรรมการเงิน ซึ่งมันเป็นต้นทุนที่สูงมากสำหรับเขา นำมาซึ่งการไม่มีเงินเก็บ คนจนไม่สามารถมีหลักประกันเพื่อขอสินเชื่อในธนาคารได้ จึงต้องเป็นหนี้นอกนระบบเเทน ทางแก้คือรัฐควรใช้ “ไมโครเครดิต” (microcredit) คือให้เงินกู้กับคนจน สร้างช่องทางที่ลดต้นทุนทางการเงินของคนจนให้ได้ เช่น โอนเงินได้ที่บ้านไม่ต้องเสียค่ารถ ฟรีค่าธรรมเนียม ไม่ต้องพ่วงประกัน บัตรเครดิตใด ๆ

ทั้งหมดนี้คือวิธีการแก้ปัญหาความยากจนของคนได้ดีที่สุดในปัจจุบัน จนประธานาธิบดีฝรั่งเศส เอ็มมานูเอล มาครง ได้ชื่นชมการค้นพบครั้งนี้ว่ามันเป็นความงดงามในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมแก่ความเป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษยชาติ

ความจนเป็นปัญหาระดับโลกที่เศรษฐศาสตร์ในอดีตจนถึงปัจจุบันยังแก้ไม่ได้สักที การค้นพบครั้งนี้อาจช่วยคนจนให้มีชีวิตที่ดีขึ้นได้ แต่ขณะเดียวกันมันก็สูญเปล่าไปได้หากผู้นำประเทศกลับมองข้ามมันไป...



ที่มา Link

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความยอดนิยม (ล่าสุด)

บทความยอดนิยม (All Time)